เมนู

สรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง 2 นี้ ก็อย่างเดียวกัน
มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า
กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า กายเป็นอื่น
บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระ
หรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง 2 นี้ ก็อย่างเดียวกัน. มี
อรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ที่ท่านกล่าวใน
ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือ
ว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง 2 นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถ
อันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า กาย
เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
ปัญญัตตานุโยค จบ

อรรถกถาปัญญัตตานุโยค


ว่าด้วยการซักถามเรื่องบัญญัติ


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการซักถามบัญญัติ. จริงอยู่ปุคคลวาทีบุคคล
ย่อมบัญญัติบุคคลมีรูปด้วยรูปธาตุ โดยทำนองเดียวกัน ย่อมบัญญัติ
บุคคลไม่มีด้วยอรูปธาตุ. คำถามแม้ทั้งปวงของพระสกวาทีก็เพื่อมุ่ง
ทำลายลัทธิของปุคคลวาทีบุคคลนั้น. คำตอบรับรองด้วย คำปฏิเสธ

ด้วยเป็นของพระปรวาที. ครั้นเมื่อสกวาทีถามว่า บุคคลชื่อว่ามีรูป
เป็นต้น ปรวาทีก็ตอบรับรอง เพราะสภาพแห่งรูปกายและบัญญัติเช่นนั้น
มีอยู่. ครั้นเมื่อคำว่า มีกาม อันสกวาทีถามแล้ว ปรวาทีตอบ
ปฏิเสธ เพราะสภาพแห่งวีตราคะและบัญญัติเช่นนั้นไม่มีอยู่. แม้เมื่อ
สกวาทีกล่าวถามว่า สัตว์ชื่อว่าไม่มีรูป ปรวาทีตอบรับรอง เพราะ
สภาพแห่งอรูปขันธ์และบัญญัติเช่นนั้นเป็นสภาพมีอยู่. คำว่า สัตว์
ในนัย แม้ทั้ง 2 ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งคำเป็นไวพจน์ของ
บุคคล.
บัดนี้ ท่านปรารถนาคำว่า กายเป็นอย่างอื่น บุคคลก็เป็น
อย่างอื่น ในพระบาลีที่มาแล้วว่า กาเย กายานุปสฺสี แปลว่า
พิจารณาเห็นกายในกาย ดังนี้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะทำลายลัทธิอันนั้น
สกวาทีจึงถามว่า บัญญัติว่ากาย หรือว่าสรีระ เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น
คำว่า รวมเพ่งถึงกาย อธิบายว่า ข้าพเจ้าถามถึงกายอันเป็นฆนะ
อันสัตว์ยึดถือไว้ อันน้อมไปสู่ความเป็นเอกีภาพ อันไม่พึงจำแนก.
คำว่า เอเส เส ได้แก่ เอโส โสเยว แปลว่า บัญญัติทั้ง 2 นี้ ก็เป็น
อย่างเดียวกันนั่นแหละ พระบาลีว่า เอเส เอเส ดังนี้บ้าง แปลว่า
บัญญัติศัพท์เหล่านั้น ๆ อธิบายว่า บัญญัติศัพท์เหล่านั้นนั่นแหละ. คำว่า
มีอรรถอันเดียวกัน ได้แก่ อรรถอย่างเดียวกัน. คำว่า เสมอกัน
เท่ากัน เหมือนกัน ในที่นี้ต่างกันแต่เพียงถ้อยคำเท่านั้น. ก็เมื่อว่า
โดยอรรถแล้ว สกวาทีย่อมถามว่า กายก็อันนั้นนั่นแหละ ดังนี้ ปรวาที
เมื่อไม่เห็นความแตกต่างกัน จึงตอบรับรองว่า ใช่. แม้ในคำถามว่า

บุคคล หรือว่าชีพ ก็นัยนี้นั่นเทียว. อนึ่ง ถูกสกวาทีถามว่า กาย
เป็นอื่น ปรวาทีก็ตอบรับรอง เพราะทำกายานุปัสสนาให้เป็นลัทธิ
อย่างนี้. เมื่อถูกถามว่า ชีพเป็นอื่น ปรวาทีเมื่อไม่อาจปฏิเสธพระสูตร
ที่ยึดถือไว้สำหรับกล่าว จึงปฏิเสธ. คำว่า จงรับรู้นิคคหะ เป็นต้น
ข้างหน้าแต่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น. ในฝ่ายปรวาที ท่านถามว่า กายเป็น
อย่างอื่น บุคคลก็เป็นอย่างอื่นหรือ สกวาทีปฏิเสธ เพราะความเป็น
ปัญหาที่ควรงดเว้น. ปรวาทีจงทำปฏิกรรม คือการทำนิคคหะตอบแก่
สกวาทีด้วยสามารถแห่งเลศนัย. แม้คำนั้นก็มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อรรถกถาปัญญัตตานุโยค จบ

คติอนุโยค


[76] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลก
อื่นสู่โลกนี้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลนั้นเอง ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
จากอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[77] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่น
สู่โลกนี้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลก
อื่นสู่โลกนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[78] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลก
อื่นสู่โลกนี้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลนั้นเองด้วย บุคคลอื่นด้วย ท่องเที่ยวไปจาก
โลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