เมนู

อุปาทาปัญญัตตานุโยค


[92] ส. เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มี
ความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไป
เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถึงบุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิด
ขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ
คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น
ธรรมดา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยเวทนา ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัญญา ฯ ล ฯ
เพราะอาศัยสังขาร ฯ ล ฯ เพราะอาศัยวิญญาณ
จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิญญาณไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลาย

ไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิด
ขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ
คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น
ธรรมดา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[93] ส. เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยรูปเขียวจึงบัญญัติบุคคลเขียวขึ้นหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยรูปเหลือง ฯ ล ฯ เพราะอาศัยรูปแดง
ฯ ล ฯ เพราะอาศัยรูปขาว ฯ ล ฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นได้ ฯ ล ฯ เพราะ
อาศัยรูปที่เห็นไม่ได้ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยรูปที่กระทบไม่ได้ ฯ ล ฯ จึงบัญญัติ
บุคคลที่กระทบไม่ได้ขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[94] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น
กุศลขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น
กุศลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาเป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา
มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลน่า
ปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[95] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น
อกุศลขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น
อกุศลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาเป็นอกุศล มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า
ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร
ทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลเป็นอกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า
ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร
มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[96] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคล
เป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคล
เป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาเป็นอัพยากฤต ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไป
เป็นธรรมดา หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถึงบุคคลเป็นอัพยากฤต ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี
ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยสัญญา ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯ ล ฯ
เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น
กุศลขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น
กุศลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิญญาณเป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา
มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลน่า
ปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[97] ส. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคล
เป็นอกุศลขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคล
เป็นอกุศลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิญญาณเป็นอกุศล มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า
ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร
มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า
ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร
มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[98] ส. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติ
บุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยวิญญาณเห็นอัพยากฤต จึงบัญญัติ
บุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิญญาณเป็นอัพยากฤต ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี
ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถึงบุคคลเป็นอัพยากฤต ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี
ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[99] ส. เพราะอาศัยจักษุพึงกล่าวว่า บุคคลมีจักษุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อจักษุดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีจักษุดับ
ไปแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เพราะอาศัยโสตะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยฆานะ ฯ ล ฯ
เพราะอาศัยชิวหา ฯ ล ฯ เพราะอาศัยกาย ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมโน ฯ ล ฯ
พึงกล่าวว่า บุคคลมีมโน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อมโนดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีมโนดับ
ไปแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[100] ส. เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น
มิจฉาทิฏฐิ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อมิจฉาทิฏฐิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น
มิจฉาทิฏฐิดับไปแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวว่าอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[101] ส. เพราะอาศัยมิจฉาสังกัปปะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัย
มิจฉาวาจา ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมิจฉากัมมันตะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมิจ-
ฉาอาชีวะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมิจฉาวายามะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมิจฉา-
สติ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมิจฉาสมาธิ ฯ ล ฯ พึงกล่าวว่า บุคคลมีมิจฉา-
สมาธิ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อมิจฉาสมาธิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมี
มิจฉาสมาธิดับไปแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[102] ส. เพราะอาศัยสัมมาทิฏฐิ พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น
สัมมาทิฏฐิ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อสัมมาทิฏฐิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น
สัมมาทิฏฐิดับไปแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยสัมมาสังกัปปะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัย
สัมมาวาจา ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัมมากัมมันตะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัม-
มาอาชีวะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัมมาวายามะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัมมา-
สติ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัมมาสมาธิ ฯ ล ฯ พึงกล่าวว่า บุคคลมีสัมมา-
สมาธิ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อสัมมาสมาธิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมี
สัมมาสมาธิดับไปแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[103] ส. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติ
บุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยขันธ์ 2 จึงบัญญัติบุคคล 2 คนขึ้น
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา เพราะอาศัย
สัญญา เพราะอาศัยสังขาร เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยขันธ์ 5 จึงบัญญัติบุคคล 5 ขึ้นหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[104] ส. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตะ จึง
บัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยอายตนะ 2 จึงบัญญัติบุคคล 2 ขึ้น
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[105] ส. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ
ฯ ล ฯ เพราะอาศัยธัมมายตนะ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยอายตนะ 12 จึงบัญญัติบุคคล 12
ขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[106] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ จึง
บัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยธาตุ 2 จึงบัญญัติบุคคล 2 ขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[107] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ ฯ ล ฯ
เพราะอาศัยธัมธาตุ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยธาตุ 18 จึงบัญญัติบุคคล 18 ชิ้น
หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[108] ส. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์
จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยอินทรีย์ 2 จึงบัญญัติบุคคล 2 ขึ้น
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[109] ส. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์
ฯ ล ฯ เพราะอาศัยอัญญาตาวินทรีย์ จึงบัญญัติ
บุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยอินทรีย์ 22 จึงบัญญัติบุคคล 22
ขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[110] ส. เพราะอาศัยเอกโวการภพ คือ ภพแห่งสัตว์มีขันธ์
หนึ่ง จึงบัญญัติบุคคลหนึ่งขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยจตุโวการภพ คือภพแห่งสัตว์มีขันธ์ 4
จึงบัญญัติบุคคล 4 ขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[111] ส. เพราะอาศัยเอกโวการภพ จึงบัญญัติบุคคลหนึ่ง
ขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยปัญจโวการภพ คือภพแห่งสัตว์มีขันธ์
5 จึงบัญญัติบุคคล 5 ขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[112] ส. ในเอกโวการภพ มีบุคคลเพียงหนึ่ง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในจตุโวการภพ มีบุคคลเพียง 5 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[113] ส. ในเอกโวการภพ มีบุคคลเพียงหนึ่ง 5 หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในปัญจโวการภพ มีบุคคลเพียง 5 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[114] ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น ฉันใด
ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ เพราะอาศัย
ต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น แม้ต้นไม้ก็ไม่เที่ยง แม้เงาไม้ก็ไม่เที่ยง
ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลขึ้น แม้รูปก็ไม่
เที่ยง แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น ต้นไม้
เป็นอื่น เงาไม้ก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึง
บัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เพราะอาศัยบ้าน จึงบัญญัติชาวบ้านขึ้น ฉันใด
ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ส. เพราะอาศัยบ้าน จึงบัญญัติชาวบ้านขึ้น บ้านเป็น
อื่น ชาวบ้านก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึง
บัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เพราะอาศัยรัฐ จึงบัญญัติราชาขึ้น ฉันใด ฉันนั้น
แหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ส. เพราะอาศัยรัฐ จึงบัญญัติราชาขึ้น รัฐเป็นอื่น
ราชาก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคล
ขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ตรวน ไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น
ต่างหาก ชื่อว่า ผู้ถูกจำตรวน ฉันใด ฉันนั้นแหละ รูปไม่ใช่ผู้มีรูป
รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้มีรูป หรือ ?

