เมนู

อรรถกถาสติปัฏฐานกถา


ว่าด้วยสติปัฏฐาน


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสติปัฏฐาน. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใด
ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน เพราะถือเอาธรรมทั้งหลายมีกาย
เป็นต้นเป็นอารมณ์ด้วยสติ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสติ-
ปัฏฐานสังยุตว่า จตุนฺนํ สติปฏฺฐานานํ ภิกฺขเว สมุทยญฺจ อตฺถงฺค-
มญฺจ เทสิสฺสามิ
ดังนี้ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
เหตุเกิดขึ้น และความดับไปแห่งสติปัฏฐานทั้ง 4 ดุจลัทธินิกายอันธกะ
ทั้งหลายในขณะนี้. นิกายเหล่านี้ คือ ปุพพเสลิยะ อปรเสลิยะ ราชคิริยะ
และสิทธัตถิกะทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า นิกายอันธกะซึ่งเป็นนิกายที่เกิดขึ้น
ในภายหลัง. คำถามเพื่อตำหนิลัทธิแห่งชนเหล่านั้นเป็นของสกวาที
คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยคำว่าสติปัฏฐาน ดังนี้:-
ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ย่อมตั้งมั่นในธรรมทั้งหลาย
มีกายเป็นต้น ถามว่าอะไรย่อมตั้งขึ้น ตอบว่า สติ. การตั้งมั่นแห่งสติ
ทั้งหลายแม้มีสติเป็นอารมณ์ก็ย่อมตั้งมั่นด้วยอรรถนี้ว่า สติยา ปฏฺ-
ฐานา สติปฏฺฐานา
แปลว่า การตั้งมั่นแห่งสติชื่อว่าสติปัฏฐาน
เพราะฉะนั้น การตั้งมั่นแห่งสติเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปัฏฐาน ถามว่า
ปัฏฐานอะไรย่อมตั้งมั่น ตอบว่า สติย่อมตั้งมั่น. ปัฏฐาน คือสติชื่อว่า