เมนู

จำแนกแล้วในมนุษย์โลกนั้นถึงพร้อมแล้ว
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนากถาวัตถุ-
ปกรณ์นั้น ขอท่านทั้งหลายผู้มีจิตตั้งมั่น จง
สดับตรับฟังพระสัทธรรมนั้นเทอญ.


นิทานกถา


ความย่อว่า ในที่สุดลงแห่งการแสดงยมกปาฏิหาริย์ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเสด็จเข้าจำพรรษา ณ แท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่โคนไม้
ปาริชาติในเทวนคร ทรงกระทำพระมารดาให้เป็นองค์พยานตรัสอยู่
ซึ่งพระอภิธรรมกถาแก่เทวบริษัท ครั้นทรงแสดงปกรณ์ธัมมสังคณี
ได้ 100 ปี พวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ 10 ประการ อันผิดจากพระ-
ธรรมวินัย คือ :-
1. ภิกษุเก็บเกลือเหลือไว้ในกลักสำหรับฉันกับอาหาร เห็นว่า
สมควร.
2. ภิกษุฉันอาหารเมื่อตะวันบ่าย 2 นิ้ว เห็นว่าสมควร.
3. ภิกษุห้ามภัตแล้วเข้าไปในละแวกบ้าน แล้วฉันภัตที่ไม่ทำ
วินัยกรรมก่อน หรือไม่เป็นเดนภิกษุไข้ เห็นว่าสมควร.
4. ภิกษุอยู่ในอาวาสเดียวกันจะแยกทำสังฆกรรม เห็นว่า
สมควร.
5. ภิกษุทำอุโบสถไม่รอฉันทานุมัติ เห็นว่าสมควร.

6. ข้อปฏิบัติที่อุปัชฌาย์อาจารย์เคยประพฤติมาผิดถูกอย่างไร
ประพฤติตาม เห็นว่าสมควร.
7. ภิกษุห้ามภัตแล้วฉันนมสดที่ยังไม่แปรเป็นนมส้ม เห็นว่า
สมควร.
8. ภิกษุดื่มสุราอ่อน ๆ เห็นว่าสมควร.
9. ภิกษุใช้ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชาย เห็นว่าสมควร.
10. ภิกษุรับหรือยินดีเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน เห็นว่า
สมควร.
พระยสเถระผู้เป็นบุตรของพราหมณ์ ชื่อว่า กากัณฑกะ ฟังวัตถุ
10 ประการนั้นแล้ว ได้ถือเอาพระเจ้าอโศกราช ผู้เป็นโอรสของพระ-
เจ้าสุสุนาคะ ให้เป็นพระสหาย แล้วคัดเลือกพระเถระ 700 รูป ใน
จำนวนภิกษุ 1,200,000 รูป คือ 12 แสน ย่ำยีวัตถุ 10 ประการ
เหล่านั้นแล้วก็ยกสรีระ คือ พระธรรมวินัยขึ้นสังคายนา.
ก็ภิกษุวัชชีบุตร มีประมาณ 10,000 รูป ถูกพระธรรมสังคา-
หกเถระทั้งหลายข่มขู่แล้ว คือติเตียนแล้ว จึงแสวงหาพวก ครั้นได้
พวกที่เป็นทุพพลวะ อันสมควรแก่ตนก็จัดตั้งสำนักตระกูลอาจารย์ใหม่
ชื่อว่า มหาสังฆิกะ แปลว่า พวกมาก ตระกูลอาจารย์ 2 พวกอื่น
อีกเกิดขึ้น คือ โคกุลิกะ และ เอกัพโยหาริกะ ซึ่งแตกแยกมาจาก
ตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะนั้น. ตระกูลอาจารย์ 2 พวกอื่นอีก คือ
บัญญัตติวาทะ และพหุลิยะ ซึ่งมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า พหุสสุติกะ

