เมนู

5 พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาสวะทั้งหลายเกิดแต่การต้องอาบัติ ย่อมไม่มีแก่ท่าน
แล อาสวะทั้งหลายเกิดแต่ความเดือดร้อน ย่อมไม่เจริญยิ่งแก่ท่าน ทางที่ดีที่
สุด ท่านผู้มีอายุ จงบรรเทาอาสวะทั้งหลายซึ่งเกิดแต่ความเดือดร้อน จงยังจิต
และปัญญาให้เจริญ ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านจักเป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ 5 นี้.
4. บุคคลใด ไม่ต้องอาบัติ ไม่มีความเดือดร้อน ทั้งไม่รู้ตามความ
เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งอกุศล-
ธรรมอันลามก ซึ่งเกิดแล้วแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นเป็นผู้อันบุคคลที่ 5 พึง
กล่าวอย่างนี้ว่า อาสวะทั้งหลายซึ่งเกิดแต่ความต้องอาบัติ ย่อมไม่มีแก่ท่านแล
อาสวะซึ่งเกิดแต่ความเดือดร้อน ย่อมไม่เจริญยิ่งแก่ท่าน ทางดีที่สุด ขอท่าน
ผู้มีอายุ จงยังจิตและปัญญาให้เจริญ ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านจักเป็นผู้เสมอ
ด้วยบุคคลที่ 5 นี้.
5. บุคคล 4 จำพวกเหล่านี้ อันบุคคลที่ 5 คือ พระขีณาสพนี้
กล่าวสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะโดย
ลำดับ.

อรรถกถาปัญจกนิทเทส


อธิบายบุคคล 5 จำพวก


บทว่า "ตตฺร" ได้แก่ บุคคลที่ท่านยกขึ้นแสดงไว้ในหนหลัง โดย
นัยเป็นต้นว่า "อารมฺภติ จ วิปฺปฏิสารี จ โหติ" เหล่านั้น. บทว่า "ยฺวายํ"
ตัดบทเป็น โย อยํ. อารัมภะ ศัพท์ ในคำว่า "อารมฺภติ" นี้ ย่อมเป็นไป
ในอรรถว่ากรรม คือการกระทำ 1 ในกิริยา คือ กิจ 1 ในหิงสนะ คือ การ
เบียดเบียน 1 ใน อาปัตติวีติกกมะ คือ การล่วงอาบัติ 1