เมนู

2. โอณตุณณตบุคคล บุคคลผู้ต่ำมา สูงไปเป็นไฉน ?
ฯลฯ บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้ต่ำมา สูงไป (เหมือนบุคคลพวกที่ 2
ข้อ 129)
3. อุณณโตณตบุคคล บุคคลผู้สูงมาต่ำไป เป็นไฉน ?
ฯลฯ บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้สูงมาต่ำไป (เหมือนบุคคลพวกที่ 3
ข้อ 129)
4. อุณณตุณณตบุคคล บุคคลผู้สูงมาสูงไป เป็นไฉน ?
ฯลฯ บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้สูงมา สูงไป (เหมือนบุคคลพวกที่ 4
ข้อ 129)

อรรถกถาบุคคลผู้มืดมามืดไปเป็นต้น


บุคคลใด ประกอบด้วยความมืด เป็นต้นว่า เกิดมาในตระกูลต่ำ
เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่า ตโม แปลว่า ผู้มืด. บุคคลชื่อว่า
ตมปรายโน คือ ผู้มีความมืดเป็นไปในเบื้องหน้า เพราะการเข้าถึงความ
มืดในนรกอีก ด้วยทุจริตทั้งหลาย มีกายทุจริตเป็นต้น.
บทว่า "เนสาทกุเล" ได้แก่ ตระกูลนายพรานเนื้อเป็นต้น. คำว่า
"เวนกุเล" ได้แก่ ตระกูลช่างจักสาน. คำว่า "ปุกฺกกกุสกุเล" ได้แก่ ตระกูล
บุคคลผู้ทิ้งดอกไม้. คำว่า "กสิรวุตฺติเก" แปลว่า มีความเป็นอยู่ฝืดเคือง.
บทว่า "ทุพฺพณฺโณ" ได้แก่ ผู้มีผิวพรรณดุจตอไม้ที่ถูกไฟไหม้ เหมือน
ปีศาจคลุกฝุ่น เล่นฝุ่น. บทว่า "ทุทฺทสฺสิโก" ได้แก่ใคร ๆ เห็นไม่เป็นที่

ชอบใจแม้แต่มารดาผู้บังเกิดกล้าของตน. คำว่า "โอโฏฏิมโก" แปลว่า เป็น
คนเตี้ย. บทว่า "กาโณ" ได้แก่ มีตาบอดข้างหนึ่ง หรือสองข้าง. บทว่า
"กุณี" ได้แก่ มีมือง่ายข้างหนึ่ง หรือสองข้าง. บทว่า "ขญฺโช" ดังที่
เท้าเขยกข้างหนึ่ง หรือสองข้าง. บทว่า "ปกฺขหโต" ได้แก่ ผู้ถูกโรค
กำจัดไปแถบหนึ่ง คือ เป็นผู้ง่อยเปลี้ย. บทว่า "ปทีเปยฺยสฺส" ได้แก่ อุป-
กรณ์แห่งประทีป มีน้ำมันและตะเกียงเป็นต้น.
ในคำว่า "เอวํ ปุคฺคโล ตโม โหติ ตมปรายโน" นี้ท่านอธิบาย
ไว้ว่า บุคคลพวกหนึ่งไม่เห็นแสงสว่างในภายนอก ทำกาละ คือ ตายในท้อง
มารดานั่นแหละแล้วเกิดในอบายทั้งหลาย เขาย่อมท่องเที่ยวไปตลอดกัปทั้งสิ้น
ชื่อว่า ตโม ตมปรายโน คือ ผู้มืดมามืดไปนั่นเทียว และเขาผู้นั้นพึงเป็น
กุหกบุคคล คือ บุคคลผู้หลอกลวง ก็การบังเกิดของกุหกบุคคลนั้น มีสภาวะ
เห็นปานนี้ อนึ่งในอธิการนี้ ท่านแสดงการวิบัติแห่งการมา และความวิบัติ
แห่งปัจจัยที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นของเขา ด้วยคำว่า "นีเจ กุเล ปจฺจาชาโต โหติ
จณฺฑาลกุเล วา"
ดังนี้เป็นต้น ซึ่งแปลความว่า ผู้เกิดมาแล้วในตระกูลต่ำ
หรือตระกูลจัณฑาล. ท่านแสดงความวิบัติแห่งปัจจัยของกุหกบุคคลนั้น ด้วย
คำเป็นต้นว่า "ทลิทฺเท" แปลว่า ขัดสน. ท่านแสดงความวิบัติแห่งอุบายเป็น
เครื่องเลี้ยงชีพของเขา ด้วยตาเป็นต้นว่า "กสิรวุตฺติเก" แปลว่า ผู้เป็นอยู่
ลำบาก. ท่านแสดงความวิบัติแห่งรูปของเขา ด้วยคำเป็นต้นว่า "ทุพฺพณฺโณ"
แปลว่า มีวรรณะทราม. ท่านแสดงความประกอบพร้อมด้วยเหตุแห่งทุกข์ของ
เขาด้วยคำเป็นต้นว่า "พหฺวาพาโธ" แปลว่า มีอาพาธมาก. ท่านแสดงความ
วิบัติด้วยเหตุแห่งความสุข และความวิบัติแห่งเครื่องอุปโภค ด้วยคำเป็นต้นว่า
"น ลาภี" แปลว่าไม่มีลาภ. ท่านแสดงความประกอบเหตุแห่งความมีความมืด

เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยคำเป็นต้นว่า "กาเยน ทุจฺจริตํ" แปลว่า มีกาย
ทุจริตเป็นต้น . ท่านแสดงความเข้าถึงความมืดในภพเบื้องหน้า ด้วยคำเป็นต้น
ว่า "กายสฺส เภทา" แปลว่า เพราะกายแตกทำลาย. บัณฑิตพึงทราบ
ธรรมฝ่ายขาว โดยนัยตรงข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว.
อีกประการหนึ่ง ในอธิการนี้ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า บุคคลประ-
กอบด้วยความรุ่งเรืองมีการเกิดในภายหลัง เพราะความถึงพร้อมด้วยตระกูล 3
อย่าง คือ กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล และ คหบดีมหาศาล ชื่อว่า
โชติ ผู้รุ่งเรือง คือผู้สว่างมา และชื่อว่า โชติปรายโน แปลว่า ผู้สว่างไป
ข้างหน้า เพราะความเข้าถึงความเป็นผู้สว่าง คือ การอุบัติขึ้นในภพสวรรค์
ด้วยสุจริตทั้งหลายมีกายสุจริตเป็นต้น.
บัณฑิต พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า "ขตฺติยมหาสาลกุเล วา" เป็น
ต้น บทว่า "ขตฺติยมหาสาลา" ได้แก่กษัตริย์ผู้มีทรัพย์อันเป็นสาระมาก คือ
ว่า กษัตริย์ผู้ถึงพร้อมด้วยสาระแห่งสมบัติมาก. ก็กษัตริย์เหล่าใด มีพระราช-
ทรัพย์อย่างต่ำประมาณร้อยโกฏิอันเป็นทุนนอน และได้ตั้งขุมทรัพย์ไว้ 3 หม้อ
กระทำให้เป็นกองในท่ามกลางเรือนเพื่อประโยชน์แก่การใช้สอย กษัตริย์
เหล่านั้นชื่อว่า ขัตติยมหาศาล. พราหมณ์เหล่าใดมีทุนทรัพย์ประมาณ 80 โกฏิ
ตั้งขุมทรัพย์ไว้หม้อครึ่งสำหรับใช้สอยในบ้าน พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
พราหมณมหาศาล. คหบดีเหล่าใด มีทุนทรัพย์ 40 โกฏิ ตั้งขุมทรัพย์ไว้
หนึ่งหม้อ กระทำให้เป็นกองในท่ามกลางเรือนเพื่อต้องการใช้สอยในบ้าน
คหบดีเหล่านั้น ชื่อว่า คหบดีมหาศาล. อธิบายว่าบุคคลผู้รุ่งเรืองคือผู้สว่าง
มานั้น เกิดในตระกูลแห่งชนเหล่านั้น.
บทว่า "อฑฺเฒ" ได้แก่ ความเป็นอิสระ ชื่อว่ามีทรัพย์มาก เพราะ
มีทรัพย์อันเป็นทุนนอนมาก. ชื่อว่ามีโภคะมาก เพราะมีเครื่องอุปโภค มี

