เมนู

[172] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยอนิทัสสนสัปฏิฆธรรม
โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ฯลฯ
ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 10 ธาตุ 16.
[173] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยสนิทัสสนธรรม โดย
ขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ฯลฯ ธรรม
เหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 8.
[174] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยสัปปฏิฆธรรม อุปาทา-
ธรรม
โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ
ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? ธรรม
เหล่านั้นสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 11 ธาตุ 17.
อายตนะ 10 ธาตุ 17 อินทรีย์ 7 อสัญญาภพ 1 เอกโวการภพ 1
ปริเทวะ 1 สนิทัสสนธรรม 1 สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม 1 อนิทัสสนสัปปฏิ-
ฆธรรม 1 สัปปฏิฆธรรม 1 อุปาทาธรรม 1 (รวม 42 บท) ด้วยประการฉะนี้.
จบสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

อรรถกถาสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส


บัดนี้ เพื่อจำแนก สังคหิเตน อสังหิตบท พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงเริ่มคำว่า "จกฺขฺวายตเนน" เป็นอาทิ. ในบทนี้ พึงทราบลักษณะ
ดังนี้ ก็ในวาระนี้บทใด (หมายถึงรูป27เว้นจักขายตนะ) นับสงเคราะห์ได้ด้วย
บทแห่งขันธ์ แต่นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยบทแห่งอายตนะและธาตุ หรือว่า
บทใด (วิญญาณธาตุ 7 เว้นจักขุวิญญาณธาตุ) นับสงเคราะห์ได้ด้วยบทแห่ง

ขันธ์และอายตนะ แต่นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยบทแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงทำปุจฉาและวิสัชนาซึ่งบทอันสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์แห่งบทนั้น ก็บท
(ที่สงเคราะห์ไม่ได้) นั้น ย่อมไม่ประกอบในธรรมทั้งหลาย มีรูปขันธ์เป็น
ต้น. เพราะว่า รูปขันธ์สงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์เท่านั้น แต่รูปขันธ์นั้น ชื่อ
ว่านับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะและธาตุ 11 ทั้งกึ่งก็ไม่มี เวทนาเทียวนับ
สงเคราะห์ได้ด้วยเวทนาขันธ์เท่านั้น แม้เวทนาขันธ์นั้นชื่อว่านับสงเคราะห์ไม่
ได้ด้วยธัมมายตนะและธัมมธาตุทั้งหลาย ก็หาไม่. เมื่อไม่มี เพราะธรรม
เหล่านี้สงเคราะห์ไม่ได้อย่างนี้ บททั้งหลายเหล่าอื่นนั้น และบทมีมนายตนะ
ธัมมายตนะ เป็นต้น มีรูปอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงสงเคราะห์ไว้
ในวาระนี้. แต่บทเหล่าใด ย่อมส่องถึงเอกเทศแห่งรูปอันไม่เจือด้วยรูป
และซึ่งเอกเทศแห่งวิญญาณอันไม่เจือด้วยธรรมอื่น บทเหล่านั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ไว้ในนิทเทสแห่งบทนี้. ในที่สุด ทรงแสดงธรรมเหล่านั้น
ไว้ในอุทานคาถาอย่างนี้ว่า
"ทสายตนา สตฺตรส ธาตุโย
สตฺตินฺทฺริยา อสญฺญาภโว เอกโวการภโว
ปริเทโว สนิทสฺสนสปฺปฏิฆํ
อนิทสฺสนํ ปุนเรว* สปฺปฏิฆํ อุปฺปาทา".

แปลว่า นิทเทสนี้มี 42 บท คือ
โอฬาริกายตนะ 10 บท
ธาตุ 17 บท
(เว้นธัมนธาตุ)
รูปอินทรีย์ 7 บท (คือ จักขุนทรีย์เป็นต้น จนถึงปุริสินทรีย์
เป็นที่สุด)

* บางแห่งเป็น ปุนเทว

อสัญญีภพ 1 บท
เอกโวการภพ 1 บท
ปริเทวะ 1 บท
นิทัสสนสัปปฏิฆะ 1 บท
อนิทัสสนสัปปฏิฆะ 1 บท
สนิทัสสนะ 1 บท
สัปปฏิฆะ 1 บท
อุปาทาธรรม 1 บท.
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ การนับสงเคราะห์ธรรมที่ไก้ และไม่
ได้ด้วยสามารถแห่งบทเหล่านั้นนั่นแหละ. ก็ว่าด้วยอำนาจแห่งปัญญา ในวาระนี้
ทรงทำไว้ 8 ปัญหา คือ
ปัญหา 1 ทำไว้เพราะรวบรวมธรรม 20 ด้วยสามารถแห่ง
อายตนะ (โอฬาริกายตนะ 10) และธาตุ (โอฬาริกธาตุ 10) ไว้ใน
คำวิสัชนาทำนองเดียวกัน

ปัญหา 1 ทำไว้เพราะรวบรวมวิญญาณธาตุ 7.
ปัญหา 1 ทำไว้เพราะรวบรวมอินทรีย์ 7 (คือ มีจักขุน-
ทรีย์เป็นต้น)

ปัญหา 1 ทำไว้เพราะรวบรวมภพทั้ง 2 และ
ปัญหา 1 ทำไว้ด้วย ปริเทวบท และสนิทัสสนสัปปฏิฆบท.
ปัญหา 1 ทำไว้ด้วย อนิทัสสนสัปปฏิฆาบท.
ปัญหา 1 ทำไว้ด้วย สนิทัสสนบททั้งหลาย.
ปัญหา 1 ทำไว้ด้วย สัปปฏิฆบททั้งหลาย และอุปาทาธรรม
ทั้งหลาย.

