เมนู

ส. บุคคลเป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่ แต่สภาวะที่ไม่มีอยู่ไม่
เป็นบุคคลทั้งหมดหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ คำว่า นิคคหะ
เป็นต้น ท่านย่อไว้.
วจนโสธระ จบ

อรรถกถาวจนโสธนะ


ว่าด้วยการชำระถ้อยคำ


บัดนี้ เป็นการชำระถ้อยคำ. ในปัญหานั้น คำใดที่ว่า บุคคล
เป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ ดังนี้ เพื่อชำระคำนั้น สกวาทีจึงถามว่า
บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้สภาวะที่หยั่งเห็นได้ก็เป็นบุคคลหรือ.
เนื้อความแห่งปัญหานั้น พึงทราบดังนี้.-
คำว่า บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ นี้ มี 2 บท ทั้ง 2
บทนี้พึงมีอรรถอย่างเดียวกัน หรือพึงมีอรรถต่างกัน ผิว่า พึงมีอรรถ
ต่างกันก่อนไซร้ คำนี้ก็ย่อมปรากฏดังคำที่อุปมาว่า รูปเป็นอย่างหนึ่ง
เวทนาก็เป็นอย่างหนึ่ง ฉันใด บุคคลก็เป็นอย่างหนึ่ง สภาวะที่หยั่งเห็น
ได้ก็เป็นอย่างหนึ่ง ฉันนั้น ดังนี้ ก็ถ้ามีอรรถอันเดียวกันไซร้ ข้อนี้
ย่อมปรากฏดังคำอุปมาว่า จิตอันใด มโนก็อันนั้น ฉันใด บุคคลนั้น
นั่นแหละเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ก็ฉันนั้น ดังนี้ ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้า

จะกล่าวคำหลังนี้ว่า ถ้าว่าบุคคลใดตามลัทธิของท่าน บุคคลนั้นเป็น
สภาวะที่หยั่งเห็นได้ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ สภาวะใด ๆ ที่หยั่ง
เห็นได้ สภาวะนั้น ๆ ก็เป็นบุคคล ท่านรับรองคำนั้นหรือ จากนั้น
สกวาทีต้องการถามซึ่งความที่บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ ไม่ต้องการ
ถามซึ่งภาวะแห่งธรรมมีรูปเป็นต้นที่หยั่งเห็นได้ว่าเป็นบุคคล เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ สภาวะที่
หยั่งเห็นได้บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคลหรือ เป็นต้น.
พึงทราบความหมายแห่งปัญหานั้นว่า ก็สภาวะที่หยั่งเห็นได้อันใด เพราะ
ดำรัสของพระศาสดาว่า บุคคลของเรา บุคคลมีอยู่ ดังนี้ สภาวะที่
หยั่งเห็นได้อันนั้นไม่เป็นบุคคลทั้งหมด บางอย่างแลเป็นบุคคล บาง
อย่างไม่ใช่บุคคลหรือ ในปัญหานั้น เก อักษร มีอรรถเป็น โก อักษร
หิ อักษรและ จิ อักษรสักแต่เป็นนิบาต. ก็พึงทราบเนื้อความในที่นี้ว่า
บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่ใช่ ดังนี้. คำว่า บางอย่างเป็นบุคคล
บางอย่างไม่ใช่บุคคลนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคล คือธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นซึ่งเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้นั้น
แหละ แต่ในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเป็นบุคคลนั่นเทียว คือเป็น
บุคคลอะไร ๆ ส่วนในรูปเป็นต้น บางอย่างไม่ใช่บุคคล ดังนี้. ลำดับ
นั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้บาง
อย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นไม่ได้หรือ. เนื้อความแห่งปัญหานั้น โดย
อรรถมี 2 บทคือ บุคคลกับคำว่าสภาวะที่หยั่งเห็นได้ ถ้าในอรรถอัน

