เมนู

ของผู้ละกิเลสหรือเพราะความไม่ตรัสรู้ด้วยมรรคภาวนาเป็นต้น หรือแม้
เพราะไม่เห็นสัจจะทั้งหลาย นี้ด้วยประการฉะนี้เป็นต้น สกวาทีจึง
กล่าวว่า ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน เป็นต้น. คำนั้นทั้งหมด
มีคำอธิบายง่ายทั้งนั้นแล. อนึ่ง เนื้อความพระสูตรทั้งหลาย บัณฑิตพึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาที่มาทั้งหลายนั่นแหละ.
ในคำว่า พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตผลได้
นี้เป็นลัทธิของพวกเขาว่า พระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์อ่อนชื่อว่า สมยวิมุตต-
บุคคล พระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ชื่อว่าอสมยวิมุตตบุคคล ดังนี้
แต่ในลัทธิสกวาทีทำการสันนิษฐานไว้ว่า ผู้เป็นฌานลาภีไม่บรรลุวสี
ชื่อว่า สมยวิมุตตบุคคล ผู้เป็นฌานลาภีบรรลุวสีแล้วด้วย พระอริย-
บุคคลทั้งหมดในวิโมกข์ที่เป็นอริยะด้วย ชื่อว่า อสมวิมุตตบุคคล. ก็
ปรวาทีนั้นถือเอาลัทธิของตนกล่าวว่า พระอรหันต์ผู้สมยวิมุติย่อม
เสื่อม พระอรหันต์นอกจากนี้ไม่เสื่อม
คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อ
ความง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.
อริยปุคคลสังสันทนา จบ

สุตตโสธนา


การชำระพระสูตร


บัดนี้ เป็นการชำระพระสูตร. ในคำเหล่านั้น คำว่า สูง
และต่ำ
ได้แก่ความสูงด้วยความต่ำด้วยจากประเภทอันเลิศและเลว.

คำว่า ปฏิปทา ได้แก่ การปฏิบัติ. คำว่า อันสมณะประกาศ
แล้ว
ได้แก่สมณะ คือพระพุทธเจ้าให้รุ่งโรจน์แล้ว. ก็ปฏิปทาง่าย
บรรลุเร็วพลัน ชื่อว่า เป็นปฏิปทาสูง ปฏิปทาลำบากตรัสรู้ช้าชื่อว่า
ปฏิปทาต่ำ ปฏิปทาที่เหลือ 2 นอกจากนี้ เป็นปฏิปทาสูงส่วนหนึ่ง ต่ำ
ส่วนหนึ่ง. ท่านกล่าวปฏิปทาแรกเท่านั้นว่าเป็นปฏิปทาสูง ส่วนที่เหลือ
แม้ทั้ง 3 ท่านกล่าวว่าเป็นปฏิปทาต่ำ. อธิบายว่า พระอริยะทั้งหลาย
ย่อมไปสู่ฝั่ง คือพระนิพพาน ได้ 2 ครั้งด้วยปฏิปทาทั้งสูงทั้งต่ำนั้น ๆ
ก็หาไม่ คือหมายความว่า ย่อมไม่ไปสู่พระนิพพานสิ้น 2 ครั้ง ด้วย
มรรคหนึ่ง. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่าเพราะว่ากิเลสเหล่าใด
อันมรรคใดละได้แล้วไม่พึงละกิเลสเหล่านั้นด้วยมรรคนั้นอีก ท่านย่อม
แสดงภาวะแห่งธรรม คือความไม่เสื่อมด้วยมรรคนี้. ข้อว่า ฝั่งนี้อัน
ผู้ปฏิบัติจะได้รู้แต่ครั้งเดียวก็หาไม่
ความว่า ฝั่ง คือพระนิพพาน
นี้แม้ควรแก่การบรรลุสิ้นครั้งเดียวก็หาไม่ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า
เพราะไม่มีการละกิเลสทั้งปวงด้วยมรรคเดียว. ท่านแสดงความเป็นพระ-
อรหันต์ด้วยมรรค 1 เท่านั้น.
ข้อว่า บรรดากิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดแล้วยังมีบางอย่าง
ที่ยังจะต้องตัดอีกหรือ
ความว่า สกวาทีถามว่า เมื่อกิเลสวัฏฏะ
ขาดแล้ว พระอริยะจะพึงตัดกิเลสอะไร ๆ อีกมีอยู่หรือ ? ปรวาทีหมาย
เอาพระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าจึงตอบปฏิเสธ ถูกถามซ้ำอีก หมาย
เอาผู้มีอินทรีย์อ่อน จึงตอบรับรองว่า ใช่. สกวาทีจึงนำพระสูตรมาแล้ว
แสดงความไม่มีกิเลสอะไร ๆ ที่พระอรหันต์จะต้องตัดอีก.

