เมนู

ความหยาก ไม่มีอยู่ในผัสสาหาร... ในมโนสัญเจตนาหาร...
ในวิญญาณาหาร ฯลฯ เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีโศก ไม่มีธุลีไม่มีความ
คับแค้น
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า อนาคตก็มีอยู่ น่ะสิ
สัพพมัตถีติกถา จบ

อรรถกถาสัพพมัตตถีติวาทกถา


ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีอยู่


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องวาทะว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่. ในปัญหานั้น ชน
เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายสัพพมัตถีติวาทะทั้งหลาย ในที่นี้ว่า
ธรรมทั้งหลายอันต่างด้วยอดีตเป็นต้นแม้ทั้งปวง ย่อมไม่เว้นซึ่งสภาพ
แห่งขันธ์ เพราะพระบาลีว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต คือ
ล่วงไปแล้วก็ดี เป็นอนาคต คือยังไม่มาถึงก็ดี เป็นปัจจุบัน คือเกิด
ขึ้นอยู่เฉพาะหน้าก็ดี ฯลฯ นี้ พระตถาคต ตรัสเรียกว่า รูปขันธ์ ดังนี้
เป็นต้น เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งปวงจึงชื่อว่ามีอยู่นั้นแหละ ดังนี้ เพื่อชำระ
ลัทธิอันเห็นผิดของชนเหล่านั้น สกวาทีจึงถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่
หรือ
คำตอบรับรองเป็นของปรวาที เพราะตั้งอยู่ในทิฏฐิมีประการ
ดังกล่าวแล้ว.
คำว่า ในสรีระทั้งปวงหรือ อธิบายว่า สกวาที่ย่อมถามด้วย
คำว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในสรีระทั้งปวงหรือ. คำว่า มีอยู่ในกาลทั้งปวง

หรือ อธิบายว่า สกวาทีย่อมถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในกาลทั้งปวงหรือ.
คำว่า สพฺเพน สพฺพํ อธิบายว่า สกวาทีถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่โดย
อาการทั้งปวงหรือ. คำว่า สพฺเพสุ อธิบายว่า สกวาทีย่อมถามว่า สิ่ง
ทั้งปวงมีอยู่ในธรรมทั้งปวงหรือ. คำว่า ไม่ประกอบหรือ ได้แก่ ไม่
ประกอบแล้ว อธิบายว่า ธรรมที่ประกอบกันได้ของสภาพธรรมต่าง ๆ มี
อยู่แต่ไม่มีสภาพธรรมอย่างเดียว. ดังนั้น ในปัญหานี้ สกวาทีจึงทำรูป
กับเวทนา หรือทำเวทนากับรูปไม่ให้ต่างกัน คือให้มีลักษณะอย่างเดียว
กันนั่นแหละ แล้วจึงถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่หรือ ข้อว่า แม้สิ่ง
ใดที่ไม่มี ก็ชื่อว่ามีอยู่หรือ
อธิบายว่า สกวาทีถามว่า แม้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีคำว่าขันธ์ที่ 6 เป็นต้น หรือคำว่า เขากระต่ายเป็นต้น ย่อมไม่มีอยู่
เพราะฉะนั้นคำอันท่านให้สำเร็จแล้ว แม้นี้ชื่อว่า มีอยู่หรือ. คำว่า สิ่ง
ทั้งปวงมีอยู่หรือ
ความว่า สกวาทีย่อมถามคำนี้ด้วยคำนี้ว่า ทิฏฐิใด
มีอยู่ ทิฏฐินั้นเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ และทิฏฐิใดมีอยู่ ทิฏฐินั้นเรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ อย่างนี้นั้นแหละเรียกว่า สึงทั้งปวงมีอยู่ หรือว่าในลัทธิของ
ท่านว่า ทิฏฐิอันใดว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ ทิฏฐินั้นชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะ
ไม่ทำตามความเป็นจริง ทิฏฐิอันใดมีอยู่ ทิฏฐินั้นชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ
เพราะมีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้
จึงกล่าวว่า สิ่งทั้งปวงเหล่านี้มีอยู่หรือ. ปรวาทีปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าว
อย่างนั้น เพราะความไม่มีแห่งธรรมที่มีอยู่ มีประการตามที่กล่าวแล้ว
ในนัยเหล่านั้น แม้ทั้งสิ้น. ก็ในนัยเหล่านี้แม้ทั้งหมด บัณฑิตพึงทราบ
ประเภทกถามรรคทั้งปวงโดยพิสดาร เพราะทำคำว่า ท่านจงรู้นิคคหะ

คือความผิดพลาด ดังนี้ให้เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้แล. นี้ชื่อว่า
วาทยุตติ คือการประกอบวาทะ ในที่นี้เพียงเท่านี้ก่อน.
บัดนี้ เป็นการเปรียบเทียบเวลาว่า อดีตมีอยู่หรือ ใน
ปัญหานั้น คำเป็นต้นว่า อดีตมีอยู่หรือ เป็นค่าเปรียบเทียบเพื่อ
ให้ความเห็นนั้นบริสุทธิ์. คำเป็นต้นว่า รูปอดีตมีอยู่หรือ เป็นการ
เปรียบเทียบกาลกับด้วยขันธ์เป็นต้น. ข้อว่า รวมเพ่งถึงรูปปัจจุ-
บัน
ความว่า ละรูปอันเป็นอดีตและอนาคตเสีย แล้วจึงเพ่งรูปปัจจุบัน
เท่านั้น ไม่พึงแยก. ในปัญหาว่า ย่อมละความเป็นรูปหรือ ปรวาที
ย่อมตอบปฏิเสธ เพราะความที่รูปแม้ดับไปแล้ว ท่านก็สงเคราะห์เป็นรูป
ขันธ์ ในปัญหาปฏิโลมว่า ย่อมไม่ละความเป็นรูปหรือ ปรวาที
ย่อมตอบรับรอง เพราะความที่รูปนั้นท่านสงเคราะห์เข้าเป็นรูปขันธ์.
ในข้อว่า รวมเพ่งถึงผ้าขาวนี้ ความว่า เมื่อปรวาทีกล่าวว่า รวม
เพ่งถึงผ้าขาว เพราะไม่กล่าวคำบัญญัติว่า ผ้าทั้งหมดเป็นสีขาวก็หาไม่
แต่กล่าวถึงผ้ากับสีขาวนี้ สกวาทีจึงตอบรับรอบโดยความเป็นอรรถอัน
เดียวกัน. ในปัญหาว่า ย่อมละความเป็นผ้าขาวหรือ คำรับรอง
นี้เป็นของสกวาที หมายเอาผ้าที่ปราศจากสี ก็ในคำว่า ย่อมละความ
เป็นผ้าหรือ
นี้ คำปฏิเสธเป็นของสกวาทีนั้นนั่นแหละ เพราะปราศ-
จากคำบัญญัติ. แม้ในปฏิโลมก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ปรวาทีนั้นถูกถามว่า
อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีตหรือ เมื่อสำคัญว่า ถ้าพึงละอนาคต
หรือปัจจุบันไซร้ อดีตนั้นก็พึงมีดังนี้ จึงรับรองว่าใช่ ก็ถูกถามว่า

อนาคตย่อมไม่ละความเป็นอนาคตหรือ ปรวาทีสำคัญว่า ถ้าพึงละ
อนาคตเสียเลย ก็จะไม่พึงละบรรลุความเป็นปัจจุบัน จึงปฏิเสธ. แม้ใน
ปัญหาว่าด้วยความเป็นปัจจุบัน ก็ปฏิเสธว่า โทษคือความไม่ถึงความเป็น
อดีตจะพึงมี. แม้ในปัญหาอนุโลมทั้งหลาย บัณฑิตก็พึงทราบเนื้อความ
โดยนัยนี้. ครั้นกล่าวสุทธิกนัยอย่างนี้แล้ว เพื่อแสดงด้วยสามารถแห่ง
ขันธ์อีก ท่านจึงกล่าวคำว่า รูปอดีต เป็นต้น คำนั้นทั้งหมดอาจ
เพื่อจะรู้โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ.
กายสังสันทนา จบ

วจนโสธนา


การชำระถ้อยคำ


บัดนี้ ชื่อว่า โสธนา คือการชำระถ้อยคำ เพราะพระบาลีว่า
อดีตมิใช่สภาวะที่มีอยู่ เป็นต้น. ในปัญหานั้น คำว่า หากว่า
อดีตมิใช่สภาวะที่มีอยู่ อธิบายว่า ถ้าอดีตไม่มีอยู่ไซร้. คำว่า อดีต
มีอยู่ก็ผิด
อธิบายว่า อดีตนั้นด้วยสภาพที่มีอยู่ด้วย ดังนี้ผิดทั้งนั้น.
ถูกถามว่า อนาคตก็อันนั้นนั่นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละหรือ
ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความไม่มีอนาคตที่กำลังเป็นปัจจุบันในขณะ
แห่งอนาคตนั่นแหละโดยการต่างกันแห่งเวลา. ถูกถามครั้งที่ 2 ก็ตอบ
รับรองเพราะความที่อนาคตใดได้มีแล้วในกาลก่อนแต่กาลเกิดขึ้นนั้นเป็น
ปัจจุบันที่กำลังปรากฏ. คำว่า สิ่งที่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุ-
บัน ชื่อว่าเป็นแล้งจึงเป็นอยู่หรือ
อธิบายว่า คำใดนี้อันท่านกล่าว