เมนู

ธรรม ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น
ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 1 ธาตุ 7 และประกอบไม่ได้ด้วย
อายตนะ 1 ธาตุ 1 บางอย่าง.
[311] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยสวิตักกธรรม สวิจารธรรม
ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์
อายตนะอะไร ๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ 1.
[312] ธรรมเหล่าใด ประกอบได้ด้วยอุเปกขาสหคตธรรม
ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่
ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? ธรรมเหล่านั้น ไม่มีขันธ์ อายตนะ
อะไร ๆ ที่ประกอบไม่ได้ ประกอบไม่ได้ด้วยธาตุ 5.

สรุปข้อความ


ขันธ์ 4 อายตนะ 1 ธาตุ 7 อินทรีย์ 2 ปฏิจจสมุปบาท 3
ธรรมหมวด 5 มีผัสสะเป็นต้น อธิโมกข์เจตสิก มนสิการเจตสิก
ธรรม 3 บทในติกะ ธรรม 7 บทในมหันตรทุกะ ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยมนายตนะอีก 2 คือที่สัมปยุตด้วยวัตถุ วิจาร และที่สัมปยุตตด้วย
อุเบกขา.

จบสัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

อรรถกถาสัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส


บัดนี้ เพื่อจำแนกบท สัมปยุตเตน วิปปยุตตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงเริ่มคำว่า "เวทนากฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในบทนี้ มีลักษณะดังนี้ ก็ใน

วาระนี้ ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยบทที่ยกขึ้นแสดง เพื่อปุจฉา คือ ธรรม
เหล่าใด วิปปยุตด้วยธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำปุจฉาวิสัชนา
ซึ่งการไม่ประกอบแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยขันธ์เป็นต้น . ก็บท (สัมปยุตเตน
วิปปยุตตะ) นั้น ย่อมไม่ประกอบในธรรมทั้งหลาย มีรูปขันธ์เป็นต้น . เพราะ
ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า สัมปยุตด้วยรูปขันธ์ ย่อมไม่มี ฉะนั้น รูปขันธ์นั้นด้วย
บทอื่นมีรูปอย่างนี้ด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงถือเอาในวาระนี้. ส่วนบท
เหล่าใด ย่อมส่องถึงสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ในธัมมธาตุ และวิญญาณอันไม่
เจือด้วยธรรมอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาในวาระนี้. พึงทราบอุทาน
แห่งธรรมเหล่านั้น ดังนี้
"จตฺตาโร ขนฺธายตนญฺจ เอกํ
เทฺว อินฺทฺริยา ธาตุปทานิ สตฺต
ตโย ปฏิจฺจาถ ผสฺสสตฺตกํ
ติเก ตโย สตฺส มหนฺตเร จ
เอกํ สวิตกฺกํ สวิจารเนกํ
ยุตฺตํ อุเปกฺขาย เจ เอกเมว".

แปลว่า นามขันธ์ 4 อายตนะ 1 (คือ มนายตนะ) วิญญาณธาตุ 7 อินทรีย์ 2
(คือ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์) ปฏิจจสมุปบาท 3 (คือ วิญญาณ ผัสสะ เวทนา)
หมวด 7 แห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ติกมาติกา 3 (คือ อทุกขมสุขายเวทนาย
สวิตกักสวิจารบท อุเปกขาสหคตบท) มหันตรทุกะ 7 (คือ จิตตบท เจตสิกบท
สัมปยุตตบท จิตสัมปยุตตบท จิตตสังสัฏฐบท จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูบท
จิตตสังสัฏฐานานุปริวัติบท) สวิตักกบท 1 สวิจารบท 1 อุเปกขาสหคตบท
ที่ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา 1 บท (รวม 37 บท).

เนื้อความนี้นั่นแหละ นับสงเคราะห์ในกาลที่สุด แม้ด้วยคำว่า "ขนฺธา
จตุโร"
เป็นต้น. ในนิทเทสนั้น บทเหล่าใด มีคำวิสัชนาทำนองเดียวกัน
บทเหล่านั้น แม้ไม่เป็นไปตามลำดับ ท่านก็รวมไว้ทำปัญหา อันมีเวทนาขันธ์
เป็นต้น ในที่นั้น. ในปัญหาเหล่านั้น พึงทราบการจำแนกขันธ์เป็นต้น อย่างนี้.
ในปัญหาว่าด้วย เวทนาขันธ์์เป็นต้นก่อน. บทว่า "เอเกน" ได้แก่
(ไม่ประกอบ) ด้วยมนายตนะ. บทว่า "สตฺตหิ" ได้แก่ด้วยวิญญาณธาตุ 7.
บทว่า "เกหิจิ" ได้แก่ ด้วยเวทนาเป็นต้น ในธัมมายตนะ.
ในปัญหาว่าด้วย วิญญาณธาตุ คำว่า "เต ธมฺมา น เกหิจิ" ความ
ว่ายกเว้น วิญญาณธาตุที่ยกขึ้น เพื่อปุจฉาแล้ว ธรรมที่เหลือเหล่านั้น มีวิญญาณ
ธาตุ 6 รูปและนิพพาน ไม่วิปปยุตด้วยขันธ์ทั้งหลายบางอย่าง หรือด้วย
อายตนะทั้งหลาย เพราะความที่ขันธ์และอายตนะทั้งหมดนั้นยังสงเคราะห์ได้.
สองบทว่า "เอกาย ธาตุยา" ได้แก่ ธรรมใด ๆ ที่ยกขึ้น เพื่อปุจฉา
วิปปยุตแล้วด้วยธรรมนั้น ๆ.
ในปัญหาว่าด้วย อุเปกขินทรีย์ บทว่า "ปญฺจหิ" ได้แก่ (วิปปยุต)
ด้วยจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น อันประกอบด้วยอุเบกขา (คือ จักขุวิญญาณธาตุ
โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ มโนธาตุ). บัณฑิต
พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง ด้วยสามารถแห่งบททั้งหลาย อันวิปปยุตกับ
ด้วยบทที่ยกขึ้นเพื่อปุจฉาโดยนัยนี้ ด้วยประการฉะนี้ แล.
จบอรรถกถาสัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

8. วิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส


[313] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย รูปขันธ์ธรรมเหล่านั้น
ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ
ที่ประกอบได้.
[314] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขาร วิญญาณขันธ์ ฯลฯ สรณธรรม อรณธรรม
ธรรมเหล่านั้น
ประกอบได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? ไม่มีขันธ์ อายตนะ. ธาตุ ที่
ประกอบได้.
จบวิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

อรรถกถาวิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส


บัดนี้ เพื่อจำแนกบท วิปปยุตเตน สัมปยุตตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงเริ่มคำว่า "รูปกฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ปุจฉาแม้ทั้งหมดในบทเหล่านั้น
เป็นโมฆปุจฉาเทียว. เพราะว่า นามขันธ์ 4 ชื่อว่า วิปปยุตด้วยรูปขันธ์. สัมป-
โยคะของธรรมเหล่านั้น ด้วยธรรมเหล่าอื่น จึงไม่มี. รูปและนิพพาน วิปปยุต
ด้วยเวทนาขันธ์. สัมปโยคะของธรรมเหล่านั้น ก็ไม่มีด้วยธรรมอะไร ๆ.
บัณฑิตพึงทราบความเป็นสัมปโยคะของวิปปยุตตธรรมทั้งหลาย ในบททั้งปวง
อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า "นตฺถิ" (ไม่มี)
นั่นแหละ ในคำวิสัชนาปัญหาทั้งหมด เพราะความเป็นโมฆะแห่งคำปุจฉา
ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.
จบอรรถกถาวิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส