เมนู

อรรถกถาสัมปโยควิปปโยคปทนิทเทส


บัดนี้ เพื่อจำแนกบท สัมปโยคะ วิปปโยคะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงเริ่มคำว่า "รูปกฺขนฺโธ" เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น บทใด ย่อม
ได้ บทใด ย่อมไม่ได้ บททั้งหมดนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาเพื่อปุจฉา.
แต่ในการวิสัชนา บทใดย่อมไม่ได้ บทนั้นพระองค์ปฏิเสธว่า "นตฺถิ" (ไม่มี).
การประกอบซึ่งกันและกันของรูปขันธ์ทั้งหลายนั่นแหละ อันเกิดขึ้นในสันดาน
หนึ่ง ในขณะหนึ่ง อันมีส่วนเสมอด้วยอรูปขันธ์ 4 นั่นแหละ ย่อมได้จาก
พระบาลีว่า "จตูหิ สมฺปโยโค จตูหิ วิปฺปโยโค สภาโค วิสภาโค"
ดังนี้. ก็ชื่อว่า สัมปโยคะ (คือ การประกอบ) ของรูปทั้งหลาย กับด้วยรูป
หรือด้วยนิพพาน และสัมปโยคะของนิพพาน กับด้วยรูป ย่อมไม่มี. โดย
ทำนองเดียวกัน การประกอบของรูป และนิพพานกับด้วยอรูปขันธ์ทั้งหลาย
ก็ย่อมไม่มี. เพราะว่า ธรรมเหล่านั้น มีส่วนไม่เสมอกันกับธรรมเหล่านั้น. ก็
การประกอบอรูปขันธ์ทั้งหลาย กับด้วยรูปหรือนิพพาน ย่อมไม่มีฉันใด
การประกอบอรูปขันธ์ทั้งหลาย กับแม้ด้วยอรูปธรรมทั้งหลาย อันมีสันดานแยก
กันมีขณะต่าง ๆ กัน ก็ไม่มีนั่นแหละ. ด้วยว่า ธรรมแม้เหล่านั้นเป็นวิสภาคะ
แก่ธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นวิสภาคะโดยสันดานและขณะนั่นแหละ. ก็แต่
ความเป็นวิสภาคะนี้ ไม่มีในสังคหนัย (คือ นัยที่สงเคราะห์เข้ากันได้) เพราะ
ผิดด้วยอรรถแห่งการสงเคราะห์. จริงอยู่ เหตุสักว่าการเข้าถึงซึ่งการนับ จัดเป็น
อรรถแห่งการสงเคราะห์. แต่ในสัมปโยคนัย มีอยู่. ก็เพราะ ลักษณะแห่ง
ความเกิดขึ้นเป็นต้น เป็นอรรถแห่งสัมปโยคะ ฉะนั้น ความเป็นวิสภาคะนั้น
จึงไม่ประกอบลักษณะแห่งสัมปโยคะในที่นี้แม้ด้วยธรรมหนึ่งแห่งบทใดอย่างนี้
เพื่อปุจฉาซึ่งบทนั้นแม้กระทำการสงเคราะห์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ปฏิเสธ