เมนู

4. สัปปุริเสนสัปปุริสตรบุคคล บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ
ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย
ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยเว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเองด้วย
ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการลักทรัพย์ด้วย เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วย เว้น
ขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วย
เว้นขาดจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทด้วยตนเองโดย
ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทด้วย
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ.

อรรถกถาจตุกกนิทเทส


อธิบายบุคคล 4 จำพวก


อรรถกถาบุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษเป็นต้น


บทว่า "อสปฺปุริโส" ได้แก่ บุรุษผู้ลามก คือ บุรุษผู้ไม่มีธรรม.
พึงทราบวิเคราะห์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.
บุคคลใด ย่อมยังสัตว์มีปราณ คือ ชีวิตให้ตกล่วงไป เพราะเหตุนั้น
บุคคลนั้นชื่อว่า ปาณาติปาตี ผู้ยังสัตว์มีปราณคือชีวิตให้ตกล่วงไป.
บุคคลใด ย่อมถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ เพราะเหตุนั้น บุคคล
นั้นชื่อว่า อทินฺนาทายี ผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้.
บุคคลใด ย่อมประพฤติผิดในกามทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น
ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจารี ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย.

บุคคลใด ย่อมกล่าวคำเท็จ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่ามุสาวาท
ผู้กล่าวคำเท็จ.
บุคคลใด ย่อมตั้งอยู่ในความประมาทด้วยการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และ
เมรัย เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐายี ผู้ตั้งอยู่
ในความประมาทด้วยการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย.
ข้อว่า "ปาณาติปาเต สมาทเปติ" ความว่า คนเองย่อมยังสัตว์มี
ชีวิตให้ตกล่วงไปโดยประการใด ย่อมยังผู้อื่นให้ยึดถือเอาการยังสัตว์ที่มีชีวิตให้
ตกล่วงไปนั้น โดยประการนั้น. แม้ในคำที่เหลือทั้งหลาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า อสปฺปุริเสน อสปฺปุริสตโร ซึ่งแปลว่า ผู้เป็นอสัตบุรุษยิ่งกว่า
อสัตบุรุษ เพราะเหตุที่ตนประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลอันตนกระทำเองด้วย
และตนก็เป็นทายาทแห่งกรรมกึ่งหนึ่งจากกรรมที่ตนชักชวนให้ผู้อื่นกระทำด้วย.
บทว่า "สปฺปุรโส" ได้แก่ อุดมบุรุษคือบุรุษผู้สูงที่สุด.
สองบทว่า "สฺปฺปุริเสน สปฺปุริสตโร" ความว่า ผู้ประกอบพร้อม
ด้วยความเป็นผู้มีศีลดีที่ตนแองกระทำแล้วนั่นแหละด้วย และเพราะเหตุที่ตน
เป็นทายาทแห่งกรรมกึ่งหนึ่งจากกรรมที่ตนชักชวนให้ผู้อื่นกระทำด้วย จึงชื่อ
ว่า อุตฺตมปฺปุริเสน อุตฺตมปฺปุริสตโร ซึ่งแปลว่า ผู้เป็นอุดมบุรุษยิ่ง
กว่าอุดมบุรุษ.

[105] 1. ปาปบุคคล บุคคลผู้ลามก เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของเขา พยาบาท
ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ลามก.

2. ปาเปนปาปตรบุคคล บุคคลผู้ลามกยิ่งกว่าลามก
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่า
สัตว์ด้วย ลักทรัพย์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ด้วย ประพฤติผิด
ในกามด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกามด้วย พูดเท็จด้วย
เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จด้วย พูดส่อเสียดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่น
ให้พูดส่อเสียดด้วย พูดคำหยาบด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ
ด้วย พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อด้วย โลภอยาก
ได้ของเขาด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้โลภอยากได้ของเขาด้วย พยาบาท
ปองร้ายเขาด้วยคนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พยาบาทปองร้ายเขาด้วย เห็นผิด
จากคลองธรรมด้วยคนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นผิดจากคลองธรรมด้วย
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ลามกยิ่งกว่าลามก.
3. กัลยาณบุคคล บุคคลผู้เป็นคนดี เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ จากการลัก
ทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จาก
การพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาท
ปองร้ายเขา เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนดี.
4. กัลยาเณนกัลยาณตรบุคคล บุคคลผู้เป็นคนดียิ่ง
กว่าคนดี เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย
ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วย

ตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการลักทรัพย์ด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกามด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการประพฤติผิดใน
กามด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยคนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจาก
การพูดเท็จด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่น
ให้เว้นจากการพูดส่อเสียดด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเองด้วย
ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูดคำหยาบด้วย เป็นผู้เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากพูดเพ้อเจ้อด้วย เป็นผู้ไม่โลภอยากได้
ของเขาด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นไม่ให้โลภอยากได้ของเขาด้วย ไม่พยาบาท
ปองร้ายเขาด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นไม่ให้พยาบาทปองร้ายเขาด้วย เป็น
ผู้เห็นชอบตามทำนองคลองธรรมด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นชอบตาม
ทำนองคลองธรรมด้วย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนดียิ่งกว่าคนดี.

อรรถกถาบุคคลผู้ลามกเป็นต้น


บทว่า "ปาโป" ความว่า ผู้ประกอบด้าวบาป 1 ประการ คือ
อกุศลกรรมบถ 10ประการ.
บทว่า "กลฺยาโณ" ความว่า ผู้ประกอบด้วยกัลยาณธรรม กล่าว
คือ กุศลกรรมบถ 10 ประการ เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้เจริญ. คำที่เหลือใน
ที่นี้มีอรรถอันตื้น เพราะเหตุว่ามีนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหนหลังนั่นเทียว.
[106] 1. ปาปธัมมบุคคคล บุคคลผู้มีธรรมลามก เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เห็นผิดจาก
ทำนองคลองธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมลามก.