เมนู

ส. เพราะมหาปฐพีมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะมหาสมุทร
มีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะขุนเขาสิเนรุมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะน้ำมีอยู่ ฯลฯ เพราะ
ไฟมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะลมมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า
มีอยู่ ฉะนั้นผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่ารอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึง
มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิบากเป็นอื่นบุคคลผู้เสวยวิบากก็เป็นอื่น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ คำที่เหลือท่านย่อไว้.
กัลยาณวรรค จบ

อรรถกถาปุริสการานุโยค


ว่าด้วยการซักถามการกระทำของบุคคล


บัดนี้ เป็นการซักถามถึงการทำของบุคคล ในปัญหานั้น คำ
ถามด้วยลัทธิว่า เมื่อกรรมมีอยู่ แม้ผู้ทำกรรมนั้นก็ต้องมีแน่นอน
ดังนี้ เป็นของปรวาที. คำตอบรับรองว่าใช่ เป็นของพระสกวาที เพราะ
ความที่กรรมทั้งหลายเช่นนั้นมีอยู่. คำถามอีกว่า ผู้ทำ ผู้ให้ทำกรรม
เป็นของสกวาที. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ผู้ทำ ได้แก่ ผู้ทำกรรม
ทั้งหลายเหล่านั้น. คำว่า ผู้ให้ทำกรรม ได้แก่ ผู้ให้ทำกรรมด้วย
อุบายทั้งหลาย มีการสั่งสมและการแสดงให้ทราบ เป็นต้น.

ในบัดนี้ ปรวาทีหมายเอาบุคคลจึงถามถึง ผู้ทำ ไม่ถามเหตุ
สักว่าการกระทำ เพราะฉะนั้นสกวาทีจึงตอบปฏิเสธ. ในคำนี้ว่า. ผู้ทำ
ผู้ให้ทำกรรมนั้น
อธิบายว่า สกวาทีถามว่า ถ้าว่า ท่านหยั่งเห็นกรรม
ใด ๆ ท่านก็หยั่งเห็นบุคคลผู้ทำกรรมนั้นๆ ย่อมหยั่งเห็นบุคคลตามลัทธิ
ของท่านนั่นแหละ ก็ท่านหยั่งเห็นบุคคลอื่นผู้ทำด้วย ผู้ให้ทำกรรมนั้น
ด้วยหรือ ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ เพราะกลัวจะ
ถูกกล่าวหาว่าเป็นลัทธิแห่งพระเจ้าสร้างโลก. เมื่อถามซ้ำอีก ปรวาที
ก็ตอบรับรองเพราะหมายเอาเนื้อความนี้ว่า มารดาบิดาย่อมให้บุคคล
เกิด ย่อมตั้งชื่อ ย่อมเลี้ยงดู เพราะฉะนั้น มารดาบิดาเหล่านั้น จึง
ชื่อว่า ผู้ทำ ส่วนกัลยาณมิตรหรืออาจารย์เหล่าใดย่อมให้ศิษย์ศึกษา
วิชาการ และเรียนศิลปะทั้งหลายนั้น ๆ กัลยาณมิตรหรืออาจารย์เหล่า
นั้นชื่อว่า ผู้ให้ทำ ดังนี้. ท่านอธิบายว่า กรรมเก่าเท่านั้นท่าน
ประสงค์เอาว่า เป็นผู้ทำเป็นผู้ให้ทำกรรมนั้น ๆ ท่านกล่าวคำนี้ว่า ถ้า
ว่า ผู้ทำของผู้ทำกรรมทั้งหลายมีอยู่ไซร้ ผู้ทำแม้แก่ผู้นั้นต่อ ๆ กันมาก็
มีอยู่นั่นแหละ ด้วยคำนี้ว่า แก่บุคคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้ ครั้น
เมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ บุคคลผู้เกิดก่อน ๆ ก็พึงทำบุคคลผู้เกิดภาย
หลังโดยแท้ ๆ แม้ด้วยคำนี้ บุคคลผู้ทำกรรมเหล่านั้น พึงทำบุคคลอื่น ๆ
ต่อไป. แม้บุคคลนั้นก็พึงทำบุคคลอื่น ๆ. สกวาทีถามว่า นิพพานใด
คือการทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดวัฏฏะไม่มี ความดับรอบอันไม่มี
ปัจจัยก็ไม่มี นิพพานนั้นไม่มี แก่บุคคลนั้น ๆ เพราะความไม่มีปัจจัย
เพราะความไม่มีทุกข์อื่นเนื่องด้วยปัจจัยหรือ ? อีกอย่างหนึ่ง คำว่า แก่

