เมนู

อรรถกถามาตกา


นยมาติกา 14 นัย


พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า ปกรณ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงจำแนกไว้ 14 นัย ด้วยสามารถแห่งคำว่า " สงฺคโห อสงฺคโห " เป็นต้น
คำนั้นแม้ทั้งหมดท่านตั้งไว้ 2 อย่าง คือ โดยอุทเทส และนิทเทส. อุทเทส
แห่งธรรมมีขันธ์ เป็นต้น ชื่อว่า มาติกา.
มาติกานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ 5 อย่าง คือ นยมาติกา
อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา และพาหิรมาติกา.

บรรดามาติกาเหล่านั้น มาติกาที่ทรงตั้งไว้ 14 บท มีคำว่า " สงฺคโห
อสงฺคโห ฯเปฯ วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ "
นี้ ชื่อว่า นยมาติกา.
จริงอยู่ มาติกานี้พระองค์ตรัสเรียกว่า นยมาติกา ก็เพราะความที่มาติกานี้ทรง
ตั้งไว้เพื่อแสดงว่า " ธรรมทั้งหลายในธาตุกถาอันพระองค์ทรงจำแนก
ไว้แล้ว โดยนัยอันสงเคราะห์เข้ากันได้เป็นต้นนี้ "
ดังนี้. นยมาติกานี้
แม้จะเรียกว่า " มูลมาติกา" ก็ควร เพราะความเป็นมูลแห่งบททั้งหลายเหล่า
นั้น.
มาติกาที่ทรงตั้งไว้ 125 บท ว่า " ปญฺจกฺขนฺธา ฯ เป ฯ มนสิกาโร "
นี้ชื่อว่า อัพภันตรมาติกา.
จริงอยู่ มาติกานี้ ท่านเรียกว่า อัพภันตรมาติกา เพราะความที่มาติกา
นี้พระองค์ไม่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า " ธรรมสังคณีแม้ทั้งหมด เป็นมาติกาใน

ธาตุกถา " ดังนี้ แต่ทรงแสดงธรรมมีขันธ์เป็นต้น ที่ควรจำแนกโดยนัยมี
การสงเคราะห์เข้ากันได้เป็นต้นไว้โดยย่อ แล้วตั้งไว้ในภายในแห่งธาตุกถานั้น
แหละ. ข้อนี้ แม้จะกล่าวว่า " เป็นปกิณณกมาติกา " ดังนี้ก็ได้ เพราะ
ความที่บททั้งหลายมีขันธ์เป็นต้นมิได้สงเคราะห์ไว้ในธัมมสังคณีมาติกา.
มาติกาที่ทรงตั้งไว้ด้วยบททั้งหลาย 4 บท คือ " ตีหิ สงฺคโห, ตีหิ
อสงฺคโห, จตูหิ สมฺปโยโค, จตูหิ วิปฺปโยโค "
นี้ชื่อว่า นยมุขมาติกา.
จริงอยู่ ธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ และสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้นี้พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบไว้ในธรรมทั้งหลายมีปัญจขันธ์เป็นต้นแม้ทั้งปวง
และในธรรมแห่งมาติกาทั้งหลายมีกุสลติกะเป็นต้น ด้วยบทแห่งขันธ์ อายตนะ
และธาตุทั้ง 3 นั่นแหละ. โดยทำนองเดียวกัน สัมปโยคะก็ดี วิปปโยคะก็ดี
ก็ทรงประกอบไว้ด้วยอรูปขันธ์ทั้ง 4. บททั้ง 4 เหล่านี้ ทรงเรียกว่านยมุข-
มาติกา เพราะความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมที่ทรงตั้งไว้เพื่อแสดงถึงหัวข้อ
แห่งนัยทั้งหลายมีธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้เป็นต้นเหล่านี้.
มาติกาที่ทรงตั้งไว้ด้วยบททั้ง 2 คือ " สภาคะและวิสภาคะ " ชื่อว่า
ลักขณมาติกา. จริงอยู่ นัยแห่งธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประกอบไว้ด้วยธรรมทั้งหลายอันมีลักษณะที่เสมอกัน นัยแห่งธรรมที่สง-
เคราะห์เข้ากันไม่ได้ ทรงประกอบไว้ด้วยธรรมทั้งหลายที่มีลักษณะไม่เสมอกัน
นัยแห่งสัมปโยคะ และวิปปโยคะก็เหมือนกัน. ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกว่าลักขณมาติกา เพราะความทีบทเหล่านั้นพระองค์ทรงตั้งไว้เพื่อแสดง
ลักษณะแห่งธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งลักษณะที่เป็น
สภาคะและวิสภาคะ.

มาติกาที่ทรงย่อตั้งบทติกะ 66 และบททุกะ 200 ว่า " ธัมมสังคณี
แม้ทั้งหมดเป็นมาติกาในธาตุกถา "
นี้ ชื่อว่า พาหิรมาติกา.
จริงอยู่ มาติกานี้ เรียกว่า " พาหิรมาติกา " ก็เพราะความที่มาติกา
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้ภายในธาตุกถาอย่างนี้ว่า " ปญฺจกฺจนฺธา ฯลฯ
มนสิกาโร "
ดังนี้ ทรงตั้งไว้ภายนอกจากมาติกาแห่งธาตุกถา อย่างนี้ว่า " ธัมม-
สังคณีแม้ทั้งปวงเป็นมาติกา " ดังนี้.
บัณฑิต ทราบความที่มาติกาเป็นภาวะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ 5 อย่างด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้
4 อย่าง ในคำทั้งหลาย มีคำว่า " สงฺคโห อสงฺคโห " เป็นต้น ด้วยสามารถ
แห่งชาติ สัญชาติ กิริยา คณนสังคหะก่อน.

