เมนู

ปฏิกัมมจตุกกะ


[2] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านไม่
หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม.1 หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวไว้ว่า
ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า
สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น
ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า
สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น
ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่
หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า
พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่
พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น
บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด
ปฏิกัมมจตุกกะ จบ
1. ปฏิกรรม การกระทำคืน คือ ปัดไม่รับนิคคหกรรม