เมนู

ชหติกถา


[286] สกวาที ปุถุชนละกามราคะ และพยาบาทได้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ละได้ไม่มี
เยื่อใย ละได้กับทั้งราก ละได้กับทั้งตัณหา ละได้กับทั้งอนุสัย ละได้
ด้วยญาณอันเป็นอริยะ แทงตลอดอกุปปธรรมละได้ ทำให้แจ้งอนาคามิ-
ผลละได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[287] ส. ปุถุชนข่มกามราคะ และพยาบาทได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ข่มได้หมดสิ้น ไม่ได้ไม่มีส่วนเหลือ ข่มได้ไม่
มีเยื่อใย ข่มได้กับทั้งราก ข่มได้กับทั้งตัณหา ข่มได้กับทั้งอนุสัย ข่มได้
ด้วยญาณอันเป็นอริยะ ข่มได้ด้วยมรรคอันเป็นอริยะ แทงตลอดอกุปป-
ธรรมข่มได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[288] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม
ราคะและพยาบาทได้ และบุคคลนั้นละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มีส่วน
เหลือ ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลละได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. ปุถุชนละกามราคะ และพยาบาทได้ และเขา
ละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งอนามิผล ละได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[289] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกาม
ราคะพยาบาทได้ และบุคคลนั้นข่มได้หมดสิ้น ข่มได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ
ทำให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ และเขาข่ม
ได้หมดสิ้น ข่มได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[290] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ แต่เขาจะละ
ได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะละได้ไม่มีส่วนเหลือก็หามิได้ จะละได้ไม่มีเยื่อใย
ก็หามิได้ จะละได้กับทั้งรากก็หามิได้ จะละได้กับทั้งตัณหาก็มิได้ จะละ
ได้กับทั้งอนุสัยก็หามิได้จะละได้ด้วยญาณอันเป็นอริยะก็หามิได้ จะละได้
ด้วยมรรคอันเป็นอริยะก็หามได้ จะแทงตลอดอกุปปธรรมละได้ก็หามิได้
จะทำให้แจ้งอนาคามิผลละได้ก็หามิได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม

ราคะและพยาบาทได้ แต่บุคคลนั้นจะละได้ทั้งหมดก็หามิได้ ฯลฯ จะทำ
ให้แจ้งอนาคามิผลละได้ก็หามิได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[291] ส. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ แต่เขาจะ
ข่มได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะข่มได้ไม่มีส่วนเหลือก็หามิได้ ฯ ล ฯ จะทำ
ให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ก็หามิได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกาม
ราคะและพยาบาทได้ แต่บุคคลนั้นจะข่มได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะข่มได้
ไม่มีส่วนเหลือก็หามิได้ ฯ ล ฯ จะทำให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ก็หามิได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[292] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ด้วยมรรคไหน ?
ป. ด้วยมรรคส่วนรูปาวจร.
ส. มรรคส่วนรูปาวจรเป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ
ให้ถึงความสิ้นไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็น
อารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์

ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลส หรือ.
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. มรรคส่วนรูปาวจร ไม่เป็นเหตุนำออกจากสัง-
สารวัฏ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความตรัสรู้
ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพนาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สัญโญชน์ ฯ ล ฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส มิใช่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า มรรคส่วนรูปาวจร ไม่เป็นเหตุนำออก
จากสังสารวัฏ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความ
ตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสาวะ เป็น
อารมณ์ของสัญโญชน์ ฯ ล ฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า
ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคส่วนรูปาวจร.
[293] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม
ราคะและพยาบาทได้ด้วยอนาคามิมรรค และมรรคนั้นเป็นเหตุนำออก
จากสังสารวัฏ ให้ถึงความสิ้นไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ. ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯ ล ฯ ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรค
ส่วนรูปาวจรและมรรคนั้นเป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ ให้ถึงความสิ้น

ไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่
เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[294] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรค
ส่วนรูปาวจรและมรรคนั้นไม่เป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ ไม่เป็นธรรม
ให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึง
นิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯ ล ฯ
เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม
ราคะและพยาบาทได้ด้วยอนาคามิมรรค แต่มรรคนั้นไม่เป็นเหตุนำ
ออกจากสังสารวัฏ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึง
ความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
อารมณ์ของสัญโญชน์ ฯ ล ฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[295] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง-
หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ
บรรลุธรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ดำรงอยู่ในอรหัตผล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[296] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง-
หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ
บรรลุธรรม หรือ ?.
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยังมรรคทั้งสามให้เกิดได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ยังมรรคทั้งสามให้เกิดได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้งสามได้ ไม่ก่อนไม่หลัง
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้งสามได้ ไม่ก่อนไม่หลัง
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะสาม แห่งเวทนาสาม
แห่งสัญญาสาม แห่งเจตนากาม แห่งจิตนาสาม แห่งจิตสาม แห่งศรัทธาสาม แห่ง
วิริยะสาม แห่งสติสาม แห่งสมาธิสาม แห่งปัญญาสาม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[297] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง-
หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ
บรรลุธรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. ด้วยโสดาปัตติผลมรรค หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ด้วยสกทาคามิผลมรรค หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ด้วยมรรคไหน ?
ป. ด้วยอนาคามิมรรค.
ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้
ด้วยอนาคามิมรรค หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้
ด้วยอนาคามิมรรค หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโสดาปัตติผล เพราะละ
สัญโญชน์สามมิใช่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโสดาปัตติผล
เพราะละสัญโญชน์สาม ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส ได้ด้วยอนาคามิมรรค ฯ ล ฯ
ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ
ได้ด้วยอนาคามิมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ
ได้ด้วยอนาคามิมรรค หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสกทาคามิผล เพราะ
ความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท มิ
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสกทาคามิผล
เพราะความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละกาม
ราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค.
[298] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง-
หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการ
บรรลุธรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชนเหล่าใดเหล่านี้บรรลุธรรมได้ ชนเหล่า
นั้นทั้งหมดดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ
บรรลุธรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[299] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนละกามราคะและพยาบาท
ได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ในกาลส่วน
อดีต ได้มีศาสดาทั้งหกเป็นผู้มียศ หมดความฉุนโกรธ แจ่มใส
เพราะกรุณา พ้นจากความเกี่ยวข้องในกาม คลายกามราคะแล้ว
เข้าถึงพรหมโลก แม้สาวกของศาสดาเหล่านั้น อันมีจำนวน
หลายร้อยก็เป็นผู้หมดความฉุนโกรธ แจ่มใสเพราะกรุณา พ้นจาก
ความเกี่ยวข้องในกาม คลายกามราคะแล้ว เข้าถึงพรหมโลก

ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนก็ละกามราคะและพยาบาท
ได้น่ะสิ.
[300] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้นแล เป็นผู้มีอายุยืนอย่างนี้ ทรง
ชีพอยู่นานอย่างนี้ แต่ก็ไม่ได้หลุดพ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า เป็นผู้
ไม่พ้นจากทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ก็เพราะไม่รู้ตาม ไม่แทง

1. องฺ. ฉกฺก. 22/325

ตลอด ซึ่งธรรมทั้งสี่ ธรรมทั้งสี่เป็นไฉน ? เพราะไม่รู้ตาม ไม่
แทงตลอด ซึ่งศีลอันเป็นอริยะ ซึ่งสมาธิอันเป็นอริยะ ซึ่งปัญญา
อันเป็นอริยะ ซึ่งวิมุติอันเป็นอริยะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีลอัน
เป็นอริยะ สมาธิอันเป็นอริยะ ปัญญาอันเป็นอริยะ วิมุติอันเป็น
อริยะ นี้ อันเรารู้ตามแล้ว แทงตลอดแล้ว เราจึงถอนตัณหา
ในภพเสียได้แล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพ
ใหม่ไม่มี
ดังนี้ (พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณพจน์นี้ ครั้น
แล้วจึงได้ตรัสคำอันท่านประพันธ์เป็นคาถาในภายหลัง ความว่าดังนี้)
ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ เป็นธรรม
อันยอดเยี่ยม อันพระโคดมผู้มียศทรงตามรู้แล้ว พระพุทธเจ้า
ทรงรู้ยิ่งด้วยประการฉะนี้แล้ว ได้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
เป็นศาสดาผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ ผู้มีจักษุ ปรินิพพานแล้ว
ดังนี้1
เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนละกามราคะ
และพยาบาทได้น่ะสิ.
ชหติกถา จบ
1. อํ. สัตตถ. 23/63

อรรถกถาปชหติกถา1


ว่าด้วยการละกิเลส


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการละกิเลส. ก็ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมี
ความเห็นผิดดุจนิกายสมิติยะเป็นต้น ในที่นี้ว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานพร้อม
กับการตรัสรู้สัจจะย่อมเป็นผู้ชื่อว่า เป็นพระอนาคามีและในกาลที่ท่าน
ยังเป็นปุถุชนนั่นแหละเป็นผู้ละกามราคะและพยาบาทได้แล้ว ดังนี้
เพื่อจะทำลายลัทธินั้นของชนเหล่านั้น พระสกวาทีจึงถามว่า ปุถุชน
ละกามราคะและพยาบาทได้หรือ ?
เมื่อพระปรวาทีไม่เห็นอยู่ซึ่ง
ปริยุฏฐานกิเลสของท่านผู้ขมไว้ด้วยฌานจึงตอบรับรอง. ก็การละกิเลส
ได้โดยสิ้นเชิงของฌานลาภีบุคคลเหล่านั้นแม้ข่มไว้แล้วด้วยอนาคามิ-
มรรคนั่นแหละมีอยู่ เพราะฉะนั้นคำซักถามของสกวาทีว่า ละกิเลส
ได้หมดสิ้น
อีก การปฏิเสธ เป็นของปรวาที เพราะไม่มีการละเช่น
นั้น. คำว่า ปุถุชนข่ม เป็นคำถามของสกวาที หมายเอาการข่ม
กิเลสไว้โดยไม่หมดสิ้นเท่านั้น. ต่อจากนี้ไป เป็นการเปรียบเทียบปุถุชน
กับพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค คำนี้มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
เบื้องหน้าแต่นี้ถูกสกวาทีถามว่า ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความ
กำหนัดในกามทั้งหลายดำรงอยู่ในอนาคามิผล ?
ก็ตอบรับรอง หมาย
เอาปุถุชนผู้เป็นพระอนาคามีด้วยฌาน. ถูกถามว่า ตั้งอยู่ในพระ-
อรหัตตผลหรือ ?
ตอบปฏิเสธ เพราะไม่มีการละอุทธัมภาคิยสังโยชน์
1. บาลี-เป็น ชหติกถา.