เมนู

อรรถกถาปริหานิกถา


ว่าด้วยความเสื่อม


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องความเสื่อม. ก็นิกายสมิติยะ วัชชีปุตตกะ
สัพพัตถิกวาที และมหาสังฆิกะบางพวก อาศัยพระสูตรทั้งหลายว่า*
ปริหานิธมฺโม อปริหานิธมฺโม เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา เสกฺขสฺส
ภิกฺขุโน ปริหานาย สํวตฺตนฺติ ปญฺจิเนุ ภิกฺขเว ธมฺมา สมย-
วิมุตฺตสฺส ภิกฺขุโน ปริหานาย สํวตฺตนฺติ
ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้
เป็นต้น ย่อมปรารถนาซึ่งความเสื่อมรอบแม้แก่พระอรหันต์ เพราะ
ฉะนั้น ความเสื่อมเหล่านั้น หรือเหล่าอื่นนั่นแหละจงยกไว้ก่อน ลัทธิ
คือความถือผิดนี้ย่อมมีแก่ชนเหล่าใด เพื่อทำลายลัทธิแห่งชนเหล่านั้น
สกวาทีจึงถามปรวาทีว่า พระอรหันต์เสื่อมจากความเป็นพระอร-
หันต์หรือ
ในคำถามเหล่านั้น คำว่า " ความเสื่อม " ได้แก่ความ
เสื่อม 2 อย่างคือ ปัตตปริหานิ คือความเสื่อมจากธรรมที่เคยบรรลุแล้ว
และอัปปัตตปริหานิ คือความเสื่อมจากธรรมที่ยังไม่บรรลุ.
* พระสูตรนี้แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างเหล่านี้ คือ ปริหานิ-
ธรรม และอปริหานิธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมรอบแก่ภิกษุผู้เป็นเสกข-
บุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 เหล่านี้ คือ ความเพลิดเพลินในการงาน
ความเพลิดเพลินในการสนทนา ความเพลิดเพลินในการหลับ ความเพลิดเพลิน
ในการคลุกคลี ความหลุดพ้นแห่งจิตมีอย่างไรไม่พิจารณาอย่างนั้น ย่อมเป็นไป
พร้อมเพื่อความเสื่อมรอบแก่ภิกษุผู้สมยวิมุตตบุคคล ดังนี้ด้วยประการฉะนี้เป็นต้น