เมนู

อรรถกถาปฏิจจสมุปปาทนิทเทส


ใน ปฏิจจสมุปปาทนิทเทส1 พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรง เริ่มคำ
ปุจฉาว่า " อวิชฺชา กตีหิ ขนฺเธหิ " แต่ทรงแสดงคำวิสัชนาอย่างนี้เทียวว่า
" อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เอเกน ขนฺเธน " เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า
" สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ " อธิบายว่า เมื่อปฏิสนธิเป็นไปแล้ว วิปากวิญญาณ
แม้ทั้งปวงก็เป็นไป. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า " สตฺตหิ ธาตูหิ
สงฺคหิตํ "
แม้ในนามรูป ก็พึงทราบด้วยสามารถแห่งความเป็นไปของปฏิสนธิ
นั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น พระองค์ทรงรวบรวมแม้ซึ่งสัททายตนะ แล้วแสดง
การนับสงเคราะห์ไว้ด้วยอายตนะ 11 ในปฏิจจสมุปปาทนิทเทสนี้.
พึงทราบขันธเภทะ (คือ การแยกขันธ์) ในธรรมทั้งหลาย มีผัสสะ
เป็นต้น.
จริงอยู่ ผัสสะ นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์อย่างหนึ่ง เวทนาขันธ์ก็
นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์อย่างหนึ่ง. สำหรับตัณหา อุปาทาน กรรมภพ นับ
สงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์เท่านั้น. อนึ่ง บทแห่งภพ ทรงจำแนก 11 อย่าง
ด้วยสามารถแห่งกัมมภพเป็นต้นไว้ในนิทเทสนี้. บรรดาภพเหล่านั้น กรรมภพ
ทรงแสดงรวมกับภพเหล่านั้น เพราะความเป็นคำวิสัชนาเช่นกับผัสสะเป็นต้น.
อุปปัตติภพ กามภพ สัญญาภพ ปัญจโวการภพทั้งหลาย ทรงแสดงรวมกัน
เพราะความเป็นคำวิสัชนาเช่นกับเป็นของกันและกัน. แต่เพราะสภาวธรรมอัน
กรรมเข้าไปยึดถือไว้โดยความเป็นผลเทียม ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
" เอกาทสหายตเนหิ สตฺตรสหิ ธาตูหิ " จริงอยู่ สัททายตนะ อันกรรม

1. บาลีข้อ 57-68

มิได้ยึดไว้โดยความเป็นผล (คือ มิใช่เป็นกัมมชรูป) สัททายตนะนั้น พระองค์
จึงไม่ได้ทรงถือเอาในที่นี้.
ใน รูปภวนิทเทส สองบทว่า " ปญฺจหิ อายตเนหิ " ได้แก่ ด้วยจัก
ขวายตนะ โสตายตนะ มนายตนะ รูปายตนะ และธัมมายตนะ.
สองบทว่า " อฏฺฐหิ ธาตูหิ " ได้แก่ ธาตุ 8 คือจักขุธาตุ โสตธาตุ
จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ รูปธาตุ ธัมมธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณ-
ธาตุ. ภพทั้ง 3 แม้มีอรูปภพเป็นต้น แสดงรวมกัน เพราะความเป็นคำวิสัชนา
ทำนองเดียวกัน. อสัญญีภพ เอกโวการภพ ก็ฉันนั้น.
ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า " ทฺวีหิ อายตเนหิ " ได้แก่ อายตนะ 2
คือ รูปายตนะและธัมมายตนะ. แม้ในธาตุทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ.
อนึ่งในนิทเทสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกรูปายตนะขึ้นแสดง
เพราะความที่รูปายตนะแห่งพรหมนั้นเป็นอารมณ์แก่พรหมทั้งหลายที่เหลือผู้อยู่
ในพื้นพิภพเดียวกัน เพราะการเกิดขึ้นแห่งจักขุ.
คำว่า " ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ รูปชาติ นับสงเคราะห์ได้ด้วยรูป
ขันธ์ อรูปชาติ นับสงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์. แม้ในชราและมรณะ ก็นัยนี้.
คำว่า " เอเกน ขนฺเธน " แม้ในธรรมมีโสกะเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบขันธ์
ที่แปลกกันอย่างนี้ว่า
โสกทุกขโทมนัสสะ นับสงเคราะห์ได้ด้วยเวทนาขันธ์
ปริเทวะ นับสงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์
อุปายาสะเป็นต้น นับสงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์.
คำว่า " อิทฺธิปาโท ทฺวีหิ ขนฺเธหิ " เป็นต้น ได้แก่ นับสงเคราะห์
ได้ด้วยสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ด้วยมนายตนะ ธัมมายตนะ ด้วยธัมมธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ.

