เมนู

มหาวรรค


ปุคคลกถา


อนุโลมปัญจกะ


ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏฐปรมฏฺเฐน

สกวาที ถามว่า
ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถะ คือ อรรถอันเป็นจริง และปร-
มัตถะ คือ อรรถอย่างยิ่ง หรือ ?
อามนฺตา ( ปรวาที ตอบว่า ) ใช่. ปรวาทีหมายเอาอุปาทา-
บัญญัติ ซึ่งเป็นสมมติสัจจะตามลัทธิที่ท่านได้ตั้งไว้ ส่วนสกวาที มุ่ง
เอาปรมัตถสัจจะ จึงได้ซักเพื่อพิสูจน์ความเป็นปรมัตถ์ต่อไป.
สกวาทีซักว่า สภาวธรรมใดมีอรรถอันเป็นจริง มีอรรถอย่าง
ยิ่งมีอยู่ ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอย่าง
ยิ่งนั้น หรือ ? คำว่า สภาวธรรมใด มีอรรถอันเป็นจริงมีอรรถอย่าง
ยิ่ง นั้น ได้แก่ สภาวธรรม 57 ประเภท คือขันธ์ 5 อายตนะ 12
ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 และพระนิพพาน หรือสังขตธรรม และ
อสงขตธรรมเป็นต้น ธรรมเหล่านี้บัณฑิตไม่พึงถือเอาโดยสมมติสัจจะ.
ปรวาที ปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
สกวาที จึงกล่าวว่า ท่านจงรู้นิคคหะ คือการผิดพลาด หากว่า
ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะไซร้ ด้วยเหตุนั้นแหละ

ท่านพึงกล่าวว่า ภาวะใดที่เป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้า
หยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น ดังนี้ ที่ท่านกล่าวใน
ปัญหานั้น พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเป็นบุคคลด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่
ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่ง
เห็นบุคคลนั้นด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น ดังนี้ คำของท่านจึงผิด.
แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่
ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ ด้วยสัจฉิกัตถประมัตถะนั้นไซร้ ท่านก็ไม่
พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะที่ท่านกล่าว
ในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่
กล่าวว่า สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น
บุคคลนั้นโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น ดังนี้ คำของท่านจึงผิด.
อนุโลมปัญจกะ จบ

หมายเหตุ คำว่า อนุโลมปัญจกะ คือหมวด 5 แห่งอนุโลม
เป็นแบบแผนที่ท่านจะต้องดำเนินการเช่นนี้เสมอไป หรือเรียกว่า เป็น
หลัก คำโต้ตอบในลักษณะที่เรียกว่า อนุโลมปฏิโลม ดังเช่นในเรื่องนี้
ท่านได้ยกเอาเรื่องบุคคลขึ้นเป็นประธาน เช่นคำถามของสกวาทีว่า
ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ (ปัญหาแรก)
ปรวาทีตอบว่าใช่ เพราะท่านถือลัทธิฝ่ายสมมติสัจจะ ฝ่ายสกวาทีผู้ถือ
ลัทธิฝ่ายปรมัตถสัจจะเห็นว่าไม่ถูกโดยปรมัตถะอันเป็นสภาวะที่แท้จริง จึง

ซักต่อไปอีกว่า สภาวะใดมีอรรถอันเป็นจริงมีอรรถอย่างยิ่งมีอยู่ ท่าน
หยั่งเห็นบุคคลได้โดยอรรถอันเป็นจริง และอรรถอย่างยิ่งนั้นหรือ
(ปัญหาหลัง) ปรวาทีตอบปฏิเสธไปเพราะความจริงเป็นเช่นนั้น แต่
ว่าปัญหาเดียวกัน ปัญหาแรกตอบรับรอง ปัญหาหลังปฏิเสธเช่นนี้
ท่านสกวาทีพึงตำหนิ คำตำหนินี้แหละท่านเรียกว่า นิคคหะ
ดุจ
คำเขาพูดกันว่า ท่านรับรองแล้วก็กลับปฏิเสธเป็นผู้ไม่มีสัจจะ คำว่า
นิคคหะ นี้ ท่านจัดเป็นองค์หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ.
คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดย
สัจฉิกัตถปรมัตถะไซร้ เพียงเท่านี้ท่านเรียกว่า อนุโลมฐปนา คือ
การตั้งอนุโลม ท่านต้องการจะกล่าวคำนั้นไปอีกว่า ด้วยเหตุนั้นนั่น
แหละ ท่านจึงกล่าวว่า ภาวะใดที่เป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ข้าพ-
เจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น แม้คำเพียงเท่านั้น
ท่านเรียกว่า อนุโลมปาปนา คือ การให้ถึงอนุโลม คือ หมายความว่า
ให้อนุโลมคือปัญหาแรกไว้นั้นปรากฏอีก เพื่อแสดงว่า ปัญหามีเนื้อความ
อย่างเดียวกัน ปัญหาแรกตอบรับรอง ปัญหาหลังก็ต้องตอบรับรองจึง
จะถูกต้องก็คำว่า อนุโลมฐปนา และ อนุโลมปาปนา นี้ท่านจัดไว้เป็น
องค์หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ.
คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า คำที่ท่านกล่าวรับรองในปัญหาแรก
นั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ท่านไม่รับรอง
ปัญหาหลังว่า ภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้นดังนี้คำของท่านผิด คำเพียงเท่านี้
ท่านเรียกว่า อนุโลมอาโรปนา คือการยกอนุโลม เพื่อให้เห็นความ
บกพร่อง คือไม่สมเหตุสมผล ฉะนั้นคำว่า อนุโลมอาโรปนา นี้ ท่าน
ก็จัดเป็นองค์หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ.
คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า แต่ถ้าท่านไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะนั้นไซร้ เพียงเท่านี้ ท่านเรียกว่าปฏิโลมฐปนา คือการตั้ง
ปฏิโลม เพื่อต้องการจะกล่าวคำต่อไปว่า ท่านก็ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้า
หยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ และคำเพียงเท่านี้ ท่าน
เรียกว่า ปฏิโลมปาปนา คือการให้ถึงปฏิโลม หมายความว่ายกเอา
ปัญหาหลังเป็นปัญหาแรกบ้าง ถึงอย่างไรความหมายก็เป็นเช่นเดียวกัน
คำว่า ปฏิโลมฐปนา และ ปฏิโลมปาปนา นี้ ท่านจัดเป็นองค์อัน
หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ.
คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า ที่ท่านกล่าวในปัญหานี้ว่า ข้าพเจ้า
หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่กล่าวว่า สภาวะใดเป็น
สัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
นั้น คำเพียงเท่านี้ท่านเรียกว่า ปฏิโลมาโรปนา คือการยกปฏิโลม
คำว่า ปฏิโลมาโรปนา นี้ ท่านก็จัดเป็นองค์อันหนึ่งในคำว่า อนุโลม-
ปัญจกะ รวมทั้ง 5 ข้อนี้เรียกว่า อนุโลมปัญจกะ คือ หมวด 5 แห่ง
อนุโลม ดังนี้.

อนึ่ง เนื้อความใด ๆ ที่ท่านกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกโดยพิสดาร
ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวในที่นี้ทั้งหมด จะกล่าวแต่ที่เห็นว่าเหมาะสม ส่วน
เนื้อความอรรถกถาจะนำมาทั้งหมดเพื่อแนวทางค้นคว้าของผู้สนใจ
ต่อไป.

ปรมัตถทีปนี


อรรถกถาปัญจปกรณ์


อรรถกถา ปุคคลกถา


ว่าด้วยบุคคลจะกล่าวคำว่าสัจฉิกัตถะก่อน


บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลด้วยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะ
นี้ เป็นคำถาม
คำว่า " อามนฺตา " นี้ เป็นคำตอบรับรอง.
ถามว่า ก็คำถามที่กล่าวว่า " ท่านหยั่งเห็นบุคคลด้วยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ " และคำตอบรับรองที่ว่า " อามนฺตา " นี้ เป็นของใคร ?
ตอบว่า คำถามและคำตอบรับรองนี้ ใคร ๆ ไม่ควรจะกล่าวว่า
เป็นของบุคคลอื่น เพราะว่าในปกรณ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้ง
มาติกา คือ หัวข้อธรรมไว้สำหรับเป็นแบบฉบับ เพื่อชำระล้างลัทธิอัน
เห็นผิดทั้งหลายมีประการต่าง ๆ. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ท่านตั้ง
มาติกานี้ตามนัยที่พระศาสดาทรงประทานไว้ และแล้วก็จำแนกความ
ตามแบบที่พระองค์ทรงแสดงไว้นั้น. อนึ่ง วาทมรรค คือ ทางแห่งวาทะ
ที่พระศาสดาทรงแสดงแนะไว้ในปกรณ์นี้มีประมาณเท่าใด พระเถระ
ท่านมิได้แสดงวาทมรรคอันเป็นถ้อยคำที่โต้เถียงกันกับวาทะด้วยวาทะมี
ประมาณเท่านั้น ก็ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนี้ เพื่อประโยชน์แก่การ