เมนู

อรรถกถาบุคคลผู้มีราคะเป็นต้น


วินิจฉัยในคำทั้งหลาย มีคำว่า "ผู้มีราคะ" เป็นต้น. บทว่า
"อปฺปหีโน" ความว่า ผู้ประหานราคะยังไม่ได้ ด้วยวิกขัมภนปหาน หรือ
ด้วยตทังคปหาน.
[137] 1. บุคคล ผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้ปัญญา
ที่เห็นแจ้งในธรรมกล่าวคือ อธิปัญญา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือสหรคตด้วย
อรูป แต่ไม่ได้โลกุตตรมรรค หรือโลกุตตรผล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ได้
เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ
อธิปัญญา.

2. บุคคล ผู้ได้ปัญญาเห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ
อธิปัญญา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรค หรือโลกุตตรผล แต่
ไม่ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือสหรคตด้วยอรูป บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็น
ผู้ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ อธิปัญญา แต่ไม่ได้เจโต-
สมถะในภายใน.

3. บุคคล ผู้ได้เจโตสมถะในภายใน ด้วย ได้ปัญญา
ที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญาด้วย เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือ สหรคต
ด้วยอรูป เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้
ได้เจโตสมถะในภายในด้วย ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ
อธิปัญญาด้วย.

4. บุคคล ผู้ไม่ได้เจโตสมละในภายใน ด้วย ไม่
ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญาด้วย เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือ
สหรคตด้วยอรูป ไม่เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลอย่างนี้
ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ได้เจโตสมถะในภายในด้วย ไม่ได้ปัญญาที่เห็นแจ้ง
ในธรรมกล่าวคืออธิปัญญาด้วย.


อรรถกถาบุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน ฯลฯ เป็นต้น


วินิจฉัย ในคำทั้งหลายมีคำว่า "ลาภี โหติ" เป็นต้น. บทว่า "ลาภี"
แปลว่า ผู้มีปกติได้ คือ ได้เฉพาะแล้วดำรงอยู่. สองบทว่า "อชฺฌตฺตํ
เจโตสมถสฺส"
ได้แก่ เจโตสมถะที่บังเกิดขึ้นในจิตของตน กล่าวคือ เป็น
ไปในภายในของตนเอง. บทว่า "อธิปญฺญาธมฺมวิปสฺสนาย" ความว่า
ด้วยวิปัสสนา คือ อธิปัญญา ที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งอนิจจลักษณะ เป็นต้น
ในธรรมขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า "รูปสหคตานํ" ได้แก่ รูปาวจรสมาบัติ
ที่มีรูปนิมิตเป็นอารมณ์. บทว่า "อรูปสหคตานํ" ได้แก่ อรูปสมาบัติซึ่ง
ไม่มีรูปนิมิตเป็นอารมณ์. ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่า บุคคลพวกที่ 1 ได้แก่