แตกแยกมาจากนิกายโคกุลิกะ. อาจริยวาท อื่นอีกชื่อว่า เจติยวาท
เกิดขึ้นแล้วในระหว่างนิกายพหุลิยะนั้น นั่นแหละ. ในร้อยแห่งปีที่ 2
คือ ภายในพระพุทธศักราช 200 ปี ตระกูลอาจารย์ทั้ง 5 ตระกูล
เกิดขึ้นจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะด้วยประการฉะนี้. ตระกูลอาจารย์
ทั้ง 5 เหล่านั้น รวมกับมหาสังฆิกะเดิม 1 ก็เป็น 6 ตระกูลด้วยกัน.
ในร้อยแห่งปีที่ 2 นั้น นั่นแหละ อาจริยวาท ทั้ง 2 คือ มหิ-
สาสกะ และวัชชีปุตตกะเกิดขึ้น แตกแยกมาจากเถรวาท. ในบรรดา
อาจริยวาททั้ง 2 นั้น อาจริยวาททั้ง 4 คือ :- ธัมมุตตริยะ 1 ภัทร-
ยานิกะ 1 ฉันนาคาริกะ 1 สมิติยะ 1 เกิดขึ้นเพราะแตกแยกมาจาก
นิกายวัชชีปุตตกะ. ในร้อยแห่งปีที่ 2 นั่น นั่นแหละ อาจริยวาท 2
พวก คือ :- สัพพัตถิกวาทะ และ ธัมมคุตติกะ เกิดขึ้นเพราะการ
แตกแยกมาจากตระกูลอาจารย์มหิสาสกะอีก. นิกายชื่อว่า กัสสปิกะ
เกิดขึ้นเพราะแตกแยกจากตระกูล สัพพัตถิกวาทะอีก. เมื่อนิกายกัสส-
ปิกะทั้งหลายแตกกันแล้วก็เป็นเหตุให้นิกายชื่อว่า สังกันติกะอื่นอีกเกิด
ขึ้น เมื่อนิกายสังกันติกะทั้งหลายแตกกันแล้ว นิกายชื่อว่า สุตตวาทะก็
เกิดขึ้น. อาจริยวาท 1 นิกายเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะแตกแยกมา
จากเถรวาทอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. อาจริยวาท 11 นิกายเหล่านี้
รวมกับเถรวาทเดิมก็เป็น 12 นิกาย.
ในร้อยแห่งปีที่ 2 คือ ภายในพระพุทธศักราช 200 ปี อา-
จริยวาทคือ ลัทธิแห่งอาจารย์ ทั้งหมดรวม 18 นิกาย คือ 12 นิกาย

ที่แยกมาจากเถรวาทเหล่านี้ และนิกายอาจริยวาท 6 ที่แตกแยกมา
จากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะทั้งหลาย ฉะนี้แล.
คำว่า นิกาย 18 นิกายก็ดี ตระกูลอาจารย์ 18 ตระกูลก็ดี
เป็นชื่อของนิกายที่กล่าวมาแล้วเหล่านั้น นั่นแหละ. อนึ่งบรรดานิกาย
18 นิกายเหล่านั้น 17 นิกาย บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่แตกแยก
กันมา ส่วนเถรวาท บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่ไม่แตกกัน.
(โปรดดูแผนผังความเป็นมา ดังต่อไปนี้ :- )

แผนผังแสดงนิกายสงฆ์ในศตวรรษที่ 3


เถรวาท มหาสังฆิกะ
มหิสาสกะ วัชชีปุตตกะ โคกุลิกะ เอกัพโยหาริกะ
สัพพัตถิกวทะ ธัมมุตตริยะ สมิติยะ
ฉันนาคาริกะ
กัสสปิกะ ภัทรยานิกะ ปัณณัตติวาทะ พหุลิยะ
สังกันติกะ เจติยวาทะ
สุตตวาทะ
1. ภิกษุผู้ลามกทั้งหลาย ผู้เป็นชาววัช-
ชีบุตร ผู้เป็นอธรรมวาที ถูกพระเถระ ผู้
เป็นธรรมวาที ทั้งหลายขับออกแล้ว ได้พวก
อื่นจึงตั้งคณาจารย์ใหม่.

