เมนู

5 พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาสวะทั้งหลายเกิดแต่การต้องอาบัติ ย่อมไม่มีแก่ท่าน
แล อาสวะทั้งหลายเกิดแต่ความเดือดร้อน ย่อมไม่เจริญยิ่งแก่ท่าน ทางที่ดีที่
สุด ท่านผู้มีอายุ จงบรรเทาอาสวะทั้งหลายซึ่งเกิดแต่ความเดือดร้อน จงยังจิต
และปัญญาให้เจริญ ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านจักเป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ 5 นี้.
4. บุคคลใด ไม่ต้องอาบัติ ไม่มีความเดือดร้อน ทั้งไม่รู้ตามความ
เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งอกุศล-
ธรรมอันลามก ซึ่งเกิดแล้วแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นเป็นผู้อันบุคคลที่ 5 พึง
กล่าวอย่างนี้ว่า อาสวะทั้งหลายซึ่งเกิดแต่ความต้องอาบัติ ย่อมไม่มีแก่ท่านแล
อาสวะซึ่งเกิดแต่ความเดือดร้อน ย่อมไม่เจริญยิ่งแก่ท่าน ทางดีที่สุด ขอท่าน
ผู้มีอายุ จงยังจิตและปัญญาให้เจริญ ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านจักเป็นผู้เสมอ
ด้วยบุคคลที่ 5 นี้.
5. บุคคล 4 จำพวกเหล่านี้ อันบุคคลที่ 5 คือ พระขีณาสพนี้
กล่าวสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะโดย
ลำดับ.

อรรถกถาปัญจกนิทเทส


อธิบายบุคคล 5 จำพวก


บทว่า "ตตฺร" ได้แก่ บุคคลที่ท่านยกขึ้นแสดงไว้ในหนหลัง โดย
นัยเป็นต้นว่า "อารมฺภติ จ วิปฺปฏิสารี จ โหติ" เหล่านั้น. บทว่า "ยฺวายํ"
ตัดบทเป็น โย อยํ. อารัมภะ ศัพท์ ในคำว่า "อารมฺภติ" นี้ ย่อมเป็นไป
ในอรรถว่ากรรม คือการกระทำ 1 ในกิริยา คือ กิจ 1 ในหิงสนะ คือ การ
เบียดเบียน 1 ใน อาปัตติวีติกกมะ คือ การล่วงอาบัติ 1

จริงอย่างนั้น อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า กรรม ในคำว่า "ยํกิญฺจิ
ทุกฺขํ สมฺโภติ สพฺพํ อารมฺภปจฺจยา"
แปลว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิด
ขึ้น ทุกข์ทั้งหมดมีกรรมเป็นปัจจัย.
อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า กิริยา ในคำว่า "มหายญฺญา
มหารมฺภา น เต โหนฺติ มหปฺผลา"
แปลว่า ยัญใหญ่ เป็น กิริยาที่ใหญ่
แต่ยัญเหล่านั้นไม่มีผลมาก.
อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า หิงสนะ คือ การเบียดเบียน ในคำนี้ว่า
"สมณํ โคตมํ อุทฺทิสฺส ปาณํ อารมฺภติ" แปลว่า ย่อมฆ่าสัตว์ อุทิศ
เจาะจงต่อพระสมณโคดม.
อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า วิริยะ คือ ความเพียร ในคำนี้ว่า
"อารมฺภถ นิกฺกมล ยุญฺชถ พุทฺธสาสเน" แปลว่า ท่านทั้งหลาย จง
ปรารภความเพียร จงบากบั่น จงประกอบธุระในพระพุทธศาสนา.
อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า วิโกปนะ คือ การพรากทำลาย ใน
คำนี้ว่า "พีชคามภูตคามสมารมฺภา ปฏิวิรโต โหติ" แปลว่า ภิกษุ
เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
อารัมภะศัพท์นี้มาในอรรถว่า อาปัตติวีติกกมะ คือการล่วงอาบัติ
ของภิกษุ ในคำนี้ว่า "อารมฺภติ วิปฺปฏิสารี โหติ" แปลว่า ภิกษุต้อง
อาบัติย่อมเป็นผู้เดือดร้อน. เพราะฉะนั้น จึงมีเนื้อความในที่นี้ว่า ภิกษุย่อม
ต้องอาบัติ ด้วยสามารถแห่งการล่วงอาบัติด้วย และย่อมเป็นผู้เดือดร้อน
เพราะการต้องอาบัตินั้นเป็นปัจจัยด้วย ดังนี้.
บทว่า "เจโตวิมุตฺตึ" ได้แก่ ผลสมาธิ. บทว่า "ปญฺญาวิมุตฺตึ"
ได้แก่ผลญาณ. ข้อว่า "ยถาภูตํ นปฺปชานาติ" ได้แก่ ย่อมไม่รู้ตามความเป็น

