เมนู

กุสโลบายการคัดเลือกลัทธิที่เป็นธรรมวาที


พระราชาผู้มีลัทธิที่ทรงศึกษาเสร็จแล้ว ก็รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์
ทั้งหลายมาประชุมกันในอโศการามในวันที่ 7. แล้วทรงรับสั่งให้กั้นม่าน
เป็นกำแพงรอบด้าน และทรงประทับนั่งภายในกำแพงม่าน ทรงให้
รวมภิกษุทั้งหลายผู้มีลัทธิอย่างเดียวกันให้อยู่เป็นพวก ๆ และรับสั่งให้
ภิกษุเข้าไปเฝ้าทีละพวก ๆ แล้วรับสั่งถามว่า ภนฺเต กึวาที สมฺมา-
สมฺพุทฺโธ
แปลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวาทะอย่างไร ?
ลำดับนั้น พวกสัสสตวาที คือ ผู้มีวาทะว่า อัตตาและโลกเที่ยง
ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีวาทะว่า อัตตาและโลกเที่ยง.
พวก เอกัจจสัสสตทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า บางอย่าง
เที่ยง ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีวาทะว่า เที่ยงแต่บางอย่าง.
พวก อันตานันติกทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า โลกมีที่สุด
ก็มี ไม่มีที่สุดก็มี ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า
โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด.
พวก อมราวิกเขปิกาทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า มีวาทะดิ้น
ได้ไม่ตายตัว ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะดิ้นได้ไม่
ตายตัว.
พวก อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตา
และโลกเกิดขึ้นเอง ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า
อัตตาและโลกเกิดขึ้นเอง.

พวก สัญญีวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตามีสัญญา ก็
ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า อัตตามีสัญญา.
พวก อสัญญีวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตาไม่มีสัญญา
ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า อัตตาไม่มีสัญญา.
พวก เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตา
มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมีวาทะว่า อัตตามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่.
พวก อุจเฉทวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า ขาดสูญ ก็ทูลว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า ขาดสูญ.
พวก ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า นิพ-
พานมีในทิฏฐธรรม ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า
นิพพานมีในทิฏฐธรรม. พวกที่มีวาทะว่า นิพพานมีในทิฏฐธรรม
หรือ นิพพานปัจจุบันนี้ พวกเขาย่อมบัญญัติศัพท์ว่า นิพพานปัจจุบัน
เป็นธรรมอย่างยิ่ง ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ:-
1. สมณะ หรือ พราหมณ์บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตตภาพนี้ต้อง
บริบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้ง 5 จึงบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็น
ธรรมอย่างยิ่งได้.
2. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุปฐมฌาน จึงบรรลุ
นิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.

3. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุทุติยฌาน จึงบรรลุ
นิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.
4. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุตติยฌาน จึงบรรลุ
นิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.
5. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีสุข
และทุกข์มีแต่อุเบกขา อันเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ จึงบรรลุนิพพาน
ปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.
พระราชาทรงทราบว่า " พวกนี้ เป็นอัญญเดียรถีย์ไม่ใช่พระ-
ภิกษุ" เพราะพระองค์ได้ทรงศึกษาลัทธิมาก่อนนั่นแหละ จึงทรงพระ-
ราชทานผ้าขาวแก่พวกเดียรถีย์เหล่านั้นให้สึกไปเสีย. อัญญเดียรถีย์
ทั้งหมดที่สึกออกไปมีถึง 60,000 คน.
พระราชารับสั่งให้ภิกษุพวกอื่นเข้าเฝ้า แล้วรับสั่งถามว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะอย่างไร ? ขอถวาย
พระพร พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นวิภัชชวาที เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาจึงตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชชวาทีหรือ ? พระเถระทูลว่า
ใช่แล้ว มหาบพิตร.
ลำดับนั้น พระราชารับสั่งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ พระ-
ศาสนาบริสุทธิ์แล้ว ขอภิกษุสงฆ์จงทำอุโบสถเถิด ทรงพระราชทาน
อารักขาแล้วเสด็จเข้าสู่พระนคร. พระสงฆ์ได้พร้อมเพรียงประชุมกัน

ทำอุโบสถแล้ว. ในสันนิบาตนั้นได้มีภิกษุสงฆ์ถึง 6,000,000 รูป.

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ แสดงกถาวัตถุ


พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เมื่อจะห้ามวัตถุทั้งหลายที่เกิดขึ้น
แล้วในครั้งนั้นและเรื่องที่จะเกิดขึ้นในกาลต่อไป จึงจำแนกมาติกาที่
พระตถาคตทรงตั้งไว้แล้ว ด้วยสามารถแห่งนัย ที่พระศาสนาทรงประ-
ทานไว้ แล้วก็นำพระสูตร 1,000 คือ พระสูตร 500 สูตร สำหรับ
สกวาทะ คือ วาทะของตน และพระสูตร 500 สูตร สำหรับปรวาทะ
คือ วาทะของผู้อื่น แล้วได้ภาษิตกถาวัตถุปกรณ์ ซึ่งมีลักษณะอันกว้าง
ใหญ่ไพศาล ย่ำยีปรัปปวาทะ คือ การโต้แย้ง หรือการขัดแย้งของผู้
อื่น นี้ในสมาคมนั้น.
ลำดับนั้น ท่านได้คัดเลือกเอาภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ผู้ทรงปริยัติ
คือ พระไตรปิฎกและผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณ จำนวน 1,000 รูป
ในจำนวนภิกษุ 6,000,000 รูป กระทำตติยสังคีติ คือการร้อยกรอง
พระธรรมวินัยครั้งที่ 3 ชำระล้างมลทินในพระศาสนาเหมือนกับ พระ-
มหากัสสปเถระ และพระยศเถระสังคายนาพระธรรมวินัย ฉันนั้น.
ในปิฎกทั้ง 3 นั้น เมื่อท่านสังคายนาพระอภิธรรมปิฎก ท่าน
ได้ยกกถาวัตถุปกรณ์นี้ขึ้นสงเคราะห์ ตามที่ท่านได้ภาษิตไว้แล้ว.
เตน วุตฺตํ ด้วยเหตุนั้น พระคันถรจนาจารย์ จึงกล่าวไว้ว่า:-