เมนู

อรรถกถาอุปนยนจตุกกะ


หมวด 4 แห่งการน้อมไป


ครั้นปรวาทีทำนิคคหะอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงว่า ถ้า
นิคคหะอันเราทำแก่ท่านนี้เป็นนิคคหะชั่วไซร้ นิคคหะอันใดที่ท่านทำ
แล้วแก่ข้าพเจ้าในอนุโลมปัญจกะในหนหลัง นิคคหะแม้นั้นก็เป็น
นิคคหะชั่ว ดังนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า หากนิคคหะที่เราทำแก่
ท่านนี้เป็นนิคคหะชั่วไซร้. ในข้อนี้อธิบายว่า ถ้าวาทะนี้เป็นวาทะอัน
เรานิคคหะชั่วไซร้. อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้านิคคหะอันเราทำแก่ท่านนี้เป็น
นิคคหะชั่วไซร้. ข้อว่า ท่านจงเห็นอย่างเดียวกันนั่นแหละ ใน
นิคคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ความว่านิคคหะอันท่านทำแล้วแก่เราใน
หนหลัง ในนิคคหะแม้นั้นท่านจงเห็นนิคคหะนั้นนั่นแหละ.
บัดนี้ นิคคหะอันใดที่สกวาทีทำแล้วแก่ปรวาทีนั้นในหนหลัง
ปรวาทีนั้นจึงแสดงซึ่งคำนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า พึงกล่าว ดังนี้ เมื่อ
จะน้อมไปซึ่งนิคคหะนั้นให้ไม่มีนิคคหะอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า
ก็เราผู้ปฏิญาณอยู่อย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้อันท่านไม่พึงนิคคหะอย่างนี้
ในคำว่า โน จ มยํ ตยา ตตฺถ เหตาย ปฏิญฺญาย เป็นต้นนี้
อธิบายว่า นิคคหะนั้น ท่านทำแก่เราเป็นนิคคหะชั่วเหตุใด เพราะเหตุ
นั้น ในอนุโลมปัญจกะนั้น เราจึงรับรองอย่างนี้ ด้วยคำปฏิญญานั้นว่า
อามนฺตา ใช่ เมื่อคำปฏิเสธแม้เราทำแล้วว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น
อีก ก็ถูกท่านนิคคหะอย่างนี้ว่า ท่านจงรับรู้นิคคหะนั่นเทียว ท่าน