บุคคลนั้น ๆ นั่นแหละ อธิบายว่า ถ้าว่า ความสืบเนื่องกันมาของ
บุคคลมีอยู่อย่างนี้ว่า กรรมสักว่าการกระทำไม่มี มีแต่บุคคลผู้ทำบุคคล
แม้นั้นๆ ต่อ ๆ กันมา ดังนี้ ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ การกล่าวว่า
การทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์เพราะเหตุอันไม่ให้ความเป็นไปแห่งกัมมวัฏฏะอัน
ใดนี้นั้น ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น ๆ ดังนี้. ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาคำนั้น
จึงปฏิเสธ. คำว่า ผู้ทำ ผู้ให้ทำ ในคำถามแห่งผู้ทำทั้งหลายตาม
คำสามัญที่หยั่งเห็นได้ แม้ในปัญหาอื่นอีกจากนี้ ท่านก็หมายเอาเฉพาะ
บุคคลเท่านั้น มิได้กล่าวมุ่งหมายเอาปัจจัยทั้งหลายเลย. แท้จริงปัจจัย
แห่งสิ่งทั้งปวง เช่น มหาปฐพี เป็นต้นจะไม่มีก็หามิได้.
ปัญหาที่สกวาทีถามว่า ผู้ทำกรรมดีกรรมชั่วทั้งหลาย ก็เป็นอื่น
หรือ ปัญหานั้นปรวาทีตอบปฏิเสธแล้ว เพราะกลัวเป็นทิฏฐิว่า บุคคล
มีสังขาร หรือ มีอัตตา เป็นต้น.
คำเป็นต้นว่า ท่านหยั่งเห็นวิบากหรือ เป็นต้น ท่านกล่าว
เพื่อทำลายลัทธิผู้แสดงบุคคล ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เสวยวิบาก.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ผู้เสวยวิบาก เป็นคำซักถามของปรวาที.
คำปฏิเสธเป็นของสกวาที เพราะความไม่มีผู้เสวยอื่นนอกจากความเป็น
ไปแห่งวิบาก. คำถามอีกเป็นของสกวาที คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำว่า บุคคลเป็นผู้เสวยวิบากนั้น ได้แก่ ผู้เสวยของวิบากนั้น ๆ
ก็วิบาก ชื่อว่า พึงเสวย บุคคลมิใช่วิบาก ฉะนั้นปรวาทีจึงปฏิเสธว่า
ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้เสวย. ถูกสกวาทีถามซ้ำอีก ก็ตอบรับรองว่า