คำว่า " ฌานํ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ " ได้แก่ ด้วยเวทนาขันธ์ และสังขาร
ขันธ์. ธรรมทั้งหลายมี อัปปมัญญา เป็นต้น อธิบายไว้รวมกัน เพราะ
ความเป็นคำวิสัชนาทำนองเดียวกัน. แต่ จิต แม้ตั้งไว้ในลำดับแห่งเจตนา ก็
ทรงแสดงในภายหลัง เพราะมีคำวิสัชนาไม่เหมือนกัน. บรรดาบททั้งหลายมี
อัปปมัญญาเป็นต้นเหล่านั้น คำว่า " เอเกน ขนฺเธน " ได้แก่ เวทนานับ
สงเคราะห์ได้ด้วยเวทนาขันธ์ สัญญานับสงเคราะห์ได้ด้วยสัญญาขันธ์ ธรรมที่
เหลือนับสงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์ ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบขันธ์ที่แปลกกัน
ด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสังคหาสังคหบทในอัพภันตรมาติกา
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง พาหิรมาติกา1 จึงเริ่มคำว่า " กุสลา
ธมฺม"
เป็นอาทิ. บรรดามาติกาเหล่านั้น ในเวทนาติกะ2 คำว่า "ตีหิ ธาตูหิ"
ได้แก่ ด้วยกายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ. คำว่า "สตฺตหิ
ธาตูหิ"
ได้แก่ ด้วยธาตุ 7 คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆาน-
วิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ. ใน
วิปากติกะ3 คำว่า "อฏฺฐหิ ธาตูหิ" ได้แก่ ด้วยธาตุทั้ง 7 เหล่านั้นนั่นแหละ
กับด้วยกายวิญญาณธาตุ1. แต่วิปากธัมมธัมมา ถือเอารวมกัน เพราะคำวิสัชนา
เช่นเดียวกันกับด้วยสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะทั้งหลาย. ก็แลนิทเทสเหล่านั้นแสดงไว้
ฉันใด ในบทติกะและทุกะทั้งปวง (ในพาหิรมาติกานี้) ก็ฉันนั้น คือว่า บท
ใดๆ เป็นคำวิสัชนาร่วมกับบทใด ๆ บทนั้น ๆ แม้ไม่เป็นไปตามลำดับ ท่าน
ก็ถือเอาคำวิสัชนาพร้อมกับด้วยบทนั้น ๆ. สังคหาสังคหนัยในที่นี้ พึงทราบ
โดยทำนองที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสังคหาสังคหปทนิทเทส

1. บาลีข้อ 73-74 2. ข้อ 75-76 3. ข้อ 77-79

2. สังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส


[167] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยจักขายตนะ ฯลฯ โผฏ-
ฐัพพายตนะ
ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยจักขุธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ
โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ธรรม-
เหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? ธรรมเหล่านั้น
สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 8.
[168] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยจักขุวิญญาณธาตุ โสต-
วิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กานวิญญาณธาตุ
มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดย
อายตนสังคหะ ธาตุสังคหะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4
อายตนะ 11 ธาตุ 12.
[169] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์
ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์
โดย
ขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนะสังคหะ ธาตุสังคหะ ฯลฯ
ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 8.
[170] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยอสัญญาภพ เอกโวการ-
ภพ
โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนะสังคหะ ธาตุสังคหะ
ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 3 ธาตุ 9.
[171] ธรรมเหล่าใด สงเคราะห์ได้ด้วยปริเทวะ เเละ สนิทัสสน-
สัปปฏิฆธรรม
โดยขันธสังคหะ แต่สงเคราะห์ไม่ได้ โดยอายตนะสังคหะ ธาตุ
สังคหะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 8.