ในปัญหาว่า คำว่า โอฆปาโส แปลว่า ห้วงน้ำและบ่วง
ได้แก่ ห้วงน้ำคือกิเลส และบ่วงคือกิเลส. คำว่า การกลับสร้างสม
กิจที่ทำแล้ว
ได้แก่ เจริญมรรคที่เจริญแล้วอีก. แม้คำในที่นี้บัณฑิต
พึงทราบคำปฏิเสธและคำตอบรับรองโดยนัยที่กล่าวมาแล้วในกาลก่อน
นั่นแหละ.
คำว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเสื่อมรอบ ความว่า
ธรรม 5 อย่างมีความเพลิดเพลินในการงานเป็นต้น ในพระสูตรที่
ปรวาทีนำมาอ้าง ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเสื่อมจากธรรมที่ยังไม่บรรลุ
และเพื่อความเสื่อมจากโลกิยสมาบัติ แต่สกวาทีนั้นไม่เห็นความเสื่อม
แห่งพระอรหันต์ที่บรรลุแล้ว ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ จึงถามว่า พระ-
อรหันต์มีความเพลิดเพลินในการงานหรือ
ปรวาทีหมายเอาพระ-
อรหันต์ผู้อสมยวิมุตตบุคคล จึงตอบปฏิเสธ หมายเอาพระอรหันต์ นอก
จากนี้จึงตอบรับรอง. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมปฏิเสธการงานอันเป็นไปกับ
ด้วยกามราคะย่อมรับรองการงานอันเป็นไปนอกจากกามราคะ. เมื่อถูก
ถามถึงความที่พระอรหันต์มีราคะเป็นต้นก็ไม่อาจตอบ.
คำว่า ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม ความว่ากิเลสอะไร ๆ
กลุ้มรุมจิต อธิบายว่ากิเลสเป็นเครื่องผูกพัน หรือกิเลสเป็นเครื่องท่วม-
ทับภายใน. แม้ในคำถามว่าด้วยอนุสัยกิเลส บัณฑิตพึงทราบ คำปฏิ-
เสธและคำรับรองด้วยสามารถแห่งพระอริยผู้มีอินทรีย์อ่อน. อนึ่ง ย่อม
ตอบรับรองด้วยคำธรรมดาว่า อนุสัยของกัลยาณปุถุชนยังมีอยู่.

ข้อว่า ราคะก่อตัวขึ้น ความว่า ปรวาทีกล่าวหมายเอา
ราคะที่ละด้วยการภาวนา. แม้ในโทสะและโมหะข้างหน้าก็นัยนี้เหมือน
กัน. ก็การก่อตัวขึ้นแห่งกิเลสทั้งหลายมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นย่อมไม่มี
เพราะความที่กิเลสเหล่านั้นอันพระโสดาบันละแล้ว. คำที่เหลือในที่
ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
สุตตโสธนา จบ
อรรถกถาปริหานิกถา จบ

พรหมจริยกถา


[255] สกวาที การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในหมู่เทวดา
หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เทวดาทั้งหมด เป็นผู้เงอะงะ เป็นใบ้ ไม่รู้
เดียงสา ใช้ภาษาใบ้ ไม่มีกำลังพอรู้ความแห่งคำที่กล่าวดีกล่าวชั่ว เทวดา
ทั้งหมด ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ไม่เลื่อมใส
ในพระสงฆ์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ทูลถามปัญหา
กับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ชื่นชมในปัญหาที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
วิสัชนาแล้ว เทวดาทั้งหมดประกอบด้วยกัมมาวรณ์ กิเลสาวรณ์ วิปากา-
วรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ เป็นผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอนอันเป็นทางชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย เทวดา
ทั้งหมดเป็นผู้ทำมาตุฆาต เป็นผู้ทำปิตุฆาต เป็นผู้ทำอรหันตฆาต เป็น
ผู้ทำโลหิตุปบาท เป็นผู้ทำสังฆเภท เทวดาทั้งหมดเป็นผู้ทำปาณาติบาต
เป็นผู้ทำอทินนาทาน เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้กล่าวมุสาวาท
เป็นผู้กล่าวปิสุณาวาท เป็นผูกกล่าวผรุสวาท เป็นผู้กล่าวสัมผัปปลาปวาท
เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เทวดาที่ไม่เป็นผู้เงอะงะ ไม่เป็นใบ้ เป็นผู้รู้
เดียงสาไม่ใช้ภาษาใบ้ มีกำลังพอจะรู้เนื้อความแห่งคำที่กล่าวดีหรือชั่ว