บุคคลเป็นผู้เสวยวิบาก เพราะความตั้งอยู่ในผลแห่งบุญ โดยหมายเอา
มารดาที่ปล่อยวางสละบุตร หรือภรรยาที่ปล่อยวางสละสามีเป็นผู้เสวย
วิบาก ซึ่งเป็นการเสวยบุคคลเช่นนั้น. คำถามว่า การทำซึ่งที่สุดแห่ง
ทุกข์ไม่มี ฯ ล ฯ ก็บุคคลนั้น ๆ อธิบายว่า ถ้าว่า ความสืบเนื่องกัน
ของบุคคลเป็นมาอย่างนี้ว่า วิบากที่สักแต่ความเป็นวิบากไม่มี มีแต่
บุคคลเป็นผู้เสวยผลแห่งกรรมนั้น ๆ ต่อ กันมา ดังนี้ไซร้ ครั้นเมื่อ
ความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ การกล่าวว่า การทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์โดยเหตุ
อันไม่เป็นไปแห่งวิปากวัฏนี้นั้น ก็ย่อมไม่มีดังนี้. ต่อจากนั้น พึงทราบ
เนื้อความในคำถามถึงผู้เสวยด้วยคำอันเป็นธรรมดาที่ว่า ท่านหยั่งเห็น
ได้ ข้างหน้านี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ปัญหาที่สกวาที ถามว่า บุคคลเสวยวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่ว
ก็เป็นอื่นหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวแต่ลัทธิอันเห็นผิดว่า
บุคคลมีเวทนา หรือบุคคลมีอัตตา. คำว่า สุขอันเป็นทิพย์ เป็นต้น
เป็นคำอันปรวาทีเริ่มจำแนกผลแห่งกรรมดี และกรรมชั่วด้วยสามารถ
แห่งลัทธิ. คำนั้นทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่น
แหละ. อนึ่ง ในคำถามที่ปรวาทีถามว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุข
อันเป็นทิพย์หรือ นี้ พึงทราบว่า สกวาทีตอบปฏิเสธว่าบุคคลไม่เป็น
ผู้เสวยเท่านั้น ไม่ปฏิเสธวิปากขันธ์ที่เสวยสุขอันเป็นทิพย์. จริงอยู่ ความ
เกิดขึ้นแห่งวิบากทั้งหลายที่ผู้ทำกรรมฐานทั้งหลาย กระทำมหาปฐพีเป็น
ต้นให้เป็นอารมณ์แล้วเสวยผล ย่อมเป็นการสำเร็จที่เปรียบไม่ได้.
คำว่า ผู้ทำ ผู้ให้ทำเป็นผู้เสวยผลแห่งกรรมดีกรรมชั่ว เป็นต้น เป็น

คำที่ท่านกล่าวปรารภนัยที่เจือกัน คือมีทั้งบัญญัติและปรมัตถะ.
ในคำเหล่านั้น คำว่า บุคคลนั้นกระทำ เป็นคำซักถามของ
สกวาทีว่า ท่านกล่าวว่าบุคคลผู้ทำกรรมใด และผู้เสวยกรรมใด บุคคล
นั้นนั่นแหละกระทำ บุคคลนั้นเองเป็นผู้เสวยหรือ ? คำปฏิเสธเป็น
ของปรวาที เพราะกลัวผิดจากพระสูตร ฯ ถูกถามอีก ก็ตอบรับรองด้วย
สามารถแห่งพระสูตรว่า บุคคลย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้ว
ย่อมบันเทิงในโลกหน้า เป็นต้น ดังนี้ ลำดับนั้น สกวาทีเมื่อจะ
ปฏิเสธโอกาสคำที่จะกล่าวของปรวาทีนั้น จึงกล่าวคำว่า สุขทุกข์อัน
ตนทำเองหรือ ในคำเหล่านั้น คำว่า ผู้อื่นกระทำ สกวาทีกล่าว
ด้วยสามารถแห่งความเป็นอื่นแห่งผู้ทำและผู้เสวย. จากนั้น ปรวาทีจึง
ปฏิเสธโอกาสที่จะพูดเพราะกลัวผิดพระสูตร. ถูกถามอีก เมื่อมีความ
สำคัญว่า บุคคลผู้เกิดเป็นมนุษย์แล้วเกิดเป็นเทวดาแล้วย่อมเสวย ดังนี้
จึงตอบรับรอง. ก็ถูกถามด้วยสามารถแห่งวาทะอย่างนี้ว่า สุขและทุกข์
อันบุคคลอื่นทำแล้วย่อมปรากฏหรือ ดังนี้ ก็ปฏิเสธอีก. คำว่า บุคคล
นั้นทำ บุคคลอื่นเสวย สกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่งคำถามถึงความ
เป็นบุคคลคนเดียวกัน และความเป็นแห่งบุคคลอื่นของผู้ทำและผู้เสวย.
ลำดับนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากพระสูตร ถูกถามอีก ก็
ตอบรับรองเพราะรวมนัยแม้ทั้ง 2 ก่อน ๆ เข้าด้วยกัน. ก็ถูกถามด้วย
สามารถแห่งปัญหานั้นของผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า สุขทุกข์อันตนเองทำ
ด้วย อันบุคคลอื่นทำด้วยย่อมปรากฏหรือ ก็ตอบปฏิเสธอีก. คำว่า
ไม่ใช่ผู้อื่นทำ เป็นคำอันสกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่งการปฏิเสธใน

ความเป็นบุคคลคนเดียวกันทำ หรือผู้อื่นทำของผู้ทำและผู้เสวย. ลำดับ
นั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยสามารถแห่งคำที่ผิดจากพระสูตรนั่นเทียว
ถูกถามอีก เมื่อมีความสำคัญอยู่ว่า มนุษย์ทำกรรมไว้ เพราะการเกิด
ขึ้นในเทวโลก มนุษย์นั้นจึงไม่ได้เสวย ผู้ใดทำกรรมใดไว้ ผู้อื่นเสวย
ก็หาไม่ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นนั่นแหละจึงมิใช่ผู้เสวยเพราะเป็นผู้
กระทำ ทั้งบุคคลอื่นก็มิได้เสวย ดังนี้ จึงตอบรับรอง. คำนั้นสักว่า
เป็นลัทธิเท่านั้น. ถูกถามด้วยสามารถแห่งปัญหานั้นของผู้มีวาทะอย่าง
นั้นว่า ก็สุขทุกข์ อันมิใช่การกระทำของตน มิใช่การกะทำของผู้อื่น
เกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุย่อมปรากฏหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธอีก. อีก
อย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในมิสสกนัยนี้จำเดิมแต่ต้น ด้วย
นัยแม้นี้. จริงอยู่ ผู้มีวาทะว่าบุคคลมีอยู่นี้ ย่อมปรารถนาบุคคลผู้ทำ
กรรมทั้งหลายด้วย บุคคลผู้เสวยด้วย เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงปรากฏอย่าง
นี้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ทำกรรม ผู้นั้นเท่านั้นพึงเป็นผู้เสวย หรือผู้อื่นเสวย
หรือแม้ทั้ง 2 เป็นผู้เสวย หรือว่าแม้ทั้ง 2 ไม่พึงเป็นผู้เสวย ดังนี้.
สกวาทีถามประกอบคำซักถามปัญหาอันปรากฏอย่างนี้นั่นแหละแล้วจึง
กล่าวถึงปัญหาที่ควรถามแม้ทั้ง 4 อย่าง มีคำว่า ไม่ใช่บุคคลนั้นเป็น
ผู้ทำ เป็นต้น. คำที่เหลือ มีประการดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเทียว. ก็ใน
ที่สุด ได้ถามปัญหาแม้ทั้ง 4 รวมกัน. ในปัญหานั้นการปฏิเสธ การ
ตอบรับรอง และการถึงโทษมีคำว่า กระทำเองเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ
โดยนัยก่อนนั่นแหละ. เบื้องหน้าแต่นี้ นัยที่กล่าวแล้วในหนหลังไม่ได้
กล่าวคำว่า กรรมดีและกรรมชั่ว ท่านแสดงปัญหาที่ควรกำหนดไว้

เป็นต้น กรรมมีอยู่เท่านั้น. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งธรรม
ทั้งหลายแม้เหล่านั้น ด้วยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
อรรถกถาปุริสการานุโยค จบ
คำว่า แม้กัลยาณวรรค ดังนี้ เป็นชื่อของปุริสการานุโยคนั้น
นั่นแล.

อภิญญานุโยค


[165] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลบางคนที่แสดงฤทธิ์ได้ก็มีอยู่มิใช่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลบางคนที่แสดงฤทธิ์ได้มีอยู่ ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.
ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลบางคนที่ฟังเสียงด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์
ได้ ฯ ล ฯ ที่รู้จิตของบุคคลอื่นได้ ฯ ล ฯ ที่ตามระลึกชาติหนหลังได้ ฯ ล ฯ
ที่เห็นรูปด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ได้ ฯ ล ฯ ที่ทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่ง
อาสวะได้ มีอยู่มิใช่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลบางคนที่ทำให้แจ้งซึ่งความสิ้น
ไปแห่งอาสาวะได้มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคล
ได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.
ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่
แสดงฤทธิ์ได้มีอยู่ และด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-