เมนู

อรรถกถาอุปนยนจตุกกะ


หมวด 4 แห่งการน้อมไป


ครั้นปรวาทีทำนิคคหะอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงว่า ถ้า
นิคคหะอันเราทำแก่ท่านนี้เป็นนิคคหะชั่วไซร้ นิคคหะอันใดที่ท่านทำ
แล้วแก่ข้าพเจ้าในอนุโลมปัญจกะในหนหลัง นิคคหะแม้นั้นก็เป็น
นิคคหะชั่ว ดังนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า หากนิคคหะที่เราทำแก่
ท่านนี้เป็นนิคคหะชั่วไซร้. ในข้อนี้อธิบายว่า ถ้าวาทะนี้เป็นวาทะอัน
เรานิคคหะชั่วไซร้. อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้านิคคหะอันเราทำแก่ท่านนี้เป็น
นิคคหะชั่วไซร้. ข้อว่า ท่านจงเห็นอย่างเดียวกันนั่นแหละ ใน
นิคคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ความว่านิคคหะอันท่านทำแล้วแก่เราใน
หนหลัง ในนิคคหะแม้นั้นท่านจงเห็นนิคคหะนั้นนั่นแหละ.
บัดนี้ นิคคหะอันใดที่สกวาทีทำแล้วแก่ปรวาทีนั้นในหนหลัง
ปรวาทีนั้นจึงแสดงซึ่งคำนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า พึงกล่าว ดังนี้ เมื่อ
จะน้อมไปซึ่งนิคคหะนั้นให้ไม่มีนิคคหะอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า
ก็เราผู้ปฏิญาณอยู่อย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้อันท่านไม่พึงนิคคหะอย่างนี้
ในคำว่า โน จ มยํ ตยา ตตฺถ เหตาย ปฏิญฺญาย เป็นต้นนี้
อธิบายว่า นิคคหะนั้น ท่านทำแก่เราเป็นนิคคหะชั่วเหตุใด เพราะเหตุ
นั้น ในอนุโลมปัญจกะนั้น เราจึงรับรองอย่างนี้ ด้วยคำปฏิญญานั้นว่า
อามนฺตา ใช่ เมื่อคำปฏิเสธแม้เราทำแล้วว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น
อีก ก็ถูกท่านนิคคหะอย่างนี้ว่า ท่านจงรับรู้นิคคหะนั่นเทียว ท่าน

นิคคหะเราแม้ผู้ไม่ควรนิคคหะ ก็พวกเราถูกท่านนิคคหะชั่วแล้ว ด้วย
นิคคหะอย่างนี้.
บัดนี้ ปรวาทีนั้นอาศัยนิคคหะอันใดได้กล่าวว่า พวกเราเป็น
ผู้อันท่านนิคคหะชั่วแล้ว ดังนี้ เพื่อแสดงนิคคหะอันนั้น จึงกล่าวคำว่า
หญฺจิ ปุคฺคโล ฯ เป ฯ อิทนฺเต มิจฺฉา เป็นต้น นี้ชื่อว่าอุปน-
ยนจตุกกะ เพราะนิคคหะอันปรวาทีนั้นน้อมไปแล้วด้วย ปาปนา
อาโรปนา 4 จากอนุโลมและปฏิโลม ดังพรรณนามาฉะนี้.
อรรถกถาอุปนยนจตุกกะ จบ

นิคคมจตุกกะ


[5] ป. เราไม่พึงถูกนิคคหะอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ ที่
ท่านนิคคหะเราว่า " หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น
บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิ-
กัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดย
สัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ภาวะใด เป็นสัจฉิ-
กัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดย
สัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่ง
เห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น
สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ดังนี้ จึงกลับเป็นความผิดของท่าน
ด้วยเหตุนั้นแหละ นิคคหะที่ท่านทำแล้วจึงทำไม่ชอบ ปฏิกรรมข้าพเจ้า
ได้ทำชอบแล้ว การดำเนินความข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้วแล.
นิคคมจตุกกะ จบ
นิคคหะที่ 1 จบ