เมนู

ปรมัตถทีปนี


อรรถกถาปัญจปกรณ์


อรรถกถา ปุคคลกถา


ว่าด้วยบุคคลจะกล่าวคำว่าสัจฉิกัตถะก่อน


บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลด้วยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะ
นี้ เป็นคำถาม
คำว่า " อามนฺตา " นี้ เป็นคำตอบรับรอง.
ถามว่า ก็คำถามที่กล่าวว่า " ท่านหยั่งเห็นบุคคลด้วยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ " และคำตอบรับรองที่ว่า " อามนฺตา " นี้ เป็นของใคร ?
ตอบว่า คำถามและคำตอบรับรองนี้ ใคร ๆ ไม่ควรจะกล่าวว่า
เป็นของบุคคลอื่น เพราะว่าในปกรณ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้ง
มาติกา คือ หัวข้อธรรมไว้สำหรับเป็นแบบฉบับ เพื่อชำระล้างลัทธิอัน
เห็นผิดทั้งหลายมีประการต่าง ๆ. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ท่านตั้ง
มาติกานี้ตามนัยที่พระศาสดาทรงประทานไว้ และแล้วก็จำแนกความ
ตามแบบที่พระองค์ทรงแสดงไว้นั้น. อนึ่ง วาทมรรค คือ ทางแห่งวาทะ
ที่พระศาสดาทรงแสดงแนะไว้ในปกรณ์นี้มีประมาณเท่าใด พระเถระ
ท่านมิได้แสดงวาทมรรคอันเป็นถ้อยคำที่โต้เถียงกันกับวาทะด้วยวาทะมี
ประมาณเท่านั้น ก็ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนี้ เพื่อประโยชน์แก่การ

กำหนดจดจำอรรถแห่งถ้อยคำเหล่านั้นได้โดยง่าย ข้าพเจ้า (พระพุทธ-
โฆษาจารย์) จักแสดงวิภาค คือ การจำแนกความอย่างนี้ คือ เป็น
คำถามของพระสกวาที 1 เป็นคำตอบของพระปรวาที 1 เป็นคำถาม
ของพระปรวาที 1 และเป็นคำตอบของพระสกวาที 1 แล้วจักพรรณนา
ความต่อไป.
ก็คำว่า ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏฺฐปรมฏฺเฐน นี้
เป็นคำถามของสกวาที. ด้วยคำถามนั้นท่านแสดงว่า ชนเหล่าใดผู้เป็น
ปุคคลวาทีมีความเห็นอย่างนี้ว่า บุคคลมีอยู่ บัณฑิตควรถามชน
เหล่านั้นอย่างนี้.
ถามว่า ชนเหล่าไหนเป็นปุคคลวาที คือ ผู้มีวาทะว่าบุคคลมีอยู่
โดยแท้จริง
ตอบว่า 1พวกภิกษุวัชชีปุตตกะ ภิกษุนิกายสมิตยะในพระพุทธ
ศาสนา และอัญญเดียรถีย์เป็นอันมาก ภายนอกพระพุทธศาสนา
บรรดาคำว่า ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏฺฐปรมฏฺเฐน
เหล่านั้น คำว่า ปุคฺคโล แปลว่า บุคคลได้แก่อัตตา สัตว์ และชีวะ.
ว่า อุปลพฺภติ ท่านอธิบายว่า ผู้เข้าถึงแล้วย่อมรู้ได้ คือ ย่อม
รู้ได้ด้วยปัญญา. คำว่า สจฺฉิกฏฺโฐ ในคำว่า สจฉิกฏิฐปรมฺฏ-
1. ทั้ง 2 นิกายนี้มีความเห็นว่า บุคคลมีอยู่โดยปรมัตถะ โดยอธิบาย
บุคคลของเขาไม่ใช่ขันธ์ 5 และไม่นอกจากขันธ์ 5 เหมือนไม่ใช่เชื้อไฟแต่ไม่
นอกไปจากเชื้อไฟ ผิดหลักอนัตตาของเพราะสารีบุตรนี้ถูกพระมหาโมคคัล-
ลีบุตรติสสเถระโจมตีมากกว่า ลัทธิ อื่น ๆ.

