เมนู

อรรถกถาปริหานิกถา


ว่าด้วยความเสื่อม


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องความเสื่อม. ก็นิกายสมิติยะ วัชชีปุตตกะ
สัพพัตถิกวาที และมหาสังฆิกะบางพวก อาศัยพระสูตรทั้งหลายว่า*
ปริหานิธมฺโม อปริหานิธมฺโม เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา เสกฺขสฺส
ภิกฺขุโน ปริหานาย สํวตฺตนฺติ ปญฺจิเนุ ภิกฺขเว ธมฺมา สมย-
วิมุตฺตสฺส ภิกฺขุโน ปริหานาย สํวตฺตนฺติ
ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้
เป็นต้น ย่อมปรารถนาซึ่งความเสื่อมรอบแม้แก่พระอรหันต์ เพราะ
ฉะนั้น ความเสื่อมเหล่านั้น หรือเหล่าอื่นนั่นแหละจงยกไว้ก่อน ลัทธิ
คือความถือผิดนี้ย่อมมีแก่ชนเหล่าใด เพื่อทำลายลัทธิแห่งชนเหล่านั้น
สกวาทีจึงถามปรวาทีว่า พระอรหันต์เสื่อมจากความเป็นพระอร-
หันต์หรือ
ในคำถามเหล่านั้น คำว่า " ความเสื่อม " ได้แก่ความ
เสื่อม 2 อย่างคือ ปัตตปริหานิ คือความเสื่อมจากธรรมที่เคยบรรลุแล้ว
และอัปปัตตปริหานิ คือความเสื่อมจากธรรมที่ยังไม่บรรลุ.
* พระสูตรนี้แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างเหล่านี้ คือ ปริหานิ-
ธรรม และอปริหานิธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมรอบแก่ภิกษุผู้เป็นเสกข-
บุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 เหล่านี้ คือ ความเพลิดเพลินในการงาน
ความเพลิดเพลินในการสนทนา ความเพลิดเพลินในการหลับ ความเพลิดเพลิน
ในการคลุกคลี ความหลุดพ้นแห่งจิตมีอย่างไรไม่พิจารณาอย่างนั้น ย่อมเป็นไป
พร้อมเพื่อความเสื่อมรอบแก่ภิกษุผู้สมยวิมุตตบุคคล ดังนี้ด้วยประการฉะนี้เป็นต้น

ในความเสื่อมเหล่านั้น ท่านพระโคธิกะแล ย่อมเสื่อมจากเจโต
วิมุตอันเป็นไปชั่วคราวนั้นแม้ในครั้งที่ 2 นี้เรียกว่า ปัตตปริหานิ คือ
ความเสื่อมจากธรรมที่เคยบรรลุแล้ว. เมื่อชนทั้งหลายผู้มีความต้องการ
สิ่งทั่วไปมีอยู่ ความต้องการอันนั้นย่อมเสื่อมไปนี้เรียกว่า อัปปัตตปริหานิ
คือความเสื่อมจากธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ คือยังไม่ได้มา. ในความเสื่อม
ทั้ง 2 เหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาความเสื่อมจากธรรมที่เคยบรรลุ
แล้วคือ ปัตตปริหานิ.
ก็คำตอบรับรองของปรวาทีว่า " ใช้ " เพราะหมายเอาความ
เสื่อมจากธรรมอันบรรลุแล้วนี้ อนึ่ง ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาชื่อความ
เสื่อมจากธรรมอันบรรลุแล้วนี้จากโลกิยสมาบัติในลัทธิของตนเท่านั้น
ไม่ปรารถนาความเสื่อมจากสามัญญผลทั้งหลาย มีอรหัตผลเป็นต้น แม้
ในลัทธิอื่นท่านก็ไม่ปรารถนาความเสื่อมนั้นแก่บุคคลทั้งปวงในสามัญญ-
ผลทั้งปวง ในภพทั้งปวง ในกาลทั้งปวง อันลัทธินั้นก็สักแต่ว่าเป็นลัทธิ
ของท่านเท่านั้น เพราะฉะนั้นเพื่อจะทำลายข่าย คือลัทธิอันถือผิดทั้งปวง
ปัญหาของสกวาที่จึงเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นอีกว่า พระอรหันต์เสื่อม
จากอรหัตผลได้ในภพทั้งปวงหรือ
ในปัญหานั้น ปรวาทีไม่
ปรารถนาความเสื่อมจากอรหัตผล ของพระอรหันต์ผู้เสื่อมมาโดยลำดับ
แล้วก็หยุดอยู่ในโสดาปัตติผล ย่อมปรารถนาความเสื่อมของพระอริยะ
ผู้ตั้งอยู่ในผลทั้งหลายในเบื้องบนเท่านั้น. อนึ่ง ไม่ปรารถนาความเสื่อม
ของพระอรหันต์ผู้ตั้งอยู่ในอรูปภพทั้งหลาย แต่ย่อมปรารถนาความเสื่อม

ของพระอรหันต์ผู้ตั้งอยู่เฉพาะในกามภพ. เพราะความที่ธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม มีความเพลิดเพลินในการงานเป็นต้นมีอยู่
เพราะฉะนั้น เมื่อถูกสกวาทีถามว่า พระอรหันต์เสื่อมจาก...ในภพ
ทั้งปวงหรือ
ท่านก็ปฏิเสธ ครั้นถูกถามซ้ำอีก ท่านก็ตอบรับรอง
เพราะความไม่เสื่อมอย่างนั้น ลำดับนั้น สกวาที จึงถามปัญหาที่ควร
ถามในปัญหาที่ 2 อันเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นแก่ปรวาทีนั้นฉันนั้นนั่นแหละ
ว่า แม้พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจากผล ปรวาทีเมื่อไม่เห็นความ
แน่นอนแห่งความที่ไม่ควรเป็นเศรษฐี จึงตอบรับรอง ถูกสกวาทีซักถึง
ความเป็นผู้ควรจะเสื่อมจากผลทั้ง 4 ของพระอรหันต์ ปรวาทีผู้ตั้งอยู่ใน
ลัทธิถือเอาเนื้อความโดยไม่พิจารณาถ้อยคำว่า เป็นผู้เที่ยงเป็นผู้จะ
ตรัสรู้ข้างหน้า
จึงปฏิเสธ หมายเอาความไม่ควรเพื่อจะเสื่อมจาก
โสดาปัตติผล. ก็คำนั้น สักว่าเป็นลัทธิของท่านเท่านั้น ชื่อว่า วาทยุตติ
คือการประกอบวาทะ สำเร็จแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล.

อริยปุคคลสังสันทนา


การเทียบเคียงระหว่างพระอริยะ


บัดนี้ เป็นการเริ่มการเทียบเคียงระหว่างพระอริยบุคคล. ใน
ปัญหานั้น ชนบางพวกย่อมปรารถนาความเสื่อมของพระอรหันต์เท่านั้น
บางพวกปรารถนาความเสื่อมแม้แก่พระอนาคามี บางพวกปรารถนา
ความเสื่อมแม้แก่พระสกทาคามี แต่ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมปรารถนา
ความเสื่อมของพระโสดาบันนั่นเทียว. ชนเหล่าใดย่อมปรารถนาความ