ภาชนะเงินเป็นต้นมาก. ชื่อว่า มีทองเงินมาก เพราะมีทองและเงินอันเป็น
ต้นทุนเก็บไว้มาก ๆ ชื่อว่า มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจ คือมีเหตุแห่ง
ความยินดีมาก. ชื่อว่า มีทรัพย์ และธัญญาหารมาก เพราะมีวัตถุทั้งหลาย
มีโคและทรัพย์เป็นต้นด้วย มีธัญญาหาร 7 ชนิดด้วย มาก.
คำว่า "อภิรูโป" แปลว่า มีรูปงาม.
คำว่า "ทสฺสนีโย" แปลว่า น่าทัศนา คือ สมควรแล้วแก่อันใคร ๆ
จะละการงานอย่างอื่นแล้วมองดูแม้ตลอดวัน.
คำว่า "ปาสาทิโก" แปลว่า นำมาซึ่งความเลื่อมใสแห่งจิต ด้วย
การเห็นนั่น แหละ.
คำว่า "ปรมาย" แปลว่า สูงที่สุด.
บทว่า "วณฺณโปกฺขรตาย" ได้แก่ วรรณะแห่งสรีระ สรีระท่าน
เรียกว่า โปกฺขรํ อธิบายว่า เพราะความถึงพร้อมด้วยวรรณะแห่งสรีระนั้น.
บทว่า "สมนฺนาคโต" ได้แก่ เข้าถึงแล้ว. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย
ในคำ "โอณโตณตา" เป็นต้น ชื่อว่า ผู้ต่ำ เพราะเว้นจากสมบัติในทิฏฐธรรมิก-
ภพหรือในสัมปรายิกภพ อธิบายว่า เป็นผู้ต่ำ คือเป็นผู้ลามก. ชื่อว่า ผู้สูง
เพราะความเป็นสภาพตรงกันข้ามกับคนต่ำนั้น อธิบายว่า ผู้สูง คือ เป็นผู้เลิศ.
คำที่เหลือในที่นี้บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในคำว่า ผู้มืด เป็นต้น. อีก
อย่างหนึ่ง บทว่า "โอณโตณโต" ความว่า บัดนี้ คือชาตินี้เป็นผู้ต่ำ แม้ต่อไป
คือชาติต่อไป ก็จะเป็นผู้ต่ำนั่นแหละ. บทว่า "โอณตุณฺณโต" ความว่า ชาติ
นี้เป็นผู้ต่ำ แต่ชาติต่อไปจักเป็นผู้สูง. บทว่า "อุณฺณโตณโต" ความว่า ชาติ
นี้เป็นผู้สูง แต่ชาติต่อไปจักเป็นผู้ต่ำ. บทว่า "อุณฺณโตณฺณโต" ความว่า
ชาตินี้เป็นผู้สูง แม้ชาติต่อไปก็จักเป็นผู้สูง.

บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ 4 ชนิด เป็น
ไฉน ?

[131] ต้นไม้ 4 ชนิด คือ
ไม้มีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น 1
ไม้มีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ 1
ไม้มีกระพี้ บริวารก็มีกระพี้ 1
ไม้มีแก่น บริวารก็มีแก่น 1

[132] บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ 4 จำพวก เหล่านี้ มีปรากฏ
อยู่ในโลก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

บุคคล 4 จำพวก เป็นไฉน ?
บุคคลมีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น 1
บุคคลมีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ 1
บุคคลมีกระพี้ บริวารก็มีกระพี้ 1
บุคคลมีแก่น บริวารก็มีแก่น 1

1. บุคคลมีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีธรรมอันลามก แต่บริษัทของ
บุคคลนั้น เป็นคนมีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีกระพี้
แต่บริวารมีแก่น ต้นไม้นั้นมีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น แม้ฉันใด บุคคลนี้
ก็อุปไมย ฉันนั้น.

2. บุคคลมีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ส่วนบริษัทของ
บุคคลนั้นเป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีแก่น แต่
บริวารมีกระพี้ ต้นไม้นั้นมีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็อุปไมย
ฉันนั้น.
3. บุคคลมีกระพี้ บริวารก็มีกระพี้ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก แม้บริษัทของ
บุคคลนั้นก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีกระพี้
บริวารก็มีกระพี้ ต้นไม้มีกระพี้ บริวารก็มีกระพี้นั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้
ก็อุปไมย ฉันนั้น.
4. บุคคลมีแก่น บริวารก็มีแก่น เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ฝ่ายบริษัทของ
บุคคลนั้นก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีแก่น บริวาร
ก็มีแก่น ต้นไม้มีแก่น บริวารก็มีแก่นนั้น ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมย ฉันนั้น
บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ 4 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ใน
โลก.


อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยต้นไม้ 4 จำพวก


พึงทราบต้นไม้มีกระพี้ บริวารมีแก่นก่อน. ต้นไม้เจริญที่สุดใน
ป่าตัวเองมีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยนี้ ก็ใน