เมนู

นิคคหจตุกกะ


[3] ป. ก็ถ้าท่านยังจะยืนยันว่า กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่ง
เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น
สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ไซร้ ด้วยเหตุนั้น ท่านเมื่อยังปฏิญาณอยู่
ข้างปฏิเสธบุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ก็ต้องนิคคหะอย่างนี้ ดังนั้น
เราจึงนิคคหะท่าน ท่านถูกนิคคหะชอบแล้วเทียว. หากท่านไม่หยั่งเห็น
บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมิตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า
ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่าสภาวะ
ใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่ง
เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น
สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้นตามสภาวะนั้น
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.
นิคคหจตุกกะ จบ

อรรถกถานิคคหจตุกกะ


หมวด 4 แห่งนิคคหะ


ครั้นทำปฏิกรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ปรวาทีใดที่ถูกสกวาทีทำนิค-
คหะในอนุโลมปัญจกะแก่ตนได้อาศัยวาทะอันมีเลศนัยนั้น ๆ นั่นแหละ
แห่งปัญหานั้นแสดงความกระทำที่ไม่ชอบ โดยกล่าวคำเป็นต้นว่า
ตฺวญฺเจ ปน มญฺญสิ ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้นคำว่า ตฺวญฺเจ
ปน มญฺญสิ แปลว่า ก็ท่านยังจะยืนยัน.
คำว่า พึงกล่าว นี้ ท่านกล่าวหมายเอาคำรับรองว่า " ใช่ "
ในปัจจนิก. ก็ข้อว่า ไม่พึงกล่าว นี้ ท่านกล่าวหมายเอาคำหมิ่น คือ
คำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ข้อว่า เตน ตฺวํ ตตฺถ ได้แก่
ด้วยเหตุนั้น ท่านนั่นแหละย่อมมีในฝักใฝ่ ที่หยั่งเห็นไม่ได้. คำว่า
เมื่อรับรองอยู่ ได้แก่รับรองอยู่ว่า ใช่ อย่างนี้ ดังนี้. คำว่า
พึงนิคคหะอย่างนี้ ความว่า เมื่อหมิ่นอยู่ด้วยคำว่า ไม่พึงกล่าว
อีกชื่อว่า พึงนิคคหะอย่างนี้. คำว่า ดังนั้นเราจึงนิคคหะท่าน ความว่า
ที่นั้นพวกเราย่อมนิคคหะซึ่งท่านอันควรแก่การนิคคหะทีเดียว. คำว่า
ท่านเป็นผู้อันเรานิคคหะดีแล้ว ความว่า ท่านชื่อว่าเป็นผู้อันเรา
นิคคหะชอบแล้ว เพราะความเป็นนิคคหะตามมติของตน.
ปรวาทีนั้น ครั้นแสดงซึ่งภาวะอันตนพึงนิคคหะอย่างนี้แล้ว
บัดนี้เมื่อจะนิคคหะสกวาทีนั้น จึงกล่าวคำว่า หากว่า เป็นต้น.