เมนู

อรรถกถาบุคคลผู้ไปตามกระแสเป็นต้น


วินิจฉัย ในคำว่า "อนุโสตคามี" คือ ผู้ไปตามกระแส เป็นต้น.
บทว่า "อนุโสตคามี" พึงทราบได้แก่ ปุถุชนผู้ไปตามกระแส คือ วัฏฏะ
ผู้จมลงในกระแสคือ วัฏฏะ. บทว่า "ปฏิโสตคามี" คือ ผู้ไปทวนกระแส.
คำว่า "ปฏิโสตคามี" นี้เป็นชื่อของท่านผู้ไม่ไปตามกระแส แต่ไปทวนกระแส.
ข้อว่า "ปาปญฺจ กมฺมํ น กโรติ" ได้แก่ ผู้ไม่ก้าวล่วงบัญญัติกระทำบาป.
ข้อว่า "สหาปิ ทุกฺเขน สหาปิ โทมนสฺเสน" ความว่า ครั้นเมื่อกิเลส
อันเป็นปริยุฏฐานยังมีอยู่ ย่อมกระทำกรรมอันลามก แม้กับด้วยทุกขโทมนัส
ที่เกิดขึ้น. บทว่า "ปริปุณฺณํ" ได้แก่ บรรดาสิกขาทั้ง 3 ไม่บกพร่องแม้
สักอย่าง. บทว่า "ปริสุทฺธํ" ได้แก่ ไม่มีอุปกิเลส. บทว่า "พฺรหฺมจริยํ"
แปลว่า ประพฤติธรรมอันประเสริฐที่สุด. พระโสดาบัน และพระสกทาคามี
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยวาระนี้.
ถามว่า ก็บุคคลเหล่านี้ ร้องไห้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ?
ตอบว่า ถูกแล้ว ท่านเหล่านี้ ชื่อว่าร้องไห้ประพฤติพรหมจรรย์ โดย
การร้องไห้ ด้วยอำนาจของกิเลส. แม้ภิกษุผู้ปุถุชนสมบูรณ์ด้วยศีล พระผู้มี
พระภาคเจ้าก็ทรงสงเคราะห์เข้าในบทว่า "พฺรหฺมจริยํ" นี้เหมือนกัน. บทว่า
"ฐิตตฺโต" ได้แก่ ผู้มีการดำรงตัวอยู่ได้เป็นสภาพ ก็พระอนาคามี ชื่อว่า ดำรง
ตัวอยู่ได้เป็นสภาพ เพราะท่านเป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหว ด้วยกามราคะ และ
พยาบาท และเป็นผู้ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. บทว่า "ติณฺโณ"
ได้แก่ ผู้ข้ามกระแสแห่งตัณหา. บทว่า "ปารคโต" ได้แก่ ผู้ถึงฝั่งคือ พระ-
นิพพาน. สองบทว่า "ผเล ติฏฺฐติ" ได้แก่ ยืนอยู่บนบก คือ อรหัตผลและ
สมาปัตติผล. บทว่า "เจโตวิมุตฺตึ" ได้แก่ ผลสมาธิ. บทว่า "ปญฺญาวิมุตฺตึ"

ได้แก่ ผลญาณ. สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า พระขีณาสพ ผู้ข้าม
กระแสตัณหาไปแล้ว ถึงฝั่ง คือ พระนิพพานแล้ว ยืนอยู่บนบก คือ อรหัตผล
และสมาปัตติผล ท่านเรียกว่าเป็น "พราหมณ์". ก็พระขีณาสพนี้ชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ เพราะท่านเป็นผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว.

[139] 1. บุคคล ผู้มีสุตะน้อย และไม่ได้ประโยชน์เพราะ
สุตะ เป็นไฉน ?

สุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ
อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลบางคนในโลกนี้มีน้อย บุคคลนั้นไม่รู้อรรถ
ไม่รู้ธรรมแห่งสุตะอันน้อยนั้น ไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคล
อย่างนี้ชื่อว่า ผู้มีสุตะน้อย และไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะนั้น.
2. บุคคล ผู้มีสุตะน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะ
สุตะ เป็นไฉน ?

สุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลใดในโลกนี้มีน้อย บุคคลนั้นรู้อรรถ
รู้ธรรมของสุตะน้อยนั้น เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า
ผู้มีสุตะน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ.
3. บุคคล ผู้มีสุตะมาก แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะ
สุตะ เป็นไฉน ?

สุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ
อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลบางคนในโลกนี้มีมาก บุคคลนั้นไม่รู้อรรถ
ไม่รู้ธรรมของสุตะอันมากนั้น ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลอย่างนี้
ชื่อว่า ผู้มีสุตะมาก แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ.
4. บุคคล ผู้มีสุตะมาก และได้ประโยชน์เพราะ
สุตะ เบ็นไฉน ?

สุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ
อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลบางคนโลกนี้มาก บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม
ของสุตะอันมากนั้น เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า
ผู้มีสุตะมาก และได้ประโยชน์เพราะสุตะ.

อรรถกถาบุคคลผู้มีสุตะน้อย เป็นต้น


วินิจฉัยในคำว่า "ผู้มีสุตะน้อย" เป็นต้น. ข้อว่า "อปฺปกํ สุตํ โหติ"
ความว่า สุตะ คือ การฟัง การเรียน ในนวังคสัตถุศาสน์ มีบางส่วน คือ
มีนิดหน่อยเท่านั้น. ข้อว่า "น อตฺถมญฺญาย น ธมฺมญฺญาย ธมฺมานุ-
ธมฺมปฏิปนฺโน โหติ"
ความว่า เป็นผู้รู้บาลี อรรถกถา แล้วปฏิบัติธรรม
อันเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันสมควรแก่โลกุตตรธรรม ย่อมไม่มีแก่เขา. ใน
บททั้งปวง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้.