จริง เพราะความที่ตนเป็นผู้ยังไม่บรรลุคุณวิเศษ. บทว่า "ยตฺถสฺส" ตัด
บทเป็น ยตฺถ อสฺส แปลว่า ของบุคคลนั้นมีอยู่ ในที่ใด. อธิบายว่า อกุศล
ธรรมอันลามก อ้นเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ เพราะถึง
ฐานะใด.
ถามว่า ก็อกุศลธรรมเหล่านั้นถึงฐานะอะไรแล้ว จึงดับไปโดยไม่
เหลือ.
ตอบว่า ถึงฐานะคือพระอรหัตมรรค จึงดับไปโดยไม่เหลือ.
ก็ อกุศลธรรม อันลามกของท่านผู้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ชื่อว่า ดับ
ไปแล้วโดยไม่เหลือ แม้เมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ผลจิตเท่านั้น พึงทราบ
ว่าท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจแห่งมรรคในที่นี้. บทว่า "อารมฺภชา" ได้แก่
เกิดจากการล่วงอาบัติ. บทว่า "วิปฺปฏิสารชา" ได้แก่ เกิดจากความเดือด
ร้อน. บทว่า "ปวฑฺฒนฺติ" ได้แก่ อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญด้วยการเกิดขึ้น
บ่อย ๆ. บทว่า "สาธุ" ได้แก่ ความดีที่เกิดจากการขอร้อง. มีคำอธิบาย ที่ท่าน
กล่าวไว้ดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ก็กรรมอันพลังพลาดมีอยู่เพียงไรหนอ แม้เมื่อ
ความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ข้าพเจ้าขอวิงวอนท่านผู้มีอายุ ขอท่านผู้มีอายุ จง
ละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติ ด้วยการแสดงอาบัติของภิกษุผู้ควรแสดง
ด้วยการออกจากอาบัติของภิกษุผู้ควรออกจากอาบัติ ด้วยการกระทำให้แจ้งซึ่ง
อาบัติของภิกษุผู้ควรกระทําให้แจ้ง แล้วบรรเทาซึ่งอาสวะทั้งหลายอันเกิดจาก
ความเดือดร้อน ด้วยการพิจารณาถึงภาวะที่ตนตั้งอยู่ในส่วนแห่งความบริสุทธิ์
แล้วจงนำอาสวะทั้งหลายออก แล้วจงยังวิปัสสนาจิต และ วิปัสสนาปัญญา
ให้เจริญเถิด.

ข้อว่า "อมุนา ปญฺจเมน ปุคฺคเลน" ได้แก่ บุคคลผู้เป็นพระ-
ขีณาสพเป็นที่ 5 นั้น. สองบทว่า "สมสโม ภวิสฺสติ" อธิบายว่า ผู้อัน
พระขีณาสพพึงโอวาทอย่างนี้ว่า "จักเป็นผู้เสมอ ด้วยความเป็นผู้เสมอกันด้วย
โลกุตตรคุณ นั่นแหละ". ข้อว่า "อารมฺภติ น วิปฺปฏิสารี โหติ" ได้แก่
ภิกษุผู้ต้องอาบัติ. ก็เพื่อจะแสดงอาบัตินั้นจึงแสวงหาภิกษุผู้ชอบพอกัน เพราะ
ฉะนั้นเธอจึงไม่เป็นผู้เดือดร้อน.
ท่านอรรถกถาจารย์ได้กล่าวคำอธิบายไว้ในคัมภีร์อรรถกถาอังคุตตร-
นิกายว่า "เธอย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อนเพราะออกจากอาบัติได้แล้ว". ข้อว่า
"นารมฺภติ วิปฺปฏิสารี โหติ" ได้แก่ ภิกษุผู้ไม่ต้องอาบัติ แต่เพราะเธอ
เป็นผู้ไม่ฉลาดในวินัยบัญญัติ เป็นผู้มีความสำคัญอนาบัติ ว่าเป็นอาบัติ จึง
มีความวิปปฏิสาร คือ เดือดร้อน. แต่ในอังคุตตรนิกายอรรถกถา อธิบายว่า
ภิกษุต้องอาบัติครั้งเดียว ออกจากอาบัตินั้นแล้วภายหลังไม่ต้องอาบัติแม้ไร ๆ
อีกก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอก็ไม่อาจเพื่อจะพ้นจากความวิปปฏิสารได้. ข้อว่า
"น อารมฺภติ น วิปฺปฏิสารี โหติ" ความว่า ทั้งไม่ต้องอาบัติ ทั้งไม่
เดือดร้อน.
ถามว่า ก็บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติ และไม่เดือดร้อนนั้นเป็นไฉน.
ตอบว่า บุคคลผู้มีความเพียรอันสละแล้ว. อธิบายว่า ก็บุคคลผู้มีความ
เพียรอันสละแล้วนั้น แม้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมไม่บำเพ็ญข้อปฏิบัติด้วยการ
คิดว่า ประโยชน์อะไรของเราด้วยการปรินิพพานในพุทธกาลนี้ เราจักปรินิพ-
พานในสมัยแห่งพระเมตเตยยสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาล. แม้เธออัน
ใคร ๆ พึงโอวาทว่า "ผู้มีอายุเป็นผู้ประมาทอยู่เพื่อประโยชน์อะไร ขึ้นชื่อว่า
คติของปุถุชนเป็นของไม่แน่นอน ท่านผู้มีอายุ ก็ใครเล่าจะรู้ว่า บุคคลพึงได้

หรือไม่ได้ซึ่งความเป็นผู้มีหน้าเฉพาะต่อพระเมตเตยยสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะ
ฉะนั้น ท่านจงเจริญวิปัสสนา เพื่อต้องการแก่พระอรหัตเถิด. คำที่เหลือ
บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในบททั้งปวงนั้นแหละ.

[142] 1. บุคคล ให้แล้วดูหมิ่น เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย
เภสัชบริขารแก่บุคคลใด แล้วพูดแก่บุคคลนั้นว่า คนนี้ได้แต่รับของที่เขาให้
ดังนี้ ชื่อว่า ให้แล้วดูหมิ่นบุคคลนั้น บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ให้แล้วดูหมิ่น.
2. บุคคล ดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วม เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ คนย่อมอยู่ร่วมกับด้วยบุคคลใด สิ้น 2 ปี
หรือ 3 ปี ย่อมดูหมิ่นบุคคลนั้นด้วยการอยู่ร่วม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ดูหมิ่น
ด้วยการอยู่ร่วม.

3. บุคคล ผู้เชื่อง่าย เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อเขาสรรเสริญ หรือติเตียนผู้อื่น ย่อมเชื่อ
ทันที บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้เชื่อง่าย.
4. บุคคล ผู้โลเล เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธาไม่จริงจัง มีความภักดีไม่จริง
จัง มีความรักไม่จริงจัง มีความเลื่อมใสไม่จริงจัง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้โลเล.

5. บุคคล ผู้โง่งมงาย เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้กุศลธรรม อกุศลธรรม ย่อมไม่รู้
สาวัชชธรรม อนวัชชธรรม ย่อมไม่รู้หีนธรรม ปณีตธรรม ย่อมไม่รู้ธรรม
ที่มีส่วนเปรียบด้วยของคำและของขาว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้โง่งมงาย.

อรรถกถาบุคคลให้แล้วดูหมิ่นเป็นต้น


ภิกษุรูปหนึ่งมีบุญมาก ย่อมเป็นผู้มีปกติได้ปัจจัย 4 เธอได้ปัจจัย 4
มีจีวรเป็นต้นแล้วย่อมถามโดยเอื้อเฟื้อกะภิกษุรูปอื่นผู้มีบุญน้อย เธอนั้นเมื่อ
ภิกษุผู้มีบุญมากถามอยู่บ่อย ๆ จึงรับเอาปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้นไป ทีนั้น
ภิกษุผู้มีบุญมากโกรธภิกษุผู้มีบุญน้อยนั้นหน่อยหนึ่ง ประสงค์จะให้เธอเกิด
ความเก้อเขิน จึงกล่าวว่า ภิกษุนี้ไม่ได้ปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ตาม
ธรรมดาของตน เพราะอาศัยเราจึงได้. บุคคลนี้จึงชื่อว่า ให้แล้วดูหมิ่น.
ก็บุคคลคนหนึ่งเมื่ออาศัยอยู่กับบุคคลคนหนึ่ง 2-3 ปี เขากระทำ
ความเคารพในบุคคลนั้นอยู่แต่กาลก่อน ต่อมาภายหลังเมื่อเวลาผ่านไป ๆ ไม่
กระทำความเคารพยำเกรงคือ ไม่ลุกขึ้นจากอาสนะบ้าง ไม่ไปสู่ที่บำรุงบ้าง
บุคคลนี้ชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วม.
บทว่า "อาเธยฺยมุโข" ได้แก่ ผู้เชื่อง่ายแต่ต้น อธิบายว่า ผู้มี
ความสำคัญอันตั้งไว้แล้วในคำแรกเท่านั้น. สองบทว่า "อธิมุจฺจิตา โหติ"
ได้แก่ ความเป็นผู้มีศรัทธา. ในคำว่า "อธิมุจฺจิตา โหติ" นี้มีนัยดังต่อไปนี้
บุคคลคนหนึ่งกล่าวถึงภิกษุผู้มีสมณสารูปนั่นแหละว่า "ภิกษุนี้ ไม่มีสมณสารูป"
ผู้นั้นครั้นฟังคำนั้นแล้ว เชื่ออย่างมั่นคง คือ เชื่อถึงที่สุด แม้ภิกษุผู้ชอบพอ
กันรูปอื่นกล่าวว่า "ภิกษุนี้มีสมณสารูป" ก็ไม่เชื่อฟังคำของภิกษุนั้นเลย เขา