ส. ตรวน ไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น
ต่างหากชื่อว่า ผู้ถูกจำตรวน ตรวนเป็นอื่น ผู้ถูกจำตรวนก็เป็นอื่น
ฉันใด ฉันนั้นแหละ รูปไม่ใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า
ผู้มีรูป รูปเป็นอื่น ผู้มีรูปก็เป็นอื่น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[115] ส. บัญญัติบุคคลขึ้นในเพราะจิตแต่ละดวง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลในเพราะจิตแต่ละดวง ย่อมเกิด แก่ ตาย
จุติ และอุปบัติ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น
หรือว่าบุคคลอื่น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า เด็กชาย
หรือว่าเด็กหญิง หรือ ?
ป. พึงกล่าวได้.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิด
ขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นหรือว่าบุคคลอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่าน
จึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าเด็กชาย หรือว่า
เด็กหญิง, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ 2

เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่า
เด็กชาย หรือว่าเด็กหญิง ดังนี้ ผิด, ก็หรือหากว่า เมื่อจิตดวงที่ 2
เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าเด็กชายหรือว่าเด็กหญิง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง
ต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าบุคคลนั้นหรือว่า
บุคคลอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ 2
เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นหรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวว่าเด็ก
ชายหรือเด็กหญิงดังนี้ ผิด.
[116] ส. เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น
หรือว่าบุคคลอื่น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าสตรี หรือ
ว่าบุรุษ... ว่าคฤหัสถ์ หรือว่าบรรพชิต... ว่า
เทวดา หรือว่ามนุษย์ หรือ ?
ป. พึงกล่าวได้.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิด
ขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น หรือบุคคลอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง
ต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าเทวดา หรือว่า
มนุษย์. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น ไม่พึง
กล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่า
มนุษย์ดังนี้ ผิด, ก็หรือหากว่า เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น พึงกล่าวได้