2. ภิกษุ1เหล่านั้นมีประมาณหมื่นรูปได้
ประชุมกันรวบรวม คือทำการร้อยกรอง
พระธรรมวินัย เพราะฉะนั้น การร้อยกรอง
พระธรรมวินัยนี้ ท่านจึงเรียกว่า "มหาสังคีติ"
แปลว่า การร้อยกรองใหญ่.

1. ภิกษุประมาณหมื่นรูปเหล่านั้นในที่นี้หมายถึงภิกษุวัชชีบุตร แต่ในที่บาง
แห่งกล่าวว่าเป็นภิกษุพวกพระมหาเทพ ซึ่งให้กำเนิดนิกายมหาสิงฆิกวาที ปราวน
ย่อว่า พระมหาเทพเป็นบุตรพ่อค้าขายเครื่องหอมในแคว้นอวันตี ท่านอุปสมบท
ที่เมืองปาฏลีแคว้นมคธ เป็นผู้เรียนพระไตรปิฎกแตกฉาน วันหนึ่ง ถึงวาระที่ท่าน
จะแสดงปาฏิโมกข์ ท่านได้เสนอความเห็น 5 ข้อ คือทิฏฐิ 5 ข้อ ต่อที่ประชุม
สงฆ์ ดังนี้ :-
1. พระอรหันต์อาจถูกมารยั่วยวนในความฝันได้.
2. พระอรหันต์ยังมีอัญญาณ.
3. พระอรหันต์ยังมีความสงสัย.
4. พระอรหันต์จะต้องรู้ว่าตนได้มรรคผลต้องอาศัยผู้อื่นอีก.
5. มรรคผลเกิดขึ้นอาศัยเปล่งคำว่า ทุกข์หนอ ๆ
ข้อเสนอของท่านนี้ บางพวกไม่เห็นด้วยจึงทำสังฆกรรมไม่ได้ ครั้นทราบถึง
พระเจ้ากาลาโศกราช ๆ ก็เสด็จมาห้ามมิให้เกิดการแตกแยกกัน พระมหาเทพจึง
ชี้ขาดโดยให้ระงับอธิกรณ์ ด้วยมติของที่ประชุมสงฆ์ ในที่สุดฝ่ายพระมหาเทพ
ชนะเพราะมีพวกมาก ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้นเป็นฝ่ายเถรวาท ต่อมาพวกมหาเทพ
ได้จัดการทำสังคีติด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่ จึงเรียกว่า มหาสังคีติ และต่อมานิกาย
นี้เกิดแตกกันอีก.

3. ภิกษุทั้งหลายผู้ทำมหาสังคีติ ได้ทำ
ความขัดแย้งไว้ในพระศาสนา ทำลายสังคาย-
นาเดิม แล้วทำการรวบรวมธรรมวินัยไว้เป็น
อีกอย่างหนึ่ง.

4. ภิกษุเหล่านั้นได้แต่งพระสูตรที่สัง-
คายนาไว้แล้วให้เป็นอย่างอื่น และทำลาย
อรรถและธรรมในพระวินัยในนิกายทั้ง 5 ด้วย.

5. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้แม้ซึ่งธรรม
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วโดย
ปริยายและทั้งโดยนิปปริยาย ไม่รู้อรรถที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำไว้แล้วและทั้งไม่รู้
จักอรรถที่ควรแนะนำ.

6. ภิกษุเหล่านั้น ๆ ได้กำหนดอรรถ
ไว้เป็นอย่างอื่นจากอรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้โดยหมายเอาอย่างหนึ่ง ได้ยังอรรถ
มากมายให้พินาศไปเพราะฉายาแห่งพยัญชนะ1.

1. บาลีว่า "พยญฺชนจฺฉายาย" มีความหมายเป็น 2 นัย คือ พยญฺชน+
ฉายา ก็ได้ พยญฺชน+อจฺฉายาย ก็ได้ นัยแรกแปลว่า เพราะเงาพยัญชนะ หรือ
เพราะรูปพยัญชนะ นัยหลังแปลว่า เพราะไม่มีพยัญชนะ เพราะไม่มีรูปพยัญชนะ
เพราะไม่รุ่งโรจน์ในพยัญชนะ เพราะไม่ฉลาดในพยัญชนะ.

7. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งพระสูตรบางอย่าง
และพระวินัยอันลึกซึ้งเสีย แล้วแต่งพระสูตร
เทียม พระวินัยเทียมทำให้เป็นอย่างอื่น.

8. คัมภีร์บริวารอัตถุธาระก็ดี อภิธรรมทั้ง
6 ปกรณ์ก็ดี ปฏิสัมภิทานิทเทสก็ดี ชาดกบาง
ส่วนก็ดี.

9. คัมภีร์มีประมาณเท่านี้ ถูกภิกษุเหล่า-
นั้นจำแนกไว้ต่าง ๆ กันแล้วแต่งให้เป็นอย่าง
อื่นทั้ง นาม ลิงค์ บริขาร และอากัปปกรณียะ.

10. ภิกษุผู้เป็นหัวหน้าคณะ ผู้มีวาทะ
อันแยกกันแล้ว ผู้ทำมหาสังคีติเหล่านั้นได้พา
กันละทิ้งซึ่งความเป็นปกตินั้นเสียแล้วแต่งให้
เป็นอย่างอื่น.

11. ก็โดยการเรียนแบบอย่างแห่งภิกษุ
เหล่านั้น ได้มีลัทธิอันแตกแยกกันขึ้นมาก-
มาย และภายหลังแต่กาลนั้นมาได้เกิดแตก-
แยกกันขึ้นในมหาสังฆิกะนั้น ดังนี้คือ :-

12. ภิกษุผู้มหาสังฆิกะได้แตกแยกกัน
เป็น 2 พวก คือ เป็นโคกุลิกะพวกหนึ่งเป็น

เอกัพโยหาริกะพวกหนึ่ง ต่อมาอีกนิกาย
โคกุลิกะแตกกันออกเป็น 2 พวก คือ :-

13. เป็นนิกายพหุสสุติกะพวกหนึ่ง เป็น
นิกายบัญญัติพวกหนึ่ง แต่นิกายเจติยะนั้น
แตกแยกมาจากพวกมหาสังคีติได้เป็นอีกพวก
หนึ่ง.

14. ก็นิกายทั้ง 5 เหล่านี้ทั้งหมดมีมูล
มาจากพวกทำมหาสังคีติที่ทำลายอรรถและ
ธรรม และทำลายการสงเคราะห์ธรรมวินัยบาง
อย่าง.

15. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์
และกระทำให้เป็นอย่างอื่นทั้ง นาม ลิงค์
บริขาร และอากัปปกรณียะ.

16. อนึ่ง ในเถรวาทผู้บริสุทธิ์ เหล่า
ภิกษุผู้ละทิ้งปกติภาวะและกระทำให้เป็นอย่าง
อื่นนั้น ได้เกิดการแตกแยกกันขึ้นอีก ดังนี้
คือ :-

17. เป็นมหิสาสกะพวกหนึ่ง เป็นวัช
ชีปุตตกะพวกหนึ่ง สำหรับพวกวัชชีปุตตกะ

นั้นได้แตกแยกออกไปอีก 4 พวก คือ:-
18. ธัมมุตตริกะ 1. ภัทรยานิกะ 1.
ฉันนาคาริกะ 1. สมิติยะ 1. ในกาลต่อมา
พวกมหิสาสกะแตกแยกกันเป็น 2 พวกอีก
คือ :-

19. เป็นพวกสัพพัตถิกวาทะ และ
ธัมมคุตตวาทะ สำหรับสัพพัตถิวาทะยังแตก
ออกเป็นนิกายกัสสปิกะ ต่อมานิกายกัสสปิกะ
แตกแยกเป็นนิกายสังกันติกวาทะ.

20. ต่อมาสังกันติกวาทะแตกกันเป็น
สุตตวาที ได้แตกแยกกันมาโดยลำดับดังนี้
วาทะ คือนิกาย เหล่านี้ทั้ง 11 นิกายแตก
แยกออกไปจากเถรวาททั้งสิ้น.

21. ภิกษุเหล่านั้นทำลายทั้งอรรถและ
ธรรม ทำการรวบรวมอรรถธรรมไว้บางอย่าง
และได้ทอดทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์ ทั้งกระทำให้
เป็นอย่างอื่น.

