เมนู

2. ปาปธัมเมนปาปธัมมตรบุคคล บุคคลผู้มีธรรม
ลามกยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมลามก เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
ด้วย ลักทรัพย์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ด้วย ฯลฯ เห็นผิดจาก
ทำนองคลองธรรมด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นผิดจากทำนองคลอง-
ธรรมด้วย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมลามกยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมลามก.
3. กัลยาณธัมมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมงาม เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์
ฯลฯ มีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมงาม.
4. กัลยาณธัมเมนกัลยาณธัมมตรบุคคล บุคคลผู้มี
ธรรมงามยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมงาม เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย
ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วย ฯลฯ เห็นชอบตามทำนองคลอง-
ธรรมด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นชอบตามทำนองคลองธรรมด้วย
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมงามยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมงาม.

อรรถกถาบุคคลผู้มีธรรมลามกเป็นต้น


ธรรมอันลามกของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า
ปาปธมฺโม แปลว่า ผู้มีธรรมอันลามก. ธรรมอันงามของบุคคลนั้นมีอยู่
เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า กลฺยาณธมฺโม แปลว่า ผู้มีธรรมอันงาม.
คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

[107] 1. สาวัชชบุคคล บุคคลผู้มีโทษ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษ ประ-
กอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษ บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้มีโทษ.
2. วัชชพหุลบุคคล บุคคลผู้มีโทษมาก เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษมาก
ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษมาก
ประกอบด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษน้อย ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษมาก
ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษน้อย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทษมาก.
3. อัปปสาวัชชบุคคล บุคคลผู้มีโทษน้อย เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษมาก
ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษมาก
ประกอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษน้อย ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษมาก
ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษน้อย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทษน้อย.
4. อนวัชชบุคคล บุคคลผู้ไม่มีโทษ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยกายกรรมที่หาโทษมิได้ ประกอบ
ด้วยวจีกรรมที่หาโทษมิได้ ประกอบด้วยมโนกรรมที่หาโทษมิได้ บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้ไม่มีโทษ.

อรรถกถาบุคคลผู้มีโทษ เป็นต้น


บทว่า "สาวชฺโช" ได้แก่ มีโทษ. สองบทว่า "สาวชฺเชน กาย-
กมฺเมน"
ได้แก่ ด้วยกายกรรม อันมีโทษ มีปาณาติบาตเป็นต้น. แม้ใน
บททั้งหลายนอกจากนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า สาวชฺโช แปลว่า ผู้มีโทษ เพราะความที่กรรมอันประกอบด้วยไตรทวาร
เป็นของมีโทษ ดุจประเทศที่เต็มไปด้วยของปฏิกูล มีคูถและซากศพเป็นต้น.
สองบทว่า "สาวชิเชน พหุลํ" ความว่า กายกรรมของบุคคลใด
มีโทษเท่านั้นมาก ที่ไม่มีโทษมีน้อย บุคคลผู้นั้นชื่อว่าประกอบด้วยกายกรรมมี
โทษมีมาก ที่ไม่มีโทษมีน้อย ท่านจึงเรียกว่า อปฺปํ อนวชฺเชน แปลว่า
กายกรรมที่ไม่มีโทษมีน้อย. ในคำทั้งหลาย นอกจากนี้ ก็มีนัยนี้นั่นแหละ.
ถามว่า ก็ใครเล่าที่เห็นปานนี้ ?
ตอบว่า ผู้ใด ย่อมสมาทานอุโบสถศีล ย่อมบำเพ็ญศีลในกาลบาง
ครั้งบางคราว ตามธรรมดาของชาวบ้าน หรือตามธรรมดาของชาวนิคม ผู้นั้น
นั่นแหละ ชื่อว่า ประกอบด้วยกรรมอันมีโทษเป็นส่วนมาก ที่ไม่มีโทษเป็น
ส่วนน้อย.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า วชฺชพหุโล แปลว่า ผู้มากด้วยโทษ เพราะเหตุที่โทษนั่นแหละเป็น
ของมีมาก เพราะเป็นกรรมอันประกอบไว้ด้วยไตรทวาร.
เหมือนอย่างว่า ดอกไม้ทั้งหลาย มีสีไม่สวย ทั้งมีกลิ่นเหม็น บุคคล
กระทำไว้ไห้เป็นกองมีอยู่ในประเทศแห่งหนึ่ง วัตถุทั้งหลายมีแผ่นผ้าเป็นต้นที่
เขาโยนไป พึงตกไปบนกองดอกไม้อันมีกลิ่นเหม็นนั้นในที่นั้น ๆ ทำให้มีกลิ่น