เมนู

ปฏิกัมมจตุกกะ


[2] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านไม่
หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม.1 หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวไว้ว่า
ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า
สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น
ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า
สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น
ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่
หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า
พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่
พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น
บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด
ปฏิกัมมจตุกกะ จบ
1. ปฏิกรรม การกระทำคืน คือ ปัดไม่รับนิคคหกรรม

อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ


หมวด 4 แห่งการทำตอบ


บัดนี้ สกวาทีย่อมรับรองคำต้น เพราะหยั่งเห็นบุคคลไม่ได้ด้วย
ปรมัตถสัจจะ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นในปัญหาหลังท่านก็ปฏิเสธด้วย
สามารถแห่งสมมติสัจจะ หรือด้วยสามารถแห่งมิสสกสัจจะ. แต่ปรวาที
อาศัยวาทะเลศนัยสักว่า ย่อมหยั่งเห็นไม่ได้ ดังนี้ จึงกระทำตอบ
คือทำคืน นิคคหกรรมที่สกวาทีทำแล้วแก่ตน แล้วกล่าวว่า ท่านจง
รับรู้ปฏิกรรม คือการทำตอบ เหมือนการด่าตอบของผู้ด่าอยู่ด้วยคำว่า
ท่านรับคำก่อนแล้วภายหลังปฏิเสธ. บัดนี้นิคคหะอันสกวาทีทำการ
ตั้งวาทะไว้ในอนุโลมปัญจกะแก่ปรวาทีนั้นให้ปรากฏด้วยปาปนา อาโร-
ปนาแต่อนุโลมและปฏิโลมโดยวิธีใด ปรวาทีนั้นเมื่อจะทำปฏิกรรมนั้น
ให้ปรากฏโดยวิธีนั้น จึงกล่าวคำว่า " หากว่าบุคคล " เป็นต้น. ข้อนั้น
บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในข้อนี้ชื่อว่า
ฐปนา เพราะการตั้งไว้ซึ่งส่วนของปรวาทีอันเป็นคำสักว่าการตั้งไว้เท่า
นั้น เพื่อแสดงว่า นี้เป็นโทษของท่าน ไม่ได้กระทำนิคคหะหรือ
ปฏิกัมมะให้ปรากฏ แต่การกระทำที่ปรากฏแก่สกวาทีนั้นย่อมมีด้วย
ปาปนาด้วย ด้วยอาโรปนาด้วย เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงชื่อว่า ปฏิกัมม-
จตุกกะ เพราะปฏิกรรม คือการทำตอบ หรือการทำคืน อันท่านทำ
แล้วด้วยอาการ 4 อย่าง ด้วยสามารถแห่งปาปนาและอาโรปนา แต่
อนุโลมและปฏิโลม ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบจตุกกะหมวด 4
ดังพรรณนามาฉะนี้.
อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ จบ