ว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิต
ดวงที่ 2 เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น, ที่ท่าน
กล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น ไม่พึง
กล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่า
มนุษย์ ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
[117] ป. ไม่พึงกล่าวว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด พึง
กล่าวได้ว่า บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วย
จักษุนั้นมิใช่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด
พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วยจักษุนั้น ด้วย
เห็นนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ.
[118] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลใดฟัง ฯ ล ฯ บุคคลใดดม ฯ ล ฯ บุคคลใดลิ้ม
ฯ ล ฯ บุคคลใดถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดรู้ รู้ธัมมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด
พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นรู้ รู้ธัมมารมณ์ รู้ด้วยมโนนั้น มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลใดรู้ รู้ธัมมารมณ์ใด รู้ด้วยมโน
ใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นรู้ รู้ธัมมารมณ์นั้น ด้วยมโนนั้น ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ.
[119] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลใดมิได้เห็น มิได้เห็นรูปใด มิได้เห็นด้วย
จักษุใด ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้นเห็น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นรูปนั้น ไม่พึง
กล่าวว่าเห็นด้วยจักษุนั้น มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลใดมิได้เห็น มิได้เห็นรูปใด มิได้
เห็นด้วยจักษุใด ไม่พึงกล่าวบุคคลนั้นเห็น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นรูปนั้น
ไม่พึงกล่าวว่าเห็นด้วยจักษุนั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.
[120] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลใดมิได้ฟัง ฯ ล ฯ บุคคลใดมิได้ดม ฯ ล ฯ
บุคคลใดมิได้ลิ้ม ฯ ล ฯ บุคคลใดมิได้ถูกต้อง ฯ ล ฯ บุคคลใดมิได้รู้
มิได้รู้ธัมมารมณ์ใด มิได้รู้ด้วยมโนใด ไม่พึงกล่าวบุคคลนั้นรู้ ไม่พึง
กล่าวว่ารู้ธัมมารมณ์นั้น ไม่พึงกล่าวว่ารู้ด้วยมโนนั้น มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลใดมิได้รู้ มิได้รู้ธัมมารมณ์ใด มิ
ได้รู้ด้วยมโนใด ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้นรู้ไม่พึงกล่าวว่ารู้ธัมมารมณ์นั้น
ไม่พึงกล่าวว่ารู้ด้วยมโนนั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.
[121] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ อุปบัติอยู่ เลวบ้าง ประ-
ณีตบ้าง มีพรรณะงามบ้าง มีพรรณะทรามบ้าง เป็นสุคติบ้าง
เป็นทุคติบ้าง ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ
มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม1
ดังนี้ เป็น
สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
1. ม.ม. 13/756.

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะน่ะสิ.
ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ อุปบัติอยู่
เลวบ้าง ประณีตบ้าง มีพรรณะงามบ้าง มีพรรณะทรามบ้าง เป็นสุคติ
บ้าง เป็นทุคติบ้าง ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ
มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม ดังนี้ ด้วยเหตุ
นั้นแหละ ท่านจึงหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล
ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ
มนุษย์.
ป. ทรงเห็นรูป.
ส. รูปคือบุคคล รูปจุติ รูปอุบัติ รูปเป็นไปตาม
กรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล
ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ
มนุษย์.
ป. ทรงเห็นบุคคล.

ส. บุคคล คือรูป คือรูปายนะ คือรูปธาตุ คือสีเขียว
คือสีเหลือง คือสีแดง คือสีขาว คือสิ่งที่รู้ได้ด้วยจักษุ กระทบมีจักษุ
มาสู่คลองจักษุ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล
ด้วยจักษุเพียงทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์.
ป. ทรงเห็นทั้งสองอย่าง.
ส. ทั้งสองอย่างคือรูป คือรูปายตนะ คือรูปธาตุ ทั้ง
สองอย่างคือสีเขียว ทั้งสองอย่างคือสีเหลือง ทั้งสองอย่างคือสีแดง ทั้ง
สองอย่างคือสีขาว ทั้งสองอย่างคือสิ่งที่รู้ได้ด้วยจักษุ ทั้งสองอย่างกระ-
ทบที่จักษุ ทั้งสองอย่างมาสู่คลองจักษุ ทั้งสองอย่างจุติ ทั้งสองอย่าง
อุบัติ ทั้งสองอย่างเป็นไปตามกรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
อุปาทาปัญญัตตานุโยค จบ

อรรถกถาอุปาทาปัญญัตตานุโยค


ว่าด้วยการซักถามอุปาทาบัญญัติ


บัดนี้ เป็นการซักถามอุปาทาบัญญัติ คือบัญญัติเพราะอาศัย
ในเรื่องนั้น คำถามเป็นของพระสกวาที คำรับรองเป็นของพระปรวาที.