เมนู

อรรถกถาอสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส


บัดนี้ เพื่อจำแนก อสังคหิเตน สังคหิตบท พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงเริ่มคำว่า "เวทนากฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในบทนี้ พึงทราบลักษณะ ดังนี้
ในวาระนี้ บทใดนับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้โดยขันธ์ แต่นับสงเคราะห์เข้ากัน
ได้โดยบทแห่งอายตนะและธาตุทังหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำปุจฉาและ
วิสัชนา การนับสงเคราะห์ซึ่งบทนั้นโดยขันธ์เป็นต้น. ก็แต่ บท (อสังคหิเตน
สังคหิตะ) นั้น ย่อมไม่ประกอบในบททั้งหลายมีรูปขันธ์ วิญญาณขันธ์ และ
จักขายตนะเป็นต้น. เพราะว่า รูปขันธ์นับสงเคราะห์นามขันธ์ 4 โดยขันธ์
สงเคราะห์ไม่ได้. บรรดาธรรมเหล่านั้น แม้ธรรมหนึ่ง ชื่อว่า นับสงเคราะห์
ได้โดยอายตนะและธาตุทั้งหลายเหล่านั้น ก็ย่อมไม่มี. เมื่อมีคำถามว่า เวทนา
เป็นต้น นับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยธัมมายตนะ มิใช่หรือ. ตอบว่า เวทนา
เป็นต้นที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยธัมมายตนะ แต่ไม่ใช่ธัมมายตนะ คือ รูป
ขันธ์. เพราะทรงจำแนกธัมมายตนะสักว่าเป็นสุขุมรูปโดยความเป็นรูปขันธ์
ฉะนั้น ธรรมเหล่าใด ที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยธัมมายตนะ ธรรมเหล่า
นั้น มิได้ชื่อว่า นับสงเคราะห์เข้าได้โดยรูปขันธ์. ขันธ์ 4 นอกนี้ ก็สงเคราะห์
เข้ากันไม่ได้ แม้กับวิญญาณขันธ์. บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมแม้หนึ่ง ชื่อ
ว่านับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยอายตนะและธาตุเหล่านั้นก็ย่อมไม่มี. เพราะความ
ที่บทเหล่านี้ นับสงเคราะห์เข้ากันอย่างนี้ไม่มีอยู่ บททั้งหลาย นอกนี้ก็ดี จึง
นับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ในวาระนี้. ส่วนบทเหล่าใด ย่อมส่องถึงเอกเทศแห่ง
ธัมมายตนะอันไม่เจือด้วยวิญญาณหรือโอฬาริกรูป บทเหล่านั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงถือเอาในที่นี้. พึงทราบอุทานแห่งบทเหล่านั้น ดังนี้.

ตโย ขนฺธา ตถา สจฺจา อินฺทฺริยา ปน โสฬส
ปทานิ ปจฺจยากาเร จุทฺทสูปริ จุทฺทส.
สมตฺตึส ปทา โหนฺติ โคจฺฉเกสุ ทสสฺวถ
ทุเว จูฬนฺตรทุภา อฏฺฐ โหนฺติ มหนฺตรา.
แปลว่า ขันธ์ 3 (คือ เจตสิกขันธ์ 3) สัจจะ 3 (คือ สมุทัย นิโรธ
มรรค) อินทรีย์ 16 (คือ เว้นปสาทอินทรีย์ 5 และมนินทรีย์) ปัจจยาการ 14
(คือปฏิจจสมุปบาท 14 เว้นวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ อุปปัตติภวะ ปริเทวะ)
บทที่ต่อมาจากปัจจยาการอีก 14 บท (คือ บทสติปัฎฐานเป็นต้น เว้นอิทธิบาท)
บททั้งหลาย 30 บทที่ในโคจฉกะสิบ จูฬันตรทุกะ 2 บท (คือ อัปปัจจยบท
และอสังขตบท) มหันตรทุกะ 8 บท (รวม 90 บท).
ก็บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัญหาทั้งหมดไว้ 12 บท
โดยรวมบท 6 บท ที่เป็นคำวิสัชนาเช่นเดียวกัน. บัณฑิตพึงทราบการจำแนก
ขันธ์ในบทเหล่านั้นอย่างนี้. แต่ในอายตนะและธาตุทั้งหลาย มิได้มีความต่างกัน.
ในปัญหาที่ 1 ก่อน. สองบทว่า " ตีหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ (นับ
สงเคราะห์ได้) ด้วยขันธ์ 3 คือ รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์. ส่วน
อายตนะและธาตุ พึงทราบการนับสงเคราะห์ได้ด้วยสามารถแห่งธัมมายตนะ
และธัมมธาตุ. ในนิทเทสนี้ พึงทราบนัยดังนี้ว่า นิพพาน สุขุมรูป สัญญา
สังขารขันธ์ ไม่นับสงเคราะห์โดยขันธ์สังคหะกับด้วยเวทนาขันธ์ แต่เป็นธรรม
ที่นับสงเคราะห์ได้ด้วยอายตนะ (คือ ธัมมายตนะ) และธาตุ (คือ ธัมมธาตุ).
บรรดาธรรมเหล่านั้น นิพพานไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นขันธ์. ธรรมที่เหลือย่อม
ถึงการสงเคราะห์ได้ ด้วยรูปขันธ์ สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์. แม้นิพพานก็
ย่อมถึงซึ่งการนับสงเคราะห์ว่าเป็นอายตนะและธาตุนั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " อสงฺขตํ ขนฺธโต ฐเปตฺวา ตีหิ ขนฺเธหิ
เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา สงฺคหิตา"
ดังนี้. แต่ในฝ่ายสัญญาขันธ์
ในที่นี้ นำสัญญาขันธ์ออกแล้ว พึงทราบว่าเป็นขันธ์ 3 กับด้วยเวทนาขันธ์.
ในสังขารขันธ์เป็นต้น นำสังขารขันธ์ออกแล้ว พึงทราบว่าเป็นขันธ์ 3 ด้วย
สามารถแห่งรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์.
ในปัญหาที่ 2 สองบทว่า " จตูหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ ขันธ์ 4 เว้น
วิญญาณขันธ์. ด้วยว่า ธรรมเหล่านั้น นับสงเคราะห์ด้วยนิโรธ โดยเป็นขันธ์
สังคหะไม่ได้ แต่นับสงเคราะห์ได้ด้วยอายตนะและธาตุ.
ในปัญหาที่ 3 คำว่า " ทฺวีหิ " ได้แก่ (นับสงเคราะห์ได้) ด้วย
ขันธ์ 2 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์. เพราะว่า เวทนา สัญญา วิญญาณขันธ-
นับสงเคราะห์โดยเป็นขันธ์สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปอินทรีย์และอรูปอินทรีย์. แต่
ในธรรมเหล่านั้น เวทนา สัญญา นับสงเคราะห์ได้โดยการสงเคราะห์เป็น
อายตนะและธาตุ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " เวทนา สญฺญากฺ-
ขนฺเธหิ "
บัณฑิตพึงทราบ ความต่างกันแห่งขันธ์ในบททั้งปวง โดย
อุบายนี้.
ก็เบื้องหน้าแต่นี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวชื่อของขันธ์ทั้งหลายพอสมควรเท่า
นั้น.
ในปัญหาที่ 4 สองบทว่า " ตีหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ ในอิตถินทรีย์
และปุริสินทรีย์ พึงทราบการนับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 3 คือ เวทนา สัญญา
สังขารขันธ์. ในหมวด 5 แห่งเวทนา พึงทราบ ด้วยรูป สัญญา สังขาร-
ขันธ์. ในสัทธินทรีย์เป็นต้น มีผัสสะ เป็นที่สุด พึงทราบว่าสงเคราะห์ไม่ได้
ด้วยรูป เวทนา สัญญาขันธ์. พึงทราบในเวทนา เช่นกับเวทนาขันธ์นั่นแหละ.
พึงทราบวินิจฉัยในตัณหา อุปาทาน กัมมภวะทั้งหลาย เช่นกับสังขารขันธ์.

ในปัญหาที่ 5 พึงทราบวินิจฉัย ในชาติชรามรณะ เช่นกับชีวิติน-
ทรีย์. เพราะนิพพาน สุขุมรูป สัญญา กับฌาน นับสงเคราะห์โดยเป็น
ขันธ์สงเคราะห์ไม่ได้ แต่นับสงเคราะห์เข้าโดยเป็นอายตนะและธาตุได้ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาธรรมนั้น นับสงเคราะห์ด้วยขันธ์ 2 คือรูป
ขันธ์และสัญญาขันธ์.
ในปัญหาที่ 6 พึงทราบวินิจฉัย ในหมวด 3 แห่งโสกะเป็นต้นนับ
สงเคราะห์กับเวทนาขันธ์ พึงทราบในอุปายาสะเป็นต้น เช่นกับสังขารขันธ์.
พึงทราบในเวทนาอีกเช่นกับเวทนาขันธ์. พึงทราบในสัญญาเช่นกับสัญญา
ขันธ์ พึงทราบวินิจฉัยในเจตนาเป็นต้น เช่นกับสังขารขันธ์.
แม้ ในปัญหาที่ 7 เป็นต้น ก็พึงทราบธรรมทีนับสงเคราะห์ได้ และ
ไม่ได้ โดยอุบายนี้ แล.
จบอรรถกถาอสังคหิตปทนิทเทส

4. สังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส


[187] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วย สมุทยสัจ มัคคสัจ
โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ. ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วย
ธรรมเหล่านั้น โดยขันธสังคหะ อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น
สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์
ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ 1 ธาตุ 1.
[188] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วย อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์
สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทริย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขิน-