เมนู

5. บุคคล ผู้โง่งมงาย เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้กุศลธรรม อกุศลธรรม ย่อมไม่รู้
สาวัชชธรรม อนวัชชธรรม ย่อมไม่รู้หีนธรรม ปณีตธรรม ย่อมไม่รู้ธรรม
ที่มีส่วนเปรียบด้วยของคำและของขาว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้โง่งมงาย.

อรรถกถาบุคคลให้แล้วดูหมิ่นเป็นต้น


ภิกษุรูปหนึ่งมีบุญมาก ย่อมเป็นผู้มีปกติได้ปัจจัย 4 เธอได้ปัจจัย 4
มีจีวรเป็นต้นแล้วย่อมถามโดยเอื้อเฟื้อกะภิกษุรูปอื่นผู้มีบุญน้อย เธอนั้นเมื่อ
ภิกษุผู้มีบุญมากถามอยู่บ่อย ๆ จึงรับเอาปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้นไป ทีนั้น
ภิกษุผู้มีบุญมากโกรธภิกษุผู้มีบุญน้อยนั้นหน่อยหนึ่ง ประสงค์จะให้เธอเกิด
ความเก้อเขิน จึงกล่าวว่า ภิกษุนี้ไม่ได้ปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ตาม
ธรรมดาของตน เพราะอาศัยเราจึงได้. บุคคลนี้จึงชื่อว่า ให้แล้วดูหมิ่น.
ก็บุคคลคนหนึ่งเมื่ออาศัยอยู่กับบุคคลคนหนึ่ง 2-3 ปี เขากระทำ
ความเคารพในบุคคลนั้นอยู่แต่กาลก่อน ต่อมาภายหลังเมื่อเวลาผ่านไป ๆ ไม่
กระทำความเคารพยำเกรงคือ ไม่ลุกขึ้นจากอาสนะบ้าง ไม่ไปสู่ที่บำรุงบ้าง
บุคคลนี้ชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วม.
บทว่า "อาเธยฺยมุโข" ได้แก่ ผู้เชื่อง่ายแต่ต้น อธิบายว่า ผู้มี
ความสำคัญอันตั้งไว้แล้วในคำแรกเท่านั้น. สองบทว่า "อธิมุจฺจิตา โหติ"
ได้แก่ ความเป็นผู้มีศรัทธา. ในคำว่า "อธิมุจฺจิตา โหติ" นี้มีนัยดังต่อไปนี้
บุคคลคนหนึ่งกล่าวถึงภิกษุผู้มีสมณสารูปนั่นแหละว่า "ภิกษุนี้ ไม่มีสมณสารูป"
ผู้นั้นครั้นฟังคำนั้นแล้ว เชื่ออย่างมั่นคง คือ เชื่อถึงที่สุด แม้ภิกษุผู้ชอบพอ
กันรูปอื่นกล่าวว่า "ภิกษุนี้มีสมณสารูป" ก็ไม่เชื่อฟังคำของภิกษุนั้นเลย เขา

กล่าวยืนยันว่าภิกษุรูปโน้นบอกข้าพเจ้าว่า "ภิกษุรูปนี้ ไม่มีสมณสารูป จึงเชื่อ
ถ้อยคำของภิกษุรูปก่อนเท่านั้น. แม้บุคคลอื่นอีก ย่อมกล่าวถึงภิกษุผู้มีศีลว่า
เป็นผู้ไม่มีศีล เธอเชื่อคำของผู้นั้นแล้ว แม้ภิกษุอื่นอีกกล่าวว่า "ภิกษุนี้ ไม่
มีสมณสารูป ไม่ควรเข้าไปสู่สำนักของท่าน" ดังนี้ เธอไม่เชื่อถือคำของผู้นั้น
ย่อมเชื่อฟังถ้อยคำของภิกษุรูปก่อน เท่านั้น. บุคคลอื่นอีก ย่อมยึดถือถ้อยคำ
ที่ผู้อื่นกล่าวถึงความดีบ้างความชั่วบ้างนั่นแหละ บุคคลแม้นี้ชื่อว่า ผู้มีความ
เชื่อถืออันตั้งไว้ อธิบายว่า ผู้มีความเชื่ออันตั้งไว้นี้ ฟังคำใด ๆ ย่อมเป็นผู้มี
ความเชื่อถืออันตั้งไว้ในคำนั้น ๆ.
บทว่า "โลโล" ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้โลเล คือ ผู้หวั่นไหว เพราะ
ความที่ตนเป็นผู้หวั่นไหวด้วยความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น เพราะเหตุที่
ศรัทธาเป็นต้น เป็นธรรมชาติตั้งอยู่ชั่วกาลนิดหน่อย. บทว่า "อิตฺตรสทฺโท"
ได้แก่ ผู้มีศรัทธาน้อย คือ มีศรัทธาไม่บริบูรณ์. แม้ในคำที่เหลือ ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. บุคคลผู้มีศรัทธาอันไม่จริงจังนี้ ย่อมเป็นไปด้วยสามารถแห่งการ
คบบ่อย ๆ ในอธิการนี้. ชื่อว่าความรัก จะเป็นความรักที่เกิดจากศรัทธาก็ดี
จะเป็นความรักอันเกิดจากตัณหาก็ดี ก็ควร. ความเลื่อมใส ก็คือความเลื่อมใส
ที่เกิดจากศรัทธานั่นแหละ. ข้อว่า "เอวํ ปุคฺคโล โลโล โหติ" ความว่า
บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้โลเล เพราะความที่ตนเป็นผู้มีศรัทธานิดหน่อยเป็นต้น อธิบาย
ว่า บุคคลผู้โลเลนี้ เป็นผู้มีฐานะอันไม่ตั้งมั่น ดุจผ้าที่ย้อมด้วยขมิ้น ดุจหลัก
ที่ปักไว้ในกองแกลบ ดุจลูกฟักที่เขาวางไว้บนหลังม้า เขาย่อมเลื่อมใสโดย
กาลครู่หนึ่ง ย่อมโกรธโดยกาลครู่หนึ่ง หมายคามว่าประเดี๋ยวรักประเดี๋ยวชัง.
ข้อว่า "มนฺโท โมมูโห" ความว่าบุคคลชื่อว่า โง่ เพราะไม่มีญาณ (อญาณํ)
ชื่อว่า งมงาย เพราะความเป็นผู้ไม่ฉลาด อธิบายว่า ผู้หลงใหลมาก.

บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5
จำพวก เป็นไฉน ?

[143] นักรบอาชีพ 5 จำพวก คือ
1. นักรบบางคนในโลกนี้ พอเห็นปลายธุลีเท่านั้น ย่อมชะงัก ย่อม
หยุด ย่อมไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบ นักรบอาชีพบางคนแม้เห็นปานนี้
ย่อมมีในโลกนี้ นี้เป็นนักรบจำพวกที่ 1 ที่มีปรากฏอยู่ในโลก.
2. นักรบอาชีพอื่นยังมีอยู่อีก คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้เห็น
ปลายธุลีแล้วยังอดทนได้ แต่ว่าพอเห็นปลายธงเท่านั้น ย่อมชะงัก ย่อมหยุด
ย่อมไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบ นักรบอาชีพบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมี
ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ 2 ที่มีปรากฏอยู่ในโลก.
3. นักรบอาชีพอื่นยังมีอยู่อีก คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้เห็น
ปลายธุลียังอดทนได้ เห็นปลายธงยังอดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงพลนิกาย
อึกทึกเท่านั้น ย่อมชะงัก ย่อมหยุด ย่อมไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบ นักรบ
อาชีพบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ 3
ที่มีปรากฏอยู่ในโลก.
4. นักรบอาชีพอื่นยังมีอยู่อีก คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้เห็น
ปลายธุลียังอดทนได้ เห็นปลายธงยังอดทนได้ ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก
ยังอดทนได้ แต่พอถูกอาวุธแม้แต่เล็กน้อย ย่อมเดือดร้อนระส่ำระสาย นักรบ
อาชีพบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ 4
ที่มีปรากฏอยู่ในโลก.
5. นักรบอาชีพอื่นยังมีอยู่อีก คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้เห็น
ปลายธุลี เห็นปลายธง ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ถูกอาวุธก็อดทนได้ นักรบ