บรรดาปัญหาเหล่านั้น พึงทราบการจำแนกขันธ์เป็นต้น อย่างนี้ คือ
ในปัญหาที่ 1 ก่อน. สองบทว่า " จตูหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ สงเคราะห์
ไม่ได้ด้วยอรูปขันธ์ 4. สองบทว่า " ทฺวีหายตเนหิ " ได้แก่ สงเคราะห์ไม่
ได้ด้วยมนายตนะ 1 กับบรรดาจักขวายตนะเป็นต้นอย่างละหนึ่ง ๆ. สองบทว่า
" อฏฺฐหิ ธาตูหิ" ได้แก่สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ธาตุ 8 คือ ด้วยวิญญาณธาตุ 7
กับบรรดาจักขุธาตุเป็นต้น อย่างละหนึ่งๆ ในนิทเทสนี้พึงทราบนัยดังนี้ว่า จัก-
ขวายตนะสงเคราะห์โดยความเป็นขันธ์ เป็นรูปขันธ์ได้ เมื่อจักขวายตนะนั้น
สงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์แล้ว จักขวายตนะหนึ่งนั้นแหละก็สงเคราะห์ได้ด้วยการ
สงเคราะห์เป็นอายตนะ ส่วนอายตนะ 10 ที่เหลือนับสงเคราะห์ไม่ได้. แม้
โดยการสงเคราะห์ด้วยธาตุ จักขุธาตุหนึ่งนั่นแหละนับสงเคราะห์ด้วยธาตุได้.
ธาตุ 10 ที่เหลือนับสงเคราะห์ไม่ได้. เพราะเหตุนี้อายตนะ 10 เหล่าใดนับ
สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยจักขวายตนะนั้น อายตนะเหล่านั้นไม่นับสงเคราะห์ด้วย
อายตนะ 2 คือ จักขวายตนะ และมนายตนะ. ธาตุ 10 แม้เหล่าใดนับ
สงเคราะห์เข้าไม่ได้ ธาตุเหล่านั้น ก็นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยจักขุธาตุและ
วิญญาณธาตุ 7 ดังนี้. แม้ในรูปายตนะเป็นต้นก็นัยนี้นั่นแหละ.
ในปัญหาที่ 2 เพราะวิญญาณขันธ์ ท่านสงเคราะห์ได้ด้วยวิญญาณ-
ธาตุอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณขันธ์นั้น ชื่อว่าสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยมนายตนะ
ไม่มี ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า " อายตนสงฺคเหน สงฺคหิตา "
ดังนี้. ก็ในการวิสัชนาปัญหาที่ 2 นี้ สองบทว่า " จตูหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ ด้วย
ขันธ์ 4 มีรูปเป็นต้น. สองบทว่า " เอกาทสหิ อายตเนหิ " ได้แก่ สงเคราะห์
ไม่ได้ด้วยอายตนะ 11 เว้นมนายตนะ. สองบทว่า " ทฺวาทสหิ ธาตูหิ " ได้แก่
ไม่ได้ด้วยธาตุ 12 ที่เหลือ โดยนำวิญญาณธาตุ 6 ออกตามสมควร. เพราะว่า

จักขุวิญญาณธาตุนับสงเคราะห์ได้ด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั่นแหละ ธาตุนอกนี้
สงเคราะห์ไม่ได้. แม้ในโสตวิญญาณธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในปัญหาที่ 3 การวิสัชนาจักขุนทรีย์เป็นต้น เช่นเดียวกับจักขวายตนะ
เป็นต้นนั่นแหละ. แต่ในอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ พึงทราบอายตนะ 2 คือ
มนายตนะ* กับธัมมายตนะ และธาตุ 8 คือ วิญญาณธาตุ 7 กับธัมมธาตุ 1
(นับสงเคราะห์เข้าด้วยอินทรีย์ทั้ง 2 นี้ไม่ได้).
ในปัญหาที่ 4 สองบทว่า " ตีหายตเนหิ " ได้แก่ (นับสงเคราะห์
ไม่ได้) ด้วยรูปายตนะ ธัมมายตนะ มนายตนะ. เพราะว่า ในภพเหล่า
นั้น ว่าโดยอำนาจแห่งรูปายตนะและธัมมายตนะ ได้อายตนะ 2 เท่านั้น
สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ 3 คือ ด้วยอายตนะ 2 (คือ รูปายตนะ ธัมมา-
ยตนะ) เหล่านั้นนั่นแหละ และมนายตนะ 1. สองบทว่า " นวหิ ธาตูหิ "
ได้แก่ ด้วยธาตุ 9 คือวิญญาณธาตุ 7 กับรูปธาตุ และธัมมธาตุ.
ในปัญหาที่ 5 สองบทว่า " ทฺวีหายตเนหิ " หมายเอาบทที่ 1
(คือ ปริเทวธรรม) ซึ่งนับสงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยสัททายตนะ และมนายตนะ.
หมายเอาบทที่ 2 (คือ สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม) ซึ่งนับสงเคราะห์ไม่ได้ ด้วย
รูปายตนะ และมนายตนะ. แม้ธาตุทั้งหลาย ก็พึงทราบว่า วิญญาณธาตุ 7
กับอายตนะอย่างละ 1 ในบรรดาอายตนะเหล่านั้นนั่นแหละ.
ในปัญหาที่ 6 สองบทว่า " ทสหายตเนหิ " ได้แก่ อายตนะ 10
เว้นรูปายตนะและธัมมายตนะ. สองบทว่า " โสฬสหิ ธาตูหิ " ได้แก่ ธาตุ 16
เว้นรูปธาตุ และธัมมธาตุ. ถามว่า ข้อนี้มีอธิบายอย่างไร ตอบว่า ก็เพราะ
โอฬาริกายตนะ 9 ชื่อว่า อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เมื่ออายตนะเหล่านั้น

* คำว่า มนายตนะ ในอรรถกถาเห็นจะตกไป เพราะว่า ท่านกล่าวว่า อายตนะ 2 (คือ
มนายตนะ และธัมมายตนะ) แต่ในอรรถกถานี้ กล่าวไว้แต่เพียง ธัมมายตนะเท่านั้น.

สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์โดยขันธ์สงเคราะห์แล้ว อายตนะเหล่านั้นนั่นแหละ ก็
สงเคราะห์ได้ด้วยอายตนะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปายตนะและธัมมายตนะ.
แม้ว่าโดยธาตุสงเคราะห์ โอฬาริกธาตุ 9 สงเคราะห์เข้ากันได้ แต่รูปธาตุและ
ธัมมธาตุ นับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ด้วยอายตนะนั้นนั่นแหละ. ด้วยเหตุนี้
อันนับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะเหล่านั้น ส่วนอายตนะเหล่านั้น พึงทราบ
อายตนะ 2 เหล่าใดว่านับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ 10 คือ โอฬาริกายตนะ
9 และมนายตนะ 1 เว้นรูปายตนะ และธัมมายตนะ. ธาตุทั้ง 2 แม้เหล่าใด
ที่นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธาตุเหล่านั้น พึงทราบว่า นับสง-
เคราะห์ไม่ได้ด้วยธาตุ 16 คือ โอฬาริกธาตุ 9 และวิญญาณธาตุ 7 เว้นรูป
ธาตุและธัมมธาตุ.
ในปัญหาที่ 7 สองบทว่า " ทฺวีหายตเนหิ " ได้แก่ ด้วยอายตนะ
2 คือ รูปายตนะและมนายตนะ. สองบทว่า " อฏฺฐหิ ธาตูหิ " ได้แก่
ด้วยธาตุ 8 คือ ด้วยรูปธาตุ และวิญญาณธาตุ 7.
ในปัญหาที่ 8 สองบทว่า " เอกาทสหายตเนหิ " หมายเอาสัป-
ปฏิฆธรรมทั้งหลายเว้นธัมมายตนะ และหมายเอาอุปปาทาธรรมทั้งหลาย เว้น
โผฎฐัพพายตนะ. แม้ในธาตุทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ. ก็การประกอบเนื้อ
ความในนิทเทสแห่งบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหน
หลังนั้นแล.
จบอรรถกถาสังคหิเตนอสังคหิตบท

3. อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส


[175] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยเวทนาขันธ์ สัญญา-
ขันธ์ สังขารขันธ์ สมุทยสัจ มัคคสัจ
โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ได้
โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์
อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? ธรรมเหล่านั้นยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว
สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 3 อายตนะ 1 ธาตุ 1.
[176] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยนิโรธสัจ โดยขันธ-
สังคหะ แต่สงเคราะห์ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรมเหล่านั้น
สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 1 ธาตุ 1.
[177] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยชีวิตินทรีย์ โดยขันธ-
สังคหะ แต่สงเคราะห์ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสงเคราะห์ ธรรมเหล่า
นั้นยกเว้นนิพพานโดยความเป็นขันธ์แล้ว สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 2 อายตนะ
1 ธาตุ 1.
[178] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์
สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญ-
ตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ อวิชชา สังขาร
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ผัสสะเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนา
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย กัมมภพเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
โดยขันธสังคหะ