เมนู

ญาตกานุโยค


[166] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. มารดามีอยู่มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า มารดามีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง
กล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.
ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บิดามีอยู่ ฯ ล ฯ พี่น้องชายมีอยู่ พี่น้องหญิงมีอยู่
กษัตริย์มีอยู่ พราหมณ์มีอยู่ แพศย์มีอยู่ ศูทรมีอยู่ คฤหัสถ์มีอยู่ บรรพชิต
มีอยู่ เทวดามีอยู่ มนุษย์มีอยู่ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า มนุษย์มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง
กล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.
[167] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่ามารดามีอยู่ และ
ด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นมารดาแล้วเป็น
มารดามีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล
มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบิดา ฯ ล ฯ ไม่เป็น
พี่น้องชาย ไม่เป็นพี่น้องหญิง ไม่เป็นกษัตริย์ ไม่เป็นพราหมณ์ ไม่
เป็นแพศย์ ไม่เป็นศูทร ไม่เป็นคฤหัสถ์ ไม่เป็นบรรพชิต ไม่เป็น
เทวดา ไม่เป็นมนุษย์แล้วเป็นมนุษย์ มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล
มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[168 ] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า มารดามีอยู่ และ
ด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นมารดาแล้วไม่เป็น
มารดามีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคล
มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. บุคคลบางคนซึ่งเดิมเป็นบิดา เป็นพี่น้องชาย
เป็นพี่น้องหญิง เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร
เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ แล้วไม่เป็นมนุษย์
มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคล
มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[169] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลเป็นโสดาบันมีอยู่มิใช่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลเป็นโสดาบันมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ?
ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลเป็นสกทาคามีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็น
อนาคามีมีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นพระอรหันต์มีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็น
พระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุตมีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นพระขีณาสพผู้ปัญญา
วิมุตมีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นพระอริยะผู้กายสักขีมีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็น
พระอริยะผู้ทิฏฐิปัตตะมีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นพระอริยะผู้สัทธาวิมุตมีอยู่
ฯ ล ฯ บุคคลเป็นพระอริยะผู้ธัมมานุสารีมีอยู่ บุคคลเป็นพระอริยะผู้
สัทธานุสารีมีอยู่ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลเป็นพระอริยะผู้สัทธานุสารีมีอยู่
ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่าหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
[170] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลเป็นโสดาบัน
มีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นโสดาบัน แล้วเป็น
โสดาบันมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล
มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นสกทาคามี...ไม่เป็น
อนาคามี...ไม่เป็นพระอรหันต์...ไม่เป็นพระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุต...ไม่
เป็นพระขีณาสพผู้ปัญญาวิมุต...ไม่เป็นพระอริยะผู้กายสักขี...ไม่เป็นพระ-
อริยผู้ทิฏฐิปัตตะ... ไม่เป็นพระอริยะผู้สัทธาวิมุต... ไม่เป็นพระอริยะผู้
ธัมมานุสารี... ไม่เป็นพระอริยะผู้สัทธานุสารีแล้วเป็นพระอริยะผู้สัทธา-
นุสารีมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล
มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[171] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้ว บุคคลผู้โสดาบันมีอยู่
และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นโสดาบันแล้วไม่เป็น
โสดาบันมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคล
มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นสกทาคามี... เป็น
อนาคามีแล้วไม่เป็นอนาคามี มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคล แล้วไม่เป็น
บุคคลมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[172] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว
ป. อริยบุคคล 4 คู่ 8 จำพวก มีอยู่มิใช่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า อริยบุคคล 4 คู่ 8 จำพวกมีอยู่ ด้วยเหตุ
นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.
[173] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า อริยบุคคล 4 คู่
8 จำพวกมีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตละ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อริยบุคคล 4 คู่ 8 จำพวก ปรากฏขึ้นได้เพราะ
ความปรากฏขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลปรากฏขึ้นได้ เพราะความปรารถนาแห่ง
พระพุทธเจ้า หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลปรากฏขึ้นได้ เพราะความปรารถนาแห่ง
พระพุทธเจ้า หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
บุคคลขาดสูญไป บุคคลไม่มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[174] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลเป็นสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. บุคคลเป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยังมีส่วนสุดที่ 3 อื่นนอกเหนือสังขตะและอสัง-
ขตะอีก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ยังมีส่วนสุดที่ 3 อื่นนอกเหนือสังขตะและอสัง-
ขตะอีก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธาตุนี้มี 2 อย่าง 2 อย่างเป็นไฉน ธาตุเป็นสังขตะ 1 ธาตุเป็น
อสังขตะ 1 นี้แล ธาตุ 2 อย่าง ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ยังมีส่วนสุดที่ 3
อื่นนอกเหนือสังขตะและอสังขตะอีกน่ะสิ.
ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขตะเป็นอื่น อสังขตะก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็น
อื่น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ขันธ์ทั้งหลายเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ
บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ขันธ์ทั้งหลายเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคล
ก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ บุคคล
เป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เวทนา ฯ ล ฯ สัญญา ฯ ล ฯ สังขาร ฯ ล ฯ
วิญญาณเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่
เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ส. วิญญาณเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็น
อื่น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[175] ส. บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ
เมื่อตั้งอยู่มีความแปรปรวนปรากฏ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลมีสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สังขตธรรมมีสังขตลักษณะ 3 อย่างนี้ คือ สังขตธรรม


ทั้งหลาย มีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่
มีความแปรปรวนปรากฏ ดังนี้1 บุคคลก็มีความเกิดขึ้นปรากฏ ความ
เสื่อมก็ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนก็ปรากฏ ถ้าอย่างนั้น บุคคล
ก็เป็นสังขตะน่ะสิ.
ส. ความเกิดขึ้นแห่งบุคคลไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่
ปรากฏเมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนไม่ปรากฏหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลเป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อสังขตธรรมมีอสังขตลักษณะ 3 อย่างนี้ คือ ความ
เกิดขึ้นแห่งอสังขตธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่ปรากฏ
เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรวนไม่ปรากฏ
ดังนี้2 ความเกิดขึ้นแห่งบุคคล
ก็ไม่ปรากฏ ความเสื่อมก็ไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนก็ไม่
ปรากฏ ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เป็นอสังขตะน่ะสิ.
[176] ส. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว คงมีอยู่ในนิพพาน หรือ
ไม่มีอยู่ในนิพพาน ?
ป. คงมีอยู่ในนิพพาน.
ส. บุคคลผู้ปรินิพพาน เป็นผู้เที่ยง หรือ ?
1. องฺ. ติก. 20/486.
2. องฺ. ติก. 20/487.

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ป. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว ไม่มีอยู่ในนิพพาน.
ส. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว เป็นผู้ขาดสูญ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ญาตกานุโยค จบ

อรรถกถาญาตกานุโยค


ว่าด้วยการซักถามถึงพวกญาติ


บัดนี้ คำว่า มารดา เป็นต้น เป็นการซักถามถึงพวกญาติ.
คำว่า กษัตริย์ เป็นต้น เป็นการซักถามถึงชาติ. คำว่า
คฤหัสถ์ และบรรพชิต เป็นการซักถามถึงข้อปฏิบัติ. คำว่า
เทวดาและมนุษย์ เป็นการซักถามถึงการอุบัติ. คำว่า โสดาบัน
เป็นต้น เป็นการซักถามถึงปฏิเวธ ข้อนี้ท่านกล่าวว่า เป็นการซักถาม
ถึงพระอริยะบ้าง. คำเหล่านั้นทั้งหมด มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
ก็ในคำว่า เป็นพระอรหันต์แล้ว กลับไม่เป็นพระอรหันต์
นี้ ท่านไม่กล่าวถาม เพราะเป็นโมฆปัญหา. คำว่า คู่แห่งบุรุษ 4
เป็นต้น เป็นการซักถามถึงพระสงฆ์ การซักถามแม้นั้น ก็มีเนื้อความ
ง่ายเหมือนกัน. คำว่า สังขตะ เป็นต้น เป็นการซักถามถึง
สภาพแห่งสัจฉิกัตถะ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ยังมีส่วนสุดที่ 3 นอกเหนือสังขตะ
และอสังขตะอีกหรือ ? เป็นคำถามของสกวาที คำปฏิเสธว่า ไม่พึง