เมนู

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ป. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว ไม่มีอยู่ในนิพพาน.
ส. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว เป็นผู้ขาดสูญ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ญาตกานุโยค จบ

อรรถกถาญาตกานุโยค


ว่าด้วยการซักถามถึงพวกญาติ


บัดนี้ คำว่า มารดา เป็นต้น เป็นการซักถามถึงพวกญาติ.
คำว่า กษัตริย์ เป็นต้น เป็นการซักถามถึงชาติ. คำว่า
คฤหัสถ์ และบรรพชิต เป็นการซักถามถึงข้อปฏิบัติ. คำว่า
เทวดาและมนุษย์ เป็นการซักถามถึงการอุบัติ. คำว่า โสดาบัน
เป็นต้น เป็นการซักถามถึงปฏิเวธ ข้อนี้ท่านกล่าวว่า เป็นการซักถาม
ถึงพระอริยะบ้าง. คำเหล่านั้นทั้งหมด มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
ก็ในคำว่า เป็นพระอรหันต์แล้ว กลับไม่เป็นพระอรหันต์
นี้ ท่านไม่กล่าวถาม เพราะเป็นโมฆปัญหา. คำว่า คู่แห่งบุรุษ 4
เป็นต้น เป็นการซักถามถึงพระสงฆ์ การซักถามแม้นั้น ก็มีเนื้อความ
ง่ายเหมือนกัน. คำว่า สังขตะ เป็นต้น เป็นการซักถามถึง
สภาพแห่งสัจฉิกัตถะ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ยังมีส่วนสุดที่ 3 นอกเหนือสังขตะ
และอสังขตะอีกหรือ ? เป็นคำถามของสกวาที คำปฏิเสธว่า ไม่พึง

กล่าวอย่างนั้น เป็นของปรวาที เพราะความไม่มีสัจฉิกัตถะเช่นนั้น.
เมื่อถูกถามซ้ำอีก ปรวาทีก็ตอบรับรองว่า ใช่ ส่วนสุดที่ 3 มีอยู่ โดย
หมายเอาบุคคลเป็นส่วนสุดที่ 3. แม้ในปัญหาว่า บุคคลก็เป็นอื่น
หรือ การปฏิเสธเป็นของปรวาทีนั้นนั่นแหละ เพราะไม่ปรารถนา
ความที่บุคคลเป็นอย่างอื่นนอกจากสังขตขันธ์ทั้งหลาย. คำว่า ขันธ์
อันเป็นสังขตะ
เป็นต้น เป็นคำอันสกวาทีแสดงสังขตะและอสังขตะ
ทั้งหลายไว้โดยย่อ เพื่อถามความเป็นอย่างอื่นแห่งบุคคล. คำถามว่า
รูปเป็นสังขตะ เป็นต้น เป็นคำที่สกวาทีแสดงขันธ์ทั้งหลายโดย
วิภาคแล้วกล่าวถามความเป็นคนละอย่างกับบุคคล. คำถามว่า ความ
เกิดขึ้นแห่งบุคคล เป็นคำถามของสกวาที คำรับรองว่า ใช่ เป็น
ของปรวาที ด้วยอำนาจแห่งพระสูตรที่ท่านกล่าวไว้ในที่ทั้งหลายมีคำว่า
สัตว์ทั้งหลายมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา
อนึ่งเมื่อยังดำรงอยู่ก็มีความตายเป็นธรรมดา
แต่ปรวาทีนั้นย่อม
ไม่ปรารถนาซึ่งความที่บุคคลเป็นสังขตธรรม ฉะนั้น จึงปฏิเสธ. ถูก
ถามโดยนัยเป็นต้นอีกว่า ความเกิดขึ้นของบุคคลย่อมปรากฏหรือ
ก็ตอบรับรองด้วยคำว่า " ขึ้นชื่อว่าความเกิดขึ้นแห่งบุคคลเป็นต้นนั้น
ย่อมไม่ควร " เพราะพระบาลีว่า ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ทุกข์
เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ด้วย ย่อมเสื่อมไปด้วย นอกจากทุกข์หาอะไร
เกิดมิได้ นอกจากทุกข์หาอะไรดับมิได้
ดังนี้.
คำถามว่า บุคคลปรินิพพานแล้ว คงมีอยู่ในพระนิพพาน
หรือ ในข้อนี้ ท่านเรียกพระนิพพานว่า อตฺถํ แปลว่า ธรรมอัน

หาที่ตั้งมิได้. ในปัญหานั้น สกวาทีถามว่า บุคคลมีอยู่ในนิพพาน
หรือ อธิบายว่า บุคคลชื่อว่าเที่ยงเพราะความที่บุคคลนั้นเป็นของมีอยู่
ในนิพพาน ชื่อว่าขาดสูญเพราะความที่บุคคลนั้นไม่มีอยู่ในนั้น ปรวาที
เมื่อไม่ปรารถนาคำว่า บุคคลเที่ยงและขาดสูญ 2 แม้นั้นจึงปฏิเสธว่า
ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
อรรถกถาญาตกานุโยค จบ

ปกิณณกะ


[177] ส. บุคคลอาศัยอะไรตั้งอยู่ ?
ป. อาศัยภพตั้งอยู่.
ส. ภพไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มี
ความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจากไป
เป็นธรรมดามีความดับไปเป็นธรรมดามีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ
จางไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น
ธรรมดา หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ
จางไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น
ธรรมดา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[178] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.