เมนู

ของพระอรหันต์ผู้ตั้งอยู่เฉพาะในกามภพ. เพราะความที่ธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม มีความเพลิดเพลินในการงานเป็นต้นมีอยู่
เพราะฉะนั้น เมื่อถูกสกวาทีถามว่า พระอรหันต์เสื่อมจาก...ในภพ
ทั้งปวงหรือ
ท่านก็ปฏิเสธ ครั้นถูกถามซ้ำอีก ท่านก็ตอบรับรอง
เพราะความไม่เสื่อมอย่างนั้น ลำดับนั้น สกวาที จึงถามปัญหาที่ควร
ถามในปัญหาที่ 2 อันเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นแก่ปรวาทีนั้นฉันนั้นนั่นแหละ
ว่า แม้พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจากผล ปรวาทีเมื่อไม่เห็นความ
แน่นอนแห่งความที่ไม่ควรเป็นเศรษฐี จึงตอบรับรอง ถูกสกวาทีซักถึง
ความเป็นผู้ควรจะเสื่อมจากผลทั้ง 4 ของพระอรหันต์ ปรวาทีผู้ตั้งอยู่ใน
ลัทธิถือเอาเนื้อความโดยไม่พิจารณาถ้อยคำว่า เป็นผู้เที่ยงเป็นผู้จะ
ตรัสรู้ข้างหน้า
จึงปฏิเสธ หมายเอาความไม่ควรเพื่อจะเสื่อมจาก
โสดาปัตติผล. ก็คำนั้น สักว่าเป็นลัทธิของท่านเท่านั้น ชื่อว่า วาทยุตติ
คือการประกอบวาทะ สำเร็จแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล.

อริยปุคคลสังสันทนา


การเทียบเคียงระหว่างพระอริยะ


บัดนี้ เป็นการเริ่มการเทียบเคียงระหว่างพระอริยบุคคล. ใน
ปัญหานั้น ชนบางพวกย่อมปรารถนาความเสื่อมของพระอรหันต์เท่านั้น
บางพวกปรารถนาความเสื่อมแม้แก่พระอนาคามี บางพวกปรารถนา
ความเสื่อมแม้แก่พระสกทาคามี แต่ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมปรารถนา
ความเสื่อมของพระโสดาบันนั่นเทียว. ชนเหล่าใดย่อมปรารถนาความ

เสื่อมของพระอรหันต์ผู้เสื่อมจากความเป็นพระอรหันต์แล้วดำรงอยู่ใน
ภาวะแห่งพระอนาคามีและพระสกทาคามีภูมิ แต่ไม่ปรารถนาความเสื่อม
ของพระอนาคามีและสกทาคามีนอกจากนี้ ก็ชนแม้เหล่านั้นย่อมไม่
ปรารถนาความเสื่อมของพระโสดาบันแม้ในกาลทั้งปวง เพราะฉะนั้น
ท่านจึงทำคำถามด้วยเครื่องหมายสำหรับละข้อความไว้เป็นสำคัญ. ใน
ปัญหาเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบคำปฏิเสธด้วยสามารถแห่งลัทธิของ
ท่านเหล่านั้น. ก็ในปัญหาว่า พระอนาคามีย่อมเสื่อมจากพระอนา-
คามิผลหรือ
ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยสามารถแห่งชนผู้ไม่ปรารถนา
ความเสื่อมของพระอนาคามีเหล่านั้น. ในข้อนี้ว่า ชนเหล่าใด ย่อม
ปรารถนาความเสื่อมของพระอนาคามีผู้ปกติ หรือพระอนาคามีผู้เสื่อม
จากพระอรหันต์แล้วดำรงอยู่ในภาวะแห่งอนาคามิภูมิ คำตอบรับรอง
ของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถแห่งชนเหล่านั้น ดังนี้ เป็นข้อสำคัญ.
บัณฑิตพึงทราบเปยยาล คือเครื่องหมายสำหรับละข้อความทั้งปวงแห่ง
เนื้อความโดยทำนองแห่งปัญหานั้นเถิด.
อนึ่ง คำใดที่ท่านกล่าวแล้วในปัญหานั้นว่า ถัดจากโสดา-
ปัตติผลท่านก็ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตผลทีเดียวหรือ
คำนั้น
ท่านกล่าวหมายเอาความเกิดขึ้นแห่งพระอรหันต์เพราะความพยายามอีก
ของพระอรหันต์ผู้เสื่อมแล้ว. ปรวาทีตอบปฏิเสธคำนั้น เพราะไม่มี
ความเป็นพระอรหันต์ในลำดับแห่งโสดาปัตติผล. เบื้องหน้าแต่นี้เพื่อ
ประกอบคำเป็นต้นว่า ชื่อว่าความเสื่อมนี้จะพึงมีเพราะความโง่เขลา

ของผู้ละกิเลสหรือเพราะความไม่ตรัสรู้ด้วยมรรคภาวนาเป็นต้น หรือแม้
เพราะไม่เห็นสัจจะทั้งหลาย นี้ด้วยประการฉะนี้เป็นต้น สกวาทีจึง
กล่าวว่า ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน เป็นต้น. คำนั้นทั้งหมด
มีคำอธิบายง่ายทั้งนั้นแล. อนึ่ง เนื้อความพระสูตรทั้งหลาย บัณฑิตพึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาที่มาทั้งหลายนั่นแหละ.
ในคำว่า พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตผลได้
นี้เป็นลัทธิของพวกเขาว่า พระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์อ่อนชื่อว่า สมยวิมุตต-
บุคคล พระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ชื่อว่าอสมยวิมุตตบุคคล ดังนี้
แต่ในลัทธิสกวาทีทำการสันนิษฐานไว้ว่า ผู้เป็นฌานลาภีไม่บรรลุวสี
ชื่อว่า สมยวิมุตตบุคคล ผู้เป็นฌานลาภีบรรลุวสีแล้วด้วย พระอริย-
บุคคลทั้งหมดในวิโมกข์ที่เป็นอริยะด้วย ชื่อว่า อสมวิมุตตบุคคล. ก็
ปรวาทีนั้นถือเอาลัทธิของตนกล่าวว่า พระอรหันต์ผู้สมยวิมุติย่อม
เสื่อม พระอรหันต์นอกจากนี้ไม่เสื่อม
คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อ
ความง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.
อริยปุคคลสังสันทนา จบ

สุตตโสธนา


การชำระพระสูตร


บัดนี้ เป็นการชำระพระสูตร. ในคำเหล่านั้น คำว่า สูง
และต่ำ
ได้แก่ความสูงด้วยความต่ำด้วยจากประเภทอันเลิศและเลว.