22. ตลอดทั้ง นาม ลิงค์ บริขาร และ
อากัปปกรณียะ ได้พากันละทิ้งความเป็นปกติ

เสียแล้ว.
23. นิกายที่แตกแยกกัน 17 นิกาย
นิกายที่ไม่แตกแยกกันมี 1 นิกาย คือเถรวาท
รวมนิกายทั้งหมดเป็น 18 นิกาย อีกอย่าง
หนึ่งท่านเรียกว่า ตระกูลอาจารย์ 18 ตระกูล.

24. คำสั่งสอนของพระชินะเจ้าเป็น
ของบริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ยิ่งไม่หย่อน เป็นหลัก
มั่นคงสูงสุดของเถรวาททั้งหลาย ราวกะต้นไม้
ใหญ่ ชื่อว่า นิโครธ ฉะนั้น.

25. นิกายที่เหลือ คือนอกจากเถรวาท
เกิดขึ้นแล้วเป็นดุจกาฝากเกิดอยู่ที่ต้นไม้ นิ-
กายที่แตกแยกกันมาทั้ง 17 นิกายานี้ ไม่มีใน
ร้อยปีแรก แต่ในระหว่างร้อยปีที่ 2 คือภายใน
พระพุทธศักราช 200 ปี ได้เกิดขึ้นแล้วใน
ศาสนาของพระชินะพุทธเจ้า ด้วยประการ
ฉะนี้แล.

อนึ่ง อาจริยวาท 6 แม้อื่นอีก คือ 1.
เหมวติกะ 2. ราชคิริกะ 3. สัทธัตถิกะ 4.
ปุพพเสลิยะ 5. อปรเสลิยะ 6. วาชิริยะ

เกิดขึ้นแล้วในกาลอัน ๆ อีก อาจริยวาท
เหล่านั้น พระคันถรจนาจารย์ท่านไม่ประสงค์
จะกล่าวไว้ในที่นี้.


พระราชาผู้ทรงธรรม


ก็พระราชาผู้ทรงตั้งอยู่ในธรรมทรงพระนามว่า พระเจ้าอโศก ผู้มี
ศรัทธาอันได้เฉพาะแล้วในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายอาจริยวาททั้ง 18
นิกายที่มีมาในกาลก่อน จึงทรงสละพระราชทรัพย์วันละห้าแสนทุก ๆ
วัน คือเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า 1 แสน เพื่อบูชาพระธรรมเจ้า 1 แสน
เพื่อบูชาพระสังฆเจ้า 1 แสน เพื่ออาจารย์ของพระองค์ ชื่อว่านิโครธ-
เถระ 1 แสน และเพื่อให้สำเร็จประโยชน์จากยารักษาโรค ที่ประตู
ทั้ง 4 อีก 1 แสน ได้ให้ลาภสักการะอันมากมายเป็นไปในพระพุทธ-
ศาสนาแล้ว. เดียรถีย์ทั้งหลาย คือ นักบวชนอกพระพุทธศาสนาได้เป็น
ผู้เสื่อมจากลาภสักการะทั้งปวง ไม่ได้อะไรเลยโดยที่สุด แม้แต่อาหาร
หรือผ้าสำหรับปกปิดร่างกาย เมื่อพวกเขาต้องการลาภสักการะอยู่ จึงพา
กันไปบวชในสำนักพระภิกษุทั้งหลายและแล้วก็แสดงทิฏฐิ คือ ความเห็น
ของตน ๆ ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา
ดังนี้ แม้เมื่อเขาเหล่านั้นไม่ได้การบรรพชาตามประสงค์ เขาก็พากัน
โกนผม นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เอาเองนั่นแหล่ะ ได้พากันเที่ยวไปใน
วิหารทั้งหลาย และได้เข้าไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ในกาลเป็นที่กระทำซึ่งอุโบ-
สถกรรมเป็นต้น. พวกเดียรถีย์เหล่านั้น แม้ถูกภิกษุสงฆ์ติเตียนอยู่โดย