เมนู

3. บุคคล ที่ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลเห็นปานนี้
ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? เพราะว่า ถึง
แม้ว่าบุคคลผู้คบไม่เอาอย่างบุคคลเห็นปานนี้ แต่กิตติศัพท์อันงามก็ย่อมฟุ้งขจร
ไปสู่บุคคลผู้คบนั้นว่า บุรุษบุคคล มีมิตรดี มีสหายดี คบคนดี ดังนี้ เพราะฉะนั้น
บุคคลเห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้.

อรรถกถาบุคคลที่ควรรังเกียจเป็นต้น


บทว่า "ชิคุจฺฉิตพฺโพ" ได้แก่ บุคคลที่เขารังเกียจเหมือนกับคูถ.
ข้อว่า "อถ โข นํ " แก้เป็น อถ โข อสฺส แปลว่า ครั้งนั้นแล
กิตติศัพท์ก็ย่อมมี.
บทว่า "กิตฺติสทฺโท" ได้แก่ เสียงที่พูดกัน. บัณฑิตพึงเห็นผู้ทุศีล
เหมือนหลุมคูถ ในข้อว่า "เอวเมวํ" นี้. พึงเห็นบุคคลผู้ทุศีล เหมือนกับงู
ที่น่ารังเกียจที่ตกไปในหลุมคูถ. พึงเห็นภาวะ คือ การไม่ทำตามกิริยาของบุคคล
ผู้เสพซึ่งบุคคลผู้ทุศีลนั้นเหมือนกับงูที่บุคคลยกขึ้นจากหลุมคูถ แม้เขายกขึ้นสู่
สรีระแห่งบุรุษแต่ยังไม่กัด. พึงทราบการฟุ้งขจรไปแห่งกิตติศัพท์อันลามกของ
บุคคลผู้เสพผู้ทุศีล เหมือนกับงูที่มีสรีระเปื้อนคูถแล้วก็ไป
บทว่า "ตินฺทุกาลาตํ" ได้แก่ ใบแห้งของต้นมะพลับ.
ข้อว่า "ภิยฺโยโส มตฺตาย จิจฺจิฏายติ" ความว่า ก็ใบแห่งต้น
มะพลับนั้นเมื่อถูกเผาอยู่แม้ตามธรรมดาย่อมมีเสียงสะเก็ดระเบิดดัง จิฏิจิฏะ
อธิบายว่า เมื่อมีอะไร ๆ มากระทบแล้วย่อมมีเสียงดังมาก.

ข้อว่า "เอวเมว" ความว่า บุคคลผู้มักโกรธแม้ตามธรรมดาของ
ตนก็เป็นผู้ดุร้าย เพราะเขามีจิตฟุ้งซ่าน และย่อมประพฤติฉันที่นั้นนั่นแหละ.
อนึ่งเมื่อผู้อื่นกล่าวคำเล็กน้อย คนผู้มักโกรธนั้นก็กระทำความดุร้ายเพราะตน
เป็นผู้มีความฟุ้งซ่านหนักขึ้นว่า "บุคคลนี้ ย่อมกล่าวอย่างนี้กะบุคคลชื่อผู้เช่น
กันด้วยเรา".
บทว่า "คูถกูโป" ได้แก่ หลุมอันเต็มไปด้วยคูถ อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ กองแห่งคูถนั่นเอง. ก็บัณฑิตพึงทราบการเปรียบเทียบด้วยความอุปมา
ในคำว่า "คูถกูโป" นี้ โดยนัยก่อนนั่นแหละ เพราะฉะนั้นบุคคลผู้เห็นปาน
นี้อันบุคคลพึงวางเฉย ไม่ควรซ่องเสพ บุคคลผู้มักโกรธนั้น เมื่อผู้อื่นเสพ
มากเกินไปบ้าง เข้าไปหามากเกินไปบ้าง ย่อมโกรธทั้งนั้น แม้เมื่อผู้อื่นหลีก
ไปก็โกรธอีกนั่นแหละว่า "ประโยชน์อะไร กับบุคคลผู้นี้เล่า" ฉะนั้น เขา
(ผู้มักโกรธนั้น) บุคคลพึงวางเฉยเสีย ไม่ควรซ่องเสพ เหมือนไฟไหม้ฟาง.
ข้อนี้มีคำอธิบายไว้อย่างไร ? มีคำอธิบายว่า ผู้ใดเข้าไปใกล้ไฟไหม้ฟางมาก
เกินไปย่อมเร่าร้อน สรีระของตนก็ย่อมจะถูกไฟไหม้ ผู้ใดไม่ถอยห่างออกมา
ก็ย่อมเร่าร้อน ความเย็นย่อมไม่เกิดแก่เขา เมื่อผู้นั้นไม่เข้าไปใกล้ไม่หลีกไป
เพ่งอยู่ด้วยความวางเฉย ความเย็นของผู้นั้นย่อมมี แม้กายเขาก็ไม่ถูกไหม้
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มักโกรธนั้น อันบุคคลพึงวางเฉย ไม่ควรซ่องเสพ
ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ดุจไฟไหม้ฟาง ฉะนั้นแล.
บทว่า "กลฺยาณมิตฺโต" ได้แก่ มีมิตรสะอาด.
บทว่า "กลฺยาณสหาโย" ได้แก่ มีสหายสะอาด
บทว่า "สหาโย" ได้แก่ ผู้ไปพร้อมกัน คือ เที่ยวไปด้วยกัน.
บทว่า "กลฺยาณสมฺปวงฺโก" ได้แก่ ผู้ร่วมวง ในบุคคลผู้สะอาด
ผู้มีธรรมเจริญ. อธิบายว่า ผู้มีใจน้อมไป คือ ยินดี พอใจในมิตรผู้มีกัลยาณ-
ธรรมนั้น.

[101] 1. บุคคล ผู้มีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีปกติ
กระทำแต่พอประมาณในสมาธิ มีปกติกระทำแต่พอประมาณใน
ปัญญา เป็นไฉน ?

พระโสดาบัน พระสกทาคามี เหล่านี้ เรียกว่า มีปกติกระทำให้
บริบูรณ์ในศีล มีปกติกระทำแต่พอประมาณในสมาธิ มีปกติกระทำแต่พอ
ประมาณในปัญญา.
2. บุคคล ผู้มีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในศีล และมี
ปกติกระทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ มีปกติกระทำแต่พอประมาณใน
ปัญญา เป็นไฉน ?

พระอนาคามีนี้เรียกว่า บุคคลมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล และมีปกติ
ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ มีปกติทำแต่พอประมาณในปัญญา.
3. บุคคลผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิและ
ในปัญญา เป็นไฉน ?

พระอรหันต์ นี้เรียกว่า บุคคลมีปกติกระทำให้บริบูรณ์ในศีล สมาธิ
และปัญญา.

อรรถกถาบุคคลผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นต้น


ข้อว่า "สีเลสุ ปริปูริการิโน" ความว่า พระอริยสาวกทั้งหลาย
เหล่านี้ เพราะความที่ท่านไม่ก้าวล่วงมหาศีลสิกขาบท คือ อาบัติปาราชิก
อันเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์ คือ อันเป็นอาทิพรหมจรรย์ และเพราะ
เหตุที่ท่านออกจากอาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ท่านต้อง พระอริยสาวกเหล่านั้นย่อม