นั้นชนะสงครามนั้นแล้วได้ชื่อว่า ผู้มีสงครามอันชนะวิเศษแล้ว ย่อมครอบ-
ครองความเป็นยอดนักรบนั้นนั่นแลไว้ได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เห็นปานนี้
ย่อมมีในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ 5 ที่มีปรากฏอยู่ในโลก.

[144] นักรบอาชีพ 5 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
ฉันใด บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏ
อยู่ในภิกษุฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ 5 จำพวก เป็นไฉน ?
1. ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ พอเห็นปลายธุลีเท่านั้น ย่อมจมอยู่ใน
มิจฉาวิตก ย่อมหยุด ย่อมดำรงอยู่ไม่ได้ ย่อมไม่อาจสืบต่อพรหมจรรย์ได้
แสดงความเป็นผู้ทุรพลในสิกขาออกให้ปรากฏ บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อความ
เป็นคนเลว ถามว่า ปลายธุลีของภิกษุนั้นเป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุในศาสนา
นี้ ได้ยินข่าวว่าในบ้านหรือในนิคมชื่อโน้น มีสตรีหรือกุมารีรูปงามน่ารักน่า
เลื่อมใส ประกอบพร้อมด้วยผิวพรรณและทรวดทรงอันงามยิ่ง ภิกษุนั้นครั้น
ได้ยินข่าวนั้นแล้ว ย่อมจมอยู่ในมิจฉาวิตก ย่อมหยุด ย่อมไม่ดำรงอยู่ได้
ย่อมไม่อาจสืบต่อพรหมจรรย์ได้ แสดงความเป็นผู้ทุรพลในสิกขาออกให้ปรากฏ
บอกลาสิกขาแล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว นี้ชื่อว่าปลายธุลีของภิกษุนั้น
นักรบอาชีพนั้น พอเห็นปลายธุลีเหล่านั้น ย่อมชะงัก ย่อมหยุด ย่อมไม่ตั้ง
มั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็อุปไมยฉันนั้น บุคคลบางคน
แม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ 1
นี้ มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ.

2. ภิกษุจำพวกอื่นยังมีอยู่อีก คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นปลาย
ธุลียังอดทนได้ แต่พอเห็นปลายธงเท่านั้น ย่อมจมอยู่ในมิจฉาวิตก ย่อมหยุด
ย่อมไม่ดำรงอยู่ได้ ย่อมไม่อาจสืบต่อพรหมจรรย์ได้ แสดงความเป็นผู้ทุรพล
ในสิกขาออกให้ปรากฏ บอกลาสิกขาแล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว ปลาย
ธงของภิกษุนั้น เป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุในศาสนานี้ไม่เพียงแต่ได้ยินข่าวเล่า
ลือว่า ในบ้านหรือในนิคมชื่อโน้นมีสตรีหรือกุมารีรูปงามน่าดูน่าเสื่อมใส ประ-
กอบพร้อมด้วยผิวพรรณและทรวดทรงอันงามยิ่งดังนี้ แต่เธอได้เห็นสตรีหรือ
กุมารีรูปงาม น่าดูน่าเลื่อมใส ประกอบพร้อมด้วยผิวพรรณและทรวดทรงอัน
งามยิ่งด้วยตนเอง ครั้นเธอเห็นเข้าแล้วย่อมจมอยู่ในมิจฉาวิตก ย่อมหยุด ไม่
ดำรงอยู่ได้ ไม่อาจสืบต่อพรหมจรรย์ได้ แสดงความเป็นผู้ทุรพลในสิกขาออก
ให้ปรากฏ บอกลาสิกขา เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว นี้ชื่อว่าปลายธงของ
ภิกษุนั้น นักรบอาชีพนั้น เห็นปลายธุลียังอดทนได้แต่พอเห็นปลายธงเท่านั้น
ย่อมชะงัก ย่อมหยุด ย่อมไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบได้แม้ฉันใด ภิกษุนี้
ก็มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลบางคนเห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ บุคคลผู้เปรียบ
ด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ 2 นี้ มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ.

3. ภิกษุจำพวกอื่นยังมีอยู่อีก คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นปลาย
ธุลีเห็นปลายธง ยังอดกั้นได้ แต่ว่าพอได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึกเท่านั้น ย่อม
จมอยู่ในมิจฉาวิตก ย่อมหยุด ย่อมไม่ดำรงอยู่ได้ ย่อมไม่อาจเพื่อสืบต่อพรหม-
จรรย์ได้ แสดงความเป็นผู้ทุรพลในสิกขาออกให้ปรากฏ บอกลาสิกขาแล้ว
เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว การได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึกของภิกษุนั้น เป็น
อย่างไร ? คือ มาตุคามในโลกนี้ เข้าไปหาภิกษุผู้อยู่ในป่า อยู่โคนไม้ หรือ
อยู่เรือนว่างเปล่าแล้ว ย่อมยิ้ม ย่อมทักทาย ย่อมซิกซี้ ย่อมยั่วเย้า เธอถูก

มาตุคามยิ้มยั่ว ทักทาย ซิกซี้ ยั่วเย้าอยู่ ย่อมจมอยู่ในมิจฉาวิตก ย่อมหยุด
ย่อมไม่ดำรงอยู่ได้ ย่อมไม่อาจสืบต่อพรหมจรรย์ได้ แสดงความเป็นผู้ทุรพล
ในสิกขาออกให้ปรากฏ บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว นี้ชื่อว่า การ
ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึกของภิกษุนั้น นักรบอาชีพนั้น เห็นปลายธุลีเห็นปลาย
ธง ย่อมอดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงดังเท่านั้น ย่อมชะงัก ย่อมหยุด ย่อม
ไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่อาจเข้าสู้รบ แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น บุคคล
บางคนแม้เห็นปานนี้ย่อมมีในโลกนี้ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพคนที่
3 นี้ มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ.

4. ภิกษุจำพวกอื่นยังมีอยู่อีก คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นปลาย
ธุลี เห็นปลายธง ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ย่อมอดกลั้นได้ แต่เมื่อถูกอาวุธ
เล็กน้อย ย่อมเดือดร้อน ย่อมกระสับกระส่าย การถูกอาวุธเล็กน้อยของภิกษุ
นั้นเป็นอย่างไร ? คือ มาตุคามในโลกนี้เข้าไปหาภิกษุผู้อยู่ในป่า อยู่โคนไม้
อยู่เรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งใกล้ชิด ย่อมนอนใกล้ชิด ย่อมกอดรัด ภิกษุนั้น
ถูกมาตุคามนั่งใกล้ชิด นอนใกล้ชิดกอดรัด ไม่แสดงความเป็นผู้ทุรพลเพื่อลา
สิกขา แต่ ย่อมเสพเมถุนธรรม นี้ชื่อว่า การถูกอาวุธเล็กน้อยของภิกษุนั้น
นักรบอาชีพนั้น เห็นปลายธุลี เห็นปลายธง ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ย่อม
อดทนไว้ได้ แต่ว่าย่อมเดือดร้อน ย่อมระส่ำระสายในเมื่อถูกอาวุธเล็กน้อย
แม้ฉันใด ภิกษุนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลก
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพคนที่ 4 นี้ มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ.
5. ภิกษุจำพวกอื่นยังมีอยู่อีก คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นปลาย
ธุลี เห็นปลายธง ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ถูกอาวุธเล็กน้อย ย่อมอดทนได้
บุคคลนั้นชนะสงครามนั้นแล้ว ชื่อว่าผู้มีสงครามอันชนะวิเศษแล้ว ย่อมบรรลุ

ความมีชัยในสงครามนั้นนั่นแล การได้ชัยชนะในสงครามของภิกษุนั้น เป็น
อย่างไร ? คือ มาตุคามนางคนในโลกนี้เข้าไปหาภิกษุผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ อยู่
เรือนว่างเปล่า แล้วย่อมนั่งใกล้ชิด ย่อมนอนใกล้ชิด กอดรัด ภิกษุนั้นถูก
มาตุคามนั่งใกล้ชิด นอนใกล้ชิด กอดรัด ก็ปลดเปลื้องเอาตัวรอดแล้วหลีก
ไปตามปรารถนา ภิกษุนั้นย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด เช่นป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ป่าดง กลางแจ้ง กองฟาง เธอไปอยู่ในป่า โคน
ต้นไม้ หรือเรือนว่างเปล่า นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอย่อมละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา สำเร็จอิริยาบถอยู่ ยังจิตให้
ผ่องใสจากอภิชฌา ละความขัดเคืองคือพยาบาทแล้ว มีจิตไม่เบียดเบียน มี
ความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์สำเร็จอิริยาบถอยู่ ยังจิตให้
ผ่องใสจากความขัดเคือง คือพยาบาท ละถีนมิทธะ เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ
มีสัญญาในแสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะ สำเร็จอิริยาบถอยู่ ยังจิตให้ผ่องใส
จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตเข้าไปสงบระงับใน
ภายใน ยังจิตให้ผ่องใสจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามพ้นจาก
วิจิกิจฉา ไม่เป็นผู้มีการกล่าวว่าอย่างไรในกุศลธรรมทั้งหลาย ยังจิตให้ผ่องใส
จากวิจิกิจฉา ภิกษุนั้นละนิวรณ์เหล่านี้อันเป็นอุปกิเลสแห่งใจ อันทำปัญญา
ให้ทุรพลเสียได้แล้ว สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้า
ถึงปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติ และมีสุขเกิดแต่วิเวก สำเร็จอิริยาบถอยู่
เพราะความสงบแห่งวิตกวิจารเข้าถึงทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สำเร็จ
อิริยาบถอยู่ ภิกษุนั้นครั้นจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสดุจเนินปราศ-
จากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงานตั้งมั่นแล้ว ถึงความไม่
หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมยังจิตให้น้อมไปในญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลาย เธอย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ-
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิด
ขึ้นแห่งอาสวะ นี้ความดับไปแห่งอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อ
เธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ความรู้ว่า หลุดพนแล้วย่อมมี ย่อม
รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี นี้คือการได้ชัยชนะในสงครามของภิกษุนั้น นักรบ
อาชีพนั้น เห็นปลายธุลี ปลายธง ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ถูกอาวุธเล็กน้อย
ย่อมอดทนได้ บุคคลนั้นชนะสงครามแล้ว ชื่อว่าผู้มีสงครามอันชนะวิเศษแล้ว
ย่อมบรรลุความมีชัยในสงครามนั้นนั่นแล แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
บุคคลบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ บุคคลเปรียบด้วยนักรบอาชีพ
ที่ 5 นี้ มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ.

บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏ
อยู่ในหมู่ภิกษุ.


อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวก


วินิจฉัย ในบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ. บทว่า "โยธาชีวา"
ได้แก่ บุคคลผู้เข้าไปอาศัยการรบเลี้ยงชีพเป็นอยู่. บทว่า "รชคฺคํ" ได้แก่
กองธุลีที่ฟุ้งขึ้นจากแผ่นดิน ที่ช้างม้าเป็นต้นเหยียบย่ำ. บทว่า "น สนฺถมฺภติ"
ได้แก่ ครั้นกระด้างแล้วย่อมไม่อาจเพื่อจะตั้งมั่นได้. สองบทว่า "สหติ
รชคฺคํ"
ความว่า นักรบบางพวกแม้เห็นกองธุลีที่ฟุ้งขึ้นไปจากแผ่นดินที่
ช้างม้าเป็นต้น เหยียบย่ำ ยังอดทนได้. บทว่า "ธชคฺคํ" ได้แก่ ยอดธง