เฐน นี้ ได้แก่อรรถอันเป็นจริงที่บัณฑิตไม่พึงถือเอาด้วยอาการอันไม่
เป็นจริง ดุจพยับแดดอันเป็นมายา เป็นต้น. คำว่า ปรมฏฺโฐ
ได้แก่ อรรถอันอุดม อันบัณฑิตไม่พึงถือเอาด้วยสามารถแห่งคำที่เล่าลือ
กันมา เป็นต้น อธิบายว่า สกวาทีถามว่า ประเภทแห่งธรรม 57 อย่าง
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18
และอินทรีย์ 22 ด้วยอรรถทั้ง 2 คือสัจฉิกัตถะและปรมัตถะนั้นว่า
ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปปรมัตถะ
หรือ เป็นต้นข้างหน้าประเภทแห่งธรรมนั้นบัณฑิตย่อมหยั่งเห็นได้ด้วย
ความเป็นจริงด้วยอรรถอันเป็นจริงฉันใด ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ตาม
ความเห็นของท่านฉันนั้นหรือ ? ปรวาทีตอบรับรองว่า อามนฺตา
แปลว่า ใช่ หรือ ถูกแล้ว ก็คำรับรองที่มาในที่อื่น ๆ ท่านใช้
คำว่า อาม ภนฺเต แปลว่า ใช่ครับ และใช้คำว่า อาม ซึ่ง
แปลว่าใช่ เป็นต้น แต่ในพระอภิธรรมนี้ คำรับรองท่านใช้คำว่า
อามนฺตา
อธิบายในคำว่า อามนฺตา ต่อไป :-
ก็ปรวาทีบุคคล คือผู้มีวาทะว่าบุคคลมีอยู่ ถือเอาพระสูตรที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่ตนมีอยู่ แล้วจึงถือเอาความเห็นว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
สัจวาที ผู้มีวาทะอันหาโทษมิได้ย่อมไม่ทรงแสดงธรรมด้วยสามารถ
แห่งคำที่ได้ยินได้ฟังต่อ ๆ กันมา ก็เพราะเหตุที่พระองค์ทรงกระทำโลกนี้

กับทั้งเทวโลกให้แจ่มแจ้งด้วยพระองค์เองแล้วประกาศพระศาสนา เพราะ
เหตุนั้น คำว่าบุคคลใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนมีอยู่ บุคคลนั้นต้องมีอยู่โดยสัจฉิกัตถะและ
ปรมัตถะ1 ดังนั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. ทีนั้นสกวาทีเมื่อไม่ให้โอกาส
แก่ปรวาทีผู้มีข้ออ้างอันพลั้งพลาดเช่นนั้น จึงกล่าวว่าสภาวะใดมีอรรถ
อันเป็นจริง เป็นปรมัตถะมีอยู่ ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยอรรถอัน
เป็นจริงและอรรถอย่างยิ่งอันนั้น หรือ ?
พึงทราบคำอธิบายในคำว่า สัจฉิกัตถะ และปรมัตถะ
ต่อไป :-
ประเภทแห่งธรรม 57 อย่าง มีรูปเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงแสดงแล้วว่าธรรมใดมีปัจจัย ไม่มีปัจจัย เป็นสังขตะ เป็นอสังขตะ
เป็นของเที่ยง ไม่เที่ยง มีนิมิต ไม่มีนิมิต ธรรมเหล่านั้นบัณฑิตไม่พึงถือ
เอาด้วยสมมติสัจจะและไม่พึงถือเอาตามคำเล่าลือกันมาเป็นต้น. ประเภท
แห่งธรรม 57 อย่างนี้แหละ ชื่อว่า สัจฉิกัตถะ เพราะความที่ตน
คือสภาวะแต่ละอย่างนั้น เป็นสภาพมีอยู่จริงนั่นแหละ และได้ชื่อว่า
ปรมัตถะ เพราะความประจักษ์ชัดแก่ตนเอง คือแก่ตัวสภาวะนั้น โดย
มิต้องเชื่อตามคำเล่าลือกัน. พระสกวาที หมายเอาอรรถทั้ง 2 อย่างนี้
1. คำว่า สัจฉิกัตถะ และปรมัตถะ ว่าโดยอรรถแล้วก็เป็นอย่างเดียวกัน
ต่างกันเพียงพยัญชนะ คือหมายถึงจิต เจตสิก รูป และพระนิพพาน. ส่วนคำว่า
บุคคล เป็นเพียงอุปาทาบัญญัติเท่านั้น.