เดียวกันไซร้ บุคคลก็คือ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว
ว่าสภาวะธรรมที่หยั่งได้ บุคคลมิใช่นอกจากธรรมนั้นแต่สภาพธรรมนั้น
บางอย่างเป็นบุคคล แม้บางอย่างก็ไม่ใช่บุคคล แม้บุคคลย่อมปรากฏว่า
บางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ บางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นไม่ได้
ตามลัทธิของท่าน ท่านรับรองคำนั้นหรือ ? ปรวาทีนั้นเมื่อไม่ปรารถนา
บุคคลนอกจากลัทธิของตนจึงปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. เบื้อง
หน้าแต่นี้ไป คำว่า ท่านจงรู้นิคคหะ เป็นต้นทั้งปวงท่านย่อไว้
บัณฑิตพึงทราบโดยพิสดาร. แม้ในคำว่า บุคคลเป็นสัจฉิกัตถะ เป็น
ต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ. คำทั้งปวงเหล่านี้ คือ ภาวะที่แท้จริง สภาวะที่-
ประสบอยู่ สภาวะที่ปรากฏอยู่ สภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ ทั้งหมด
เป็นคำไวพจน์ของคำว่า สภาวะที่หยั่งเห็นได้.
อีกอย่างหนึ่ง คำรับรองของปรวาทีว่า บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่ง
เห็นได้ด้วยสัจฉิกัตถะ นี้ เพราะลัทธิของเขาว่า บุคคลเป็นสภาวะที่
หยั่งเห็นได้ฉันใดนั่นแหละ คำว่า บุคคลก็ย่อมปรากฏว่าเป็นสัจฉิกัตถะ
ตามลัทธิของเขาฉันนั้นเหมือนกัน. ก็ลัทธิใดของปรวาทีว่า บุคคล
มีอยู่ ดังนี้ คำนี้เป็นไวพจน์ของคำว่า บุคคลเป็นสภาวะที่ประสพ
อยู่ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงชำระคำไวพจน์ทั้งปวงเหล่านี้.
ในปัญหาเหล่านั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในที่สุดว่า บุคคล
เป็นสภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมด เป็นต้น พึงทราบคำอธิบาย
ต่อไป:-

ปรวาทีกล่าวคำใดว่า บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ แต่สภาวะที่มี
อยู่บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล ดังนี้ คำนั้นเมื่อว่า
โดยอรรถแล้ว ก็มีถ้อยคำเพียงเท่านี้แหละว่า บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่
สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมด เพราะฉะนั้นสกวาทีจึงให้ปรวาที
รับรองคำนั้นแล้ว จึงประกอบคำถามในบัดนี้ว่า ท่านถือลัทธิว่าบุคคลมี
อยู่เพราะอาศัยคำสักแต่ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน
มีอยู่เท่านั้น ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลไม่มีอยู่ โดยนัย
เป็นอาทิว่า ดูก่อนโมฆราชเธอจงพิจารณาดูโลกโดยความเป็นของว่าง
เปล่า จงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ฯ ล ฯ ดังนี้ เพราะฉะนั้นลัทธิของท่านที่
แสดงว่า บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมด
ฉันใดนั่นแหละ โดยประการนั้นบุคคลย่อมปรากฏว่าเป็นสภาวะที่ไม่มี
อยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมดฉันนั้น ดังนี้ ท่านรับรองคำ
นั้นหรือ ? ลำดับนั้น ปรวาทีเมื่อไม่รับรองคำนั้น จึงปฏิเสธว่า ไม่พึง
กล่าวอย่างนั้น ๆ คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบกฏแห่งถ้อยคำมีคำ
ว่า นิคคหะเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
อรรถกถาวจนโสธนะ จบ

ปัญญัตตานุโยค


[68] ส. บุคคลชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[69] ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[70] ส. บุคคลชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[71] ป. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
[72] ส. บุคคลชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ บุคคลชื่อว่าไม่
มีรูป เพราะอรูปธาตุ และมีบางคนเคลื่อนจากรูปธาตุแล้ว เข้าถึงอรูป-
ธาตุ หรือ ?