บรรดาสังคหะ. (คือธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้) เหล่านั้น การ
สงเคราะห์ที่กล่าวว่า " พวกกษัตริย์ทั้งปวงจงมา พวกพราหมณ์ทั้งปวง
พวกแพศย์ทั้งปวง พวกผู้บริสุทธิ์ทั้งปวงจงมา ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมาวาจาใด สัมมากัมมันตะใด สัมมาอาชีวะใด
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์เข้าในศีลขันธ์ "
นี้ ชื่อว่า ชาติสังคหะ
(สงเคราะห์ที่เข้ากันได้โดยชาติ). เพราะว่าในอธิการนี้ ธรรมแม้ทั้งปวงถึงซึ่ง
การสงเคราะห์เป็นอันเดียวกันโดยชาติ ราวกะในฐานะที่ท่านกล่าวแล้วว่า " ชน
ทั้งหลายผู้มีชาติเดียวกันจงมา "
ดังนี้.
การสงเคราะห์ที่กล่าวว่า " ชาวโกศลทั้งปวงจงมา ชาวมคธทั้ง
ปวงจงมา ชาวอารุกัจฉกะทั้งปวงจงมา ดุก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ธรรม
เหล่านี้ คือ สัมมาวายามะใด สัมมาสติใด สัมมาสมาธิใด พระผู้
มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์เข้าในสมาธิขันธ์ "
นี้ ชื่อว่า สัญชาติสังคหะ

เข้าโดยสัญชาติ). จริงอยู่ ในที่นี้ ชนทั้งหมดถึงแล้วซึ่งการสงเคราะห์เป็นอัน
เดียวกันโดยสถานที่แห่งความเกิด คือ โดยโอกาสที่อาศัยอยู่ ราวกะในที่อัน
ท่านกล่าวแล้วว่า " ชนทั้งหลายผู้เกี่ยวเนื่องกันโดยชาติ จงมา " ดังนี้.
การสงเคราะห์ที่กล่าวว่า " พวกทหารช้าง (นายควาญช้าง) จงมา
พวกทหารม้าจงมา พวกทหารรถจงมา ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ธรรม
เหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิใด สัมมาสังกัปปะใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
สงเคราะห์ไว้ในปัญญาขันธ์ "
นี้ ชื่อว่า กิริยาสังคหะ (คือ การสงเคราะห์
เข้ากันได้โดยการกระทำ). เพราะชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดถึงแล้วซึ่งการสงเคราะห์
เข้าเป็นอันเดียวกันด้วยการกระทำของตน.
ถามว่า จักขวายตนะ ย่อมถึงซึ่งคณนา (คือ การนับ) ว่าเป็น
ขันธ์ไหน ?
ตอบว่า จักขวายตนะ ย่อมถึงซึ่งการนับว่าเป็น รูปขันธ์. การ
สงเคราะห์ที่กล่าวว่า " ก็ถ้าจักขวายตนะถึงซึ่งการนับว่าเป็นรูปขันธ์ไซร้ ดูก่อน
ผู้เจริญ ด้วยเหตุนั้นนะท่านพึงกล่าวว่าจักขวายตนะสงเคราะห์เข้าด้วยรูปขันธ์ "
นี้ ชื่อว่า คณนสังคหะ (คือ การสงเคราะห์เข้าโดยการนับ หรือเรียกว่า
การนับสงเคราะห์). คณนสงเคราะห์นี้ ท่านประสงค์เอาในที่นี้. บัณฑิตพึง
ทราบธรรมที่นับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมนั้น. พึง
ทราบ บทว่า " สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ " เป็นต้น โดยการกำหนดซึ่งธรรม
เหล่านั้น. พึงทราบสัมปโยคธรรม ด้วยสามารถแห่งความเป็น เอกุปปาทะ
เอกนิโรธะ เอกวัตถุกะ เอการัมมณะ. พึงทราบวิปปโยคะ โดยเป็นธรรมเป็น
ปฏิปักษ์ต่อสัมปโยคะนั้น. พึงทราบบทว่า " สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ " เป็นต้น

โดยการกำหนดซึ่งธรรมเหล่านั้น. พึงทราบบทว่า " สงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ
วิปฺปยุตฺตํ "
เป็นต้น โดยการกำหนดซึ่งธรรมที่เกี่ยวข้องกันทั้ง 2 บท. ก็
คำว่า " ปญฺจกฺขนฺธา " เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธวิภังค์
เป็นต้นนั่นแหละ. แต่ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ในที่นี้พึงทราบว่า ท่าน
กล่าวแล้ว โดยการเกิดขึ้นของสัพพจิตตสาธารณะ ตามที่กล่าวแล้วด้วยสามารถ
แห่งสันนิษฐานบท ดังนี้แล.
จบอรรถกถามาติกา

1. สังคหาสังคหาปทนิทเทส


อัพภันตรมาติกา


ขันธปทนิทเทส


[2] รูปขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร? รูป
ขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ 11 ธาตุ 11. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย
ขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร ? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ 4 อายตนะ 1
ธาตุ 7.
[3] เวทนาขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ?
เวทนาขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ 1 ธาตุ 1. สงเคราะห์ไม่ได้
ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 11 ธาตุ 17.
[4] สัญญาขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ?
สัญญาขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ 1 ธาตุ 1. สงเคราะห์ไม่ได้
ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 11 ธาตุ 17.
[5] สังขารขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?
สังขารขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ 1 ธาตุ 1. สงเคราะห์ไม่ได้
ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 11
ธาตุ 17.
[6] วิญญาณขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ?
วิญญาณขันธ์ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ 1 ธาตุ 7. สงเคราะห์ไม่
ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ
11 ธาตุ 11.