จึงซักว่า สภาวธรรมใดที่เป็นสัจฉิกัตถะและปรมัตถะมีอยู่ ท่านหยั่งเห็น
บุคคลนั้นได้ด้วยสัตฉิกัตถะและปรมัตถะนั้น หรือ.
คำว่า ตโต เป็นตติยาวิภัตติ เพราะฉะนั้นในที่นี้ จึง
อธิบายว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้นหรือข้อนี้
ท่านอธิบายไว้ว่า พระสกวาทีถามว่า สภาวธรรมใดที่เป็นสัจฉิกัตถะมีอยู่
โดยอาการอันต่างด้วยลักษณะ มีรุปปนลักขณะ2 เป็นต้น หรืออันต่าง
ด้วยสภาวธรรม มีธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นต้น ท่านหยั่งเห็นบุคคล
นั้นได้ด้วยอาการอันนั้น หรือ ?
ข้อว่า ไม่พึงกล่าว นี้เป็นคำหมิ่นของพระปรวาที อธิบายว่า
ก็เมื่อปรวาทีนั้นไม่ปรารถนาคำที่สกวาทีนั้นกล่าว คือไม่เห็นด้วย จึง
กล่าวปฏิเสธ คำพระบาลีว่า น เหวํ วตฺตพฺเพ นี้ แยกบทเป็น
นหิ เอวํ วตฺตพฺเพ หรือเป็น นห เอวํ ดังนี้ก็สมควร ถึงอย่าง
นั้นบททั้ง 2 นั้นก็แปลว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เช่นเดียวกัน.
ข้อว่า ท่านจงรู้นิคคหะ คือ ความผิดพลาดเถิด เป็นคำของ
สกวาที. อธิบายว่า สกวาทีกล่าวว่า ท่านกล่าวรับรองปัญหาก่อนว่า
ใช่ แต่กลับปฏิเสธในปัญหาหลังว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น คำก่อน
2. คำว่า ลักษณะ มีหลายอย่าง เช่น.-
รุปปนลักขณะ ได้แก่ ลักษณะที่ย่อยยับไปเพราะวิโรธิปัจจัย เป็นต้น
ปัตจัตตลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่มีเฉพาะตน
สามัญญลักขณะ ได้แก่ ลักษณะที่เสมอกัน มีความไม่เที่ยงเป็นต้น.

ไม่สมกับคำหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจงถึงนิคคหะ จงรับนิคคหะนั้นๆ
ครั้นพระสกวาทีให้ปรวาทีรับนิคคหะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทำนิคคหะ
นั้นให้ปรากฏด้วยสามารถแห่งฐปนา คือการตั้ง ปาปนา คือการให้ถึง
และอาโรปนา คือการยกขึ้น จากอนุโลมและปฏิโลม จึงกล่าวคำว่า
หากว่าบุคคล เป็นต้น.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า "หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล"
อธิบายว่า ถ้าว่าท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถ
อย่างยิ่งไซร้. ข้อว่า หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ เบื้องต้นนี้ ชื่อ
อนุโลมปฐปนา เพราะเป็นลักษณะแห่งการให้ถึงนิคคหะและการยก
นิคคหะขึ้นจากการตั้งไว้ของฝ่ายปรวาที. ข้อว่า เตน วต เร
เป็นต้น ชื่อว่า อนุโลมปาปนา เพราะความที่นิคคหะอันท่านให้ถึงแล้ว
ในฝ่ายแห่งอนุโลม. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เตน เป็นคำ
แสดงถึงเหตุ. คำว่า วต เป็นคำแสดงถึงความเชื่อมั่น. คำว่า เร
เป็นคำสำหรับร้องเรียก. ท่านอธิบายคำว่า เตน วต เร วตฺตพฺเพ
นี้ไว้ว่า ดูก่อนเธอผู้มีหน้าอันเบิกบาน ผู้เจริญ เพราะเหตุนั้นแลข้าพเจ้า
จึงกล่าวนั่นเทียว. ข้อว่า ยํ ตตฺถ วเทสิ เป็นต้น ชื่อว่า อนุโลม-
อาโรปนา เพราะความที่นิคคหะอันท่านยกขึ้นแล้วในส่วนแห่งอนุโลม.
อนึ่ง บทว่า มิจฺฉา ในบทที่สุดแห่งอนุโลมนั้น นักศึกษาพึงนำ
คำว่า อิทนฺเต มาประกอบไว้ข้างหน้าแห่งคำว่า มิจฺฉา นั้น. ก็ใน
คำนี้ ท่านอธิบายว่า " นี้เป็นความผิดของท่าน" และข้อความนี้มีใน
พระบาลีข้างหน้านั้นแหละ. ข้อว่า โน เจ ปน วตฺตพฺเพ เป็นต้น

ชื่อว่าปฏิโลมฐปนา เพราะเป็นลักษณะแห่งการให้ถึงและการยกนิคคหะ
ขึ้นจากปฏิโลม เพราะท่านตั้งไว้ในคำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ข้อว่า โน วต เร เป็นต้น ชื่อว่าปฏิโลมปาปนา เพราะความที่
นิคคหะอันท่านให้ถึงแล้วในส่วนแห่งปฏิโลม. ข้อว่า ยํ ตตฺถ วเทสิ
เป็นต้นอีก ชื่อว่าปฏิโลมอาโรปนา เพราะท่านยกนิคคหะในฝ่ายแห่ง
ปฏิโลมขึ้น ฯ บทว่า มิจฺฉา ในที่สุดแม้นี้ ก็พึงนำคำว่า อิทนฺเต
มาไว้ข้างหน้าเหมือนกัน. ในฐานะทั้งหลายที่มีรูปอย่างนี้แม้ข้างหน้าก็
ก็นัยนี้นั่นแหละ.
บัณฑิตพึงสรุปเนื้อความจำเดิมแต่ต้นในคำว่า หญฺจิ ปุคฺคโล
ฯลฯ สจฺฉิกฏฺฐปรมฏฺเฐน
นั้น ดังต่อไปนี้ว่า
ถ้าว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะไซร้
ด้วยเหตุนั้นแลจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะนั้น. ก็ท่านกล่าวคำใดในปัญหาแรกนั่นแหละว่า ข้าพเจ้า
หยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยสัจฉิกัตถ์ปรมัตถะ แต่ในปัญหาที่ 2 ท่านไม่
กล่าวว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น
บุคคลนั้นได้ด้วยสภาวะนั้น. คำว่า อิทนฺเต มิจฺฉา ได้แก่ เป็น
การตั้ง การให้ถึง และการยกขึ้นแต่อนุโลม ดังพรรณนามาฉะนี้ก่อน.
อนึ่ง ปรวาทีไม่ได้กล่าวในปัญหาที่ 2 ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น
บุคคลนั้นได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอย่างยิ่งนั้น. แม้ในปัญหา
แรกก็ไม่ควรกล่าวรับรองเช่นกัน. ในปัญหาแรกนั่นแหละท่านกล่าวว่า

ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลด้วยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะ แต่ในปัญหาที่ 2
ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะ
นั้น ดังนี้ คำว่า อิทนฺเต มิจฺฉา ได้แก่การตั้ง การให้ถึง การ
ยกขึ้น แต่ปฏิโลมอย่างนี้.
คำว่า ย่อมหยั่งเห็น เป็นต้น ชื่อว่า อนุโลมปัญจกะ เพราะ
เป็นคำที่ท่านกล่าวถึง นิคคหะ กล่าวถึงปาปนา และอาโรปนา แต่อนุโลม
และปฏิโลม 4 รวมเป็น 5 ด้วยประการฉะนี้. ในธรรมเหล่านั้น
นิคคหะท่านทำไว้ 2 อย่าง คือ นิคคหะหนึ่งทำด้วยปาปนาและอาโร-
ปนาแต่อนุโลม นิคคหะอีกหนึ่งทำด้วยปาปนาและอาโรปนานาปฏิโลม.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นิคคหะอันหนึ่งนี้ อาศัยวาทะแรกว่า ท่านย่อม
หยั่งเห็นบุคคลได้ ในปัญหานั้นแห่งคำว่า ท่านจงรู้นิคคหะ ดังนี้
นั่นแหละแล้วจึงยกนิคคหะแรกขึ้นด้วยอาการ 2 อย่าง เพราะฉะนั้น
นิคคหะนี้ จึงชื่อว่าเป็นนิคคหะที่ 1 สำหรับนิคคหะที่ 2 นั้น ปรวาที
เป็นผู้ทำกับสกวาที เพราะอาศัยเลศนัยว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล ฯลฯ
ที่จะมีข้างหน้า.
ปุคคลกถา อนุโลมปัญจกะ จบ

ปฏิกัมมจตุกกะ


[2] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านไม่
หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม.1 หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวไว้ว่า
ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า
สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น
ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า
สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น
ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่
หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า
พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่
พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น
บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด
ปฏิกัมมจตุกกะ จบ
1. ปฏิกรรม การกระทำคืน คือ ปัดไม่รับนิคคหกรรม