เมนู

อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดในหินเป็นต้น


บทว่า "อนุเสติ" ได้แก่ ความโกรธ ย่อมนอนเนื่องอยู่ เพราะยัง
ละอนุสัยไม่ได้.
ข้อว่า "น ขิปฺปํ ลุชฺชติ" ได้แก่ ความโกรธนั้นย่อมไม่สูญหายไป
ในระหว่าง คือว่า โดยเวลาเกิดขึ้นมาตลอดกัปก็ไม่สูญหาย.
ข้อว่า "เอวเมว" ความว่า ความโกรธของบุคคลแม้นั้น ย่อมไม่
ดับไปในระหว่าง คือ ในวันรุ่งขึ้น หรือในวันต่อ ๆ ไปก็ไม่ดับ (คงหมายถึง
การดับไม่เกิดอีก) ฉันนั้น อธิบายว่า ก็ความโกรธนั้นย่อมมีอยู่เป็นเวลายาว
นาน แต่ย่อมดับไปเพราะการมรณะ1 นั่นเทียว.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า ปาสาณเลขูปโม แปลว่า ผู้เปรียบด้วยรอยขีดเขียนที่หิน อันเป็น
รอยติดอยู่ตลอดกาลนาน โดยความเป็นดุจการโกรธ เหมือนรอยขีดเขียน
ที่หิน.
ข้อว่า "โส จ ขฺวสฺส โกโธ" ความว่า ความโกรธของผู้มักโกรธ
นั้น มีความโกรธเร็ว แม้เหตุเล็กน้อย.
ข้อว่า "น จิรํ" ความว่า ความโกรธ ย่อมนอนเนื่องไม่นาน เพราะ
เขายังละความโกรธไม่ได้. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า รอยขีดที่บุคคลทำการ
ขีดที่แผ่นดินย่อมลบเลือนไปด้วยลมเป็นต้นโดยเร็ว ฉันใด ความโกรธของเขา
แม้เกิดขึ้นแล้วเร็ว ก็ย่อมดับไปโดยเร็วพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.

1. คัมภีร์สัมโมหวิโนทนี สัจจวิภังคนิทเทส อธิบายคำว่า มรณะ นี้ไว้ 3 อย่างคือ. 1. ขณิก-
มรณะ แปลว่าตายทุกขณะ ก็คือ ภังคขณะของรูปและนาม 2. สมฺมติมรณะ แปลว่า ตาย
โดยสมมติ ได้แก่คนตาย สัตว์ตาย 3. สมุจเฉทมรณะ ตายไม่เกิด ได้แก่พระอรหันต์
ปรินิพพาน

สองบทว่า "อยํ วุจฺจคติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า ปฐวีเลขูปโม แปลว่า ผู้เปรียบด้วยรอยขีดเขียนที่แผ่นดิน ซึ่งตั้ง
อยู่ไม่นานโดยภาวะคือความโกรธ เหมือนรอยขีดเขียนที่แผ่นดิน
บทว่า "อาคาฬฺเหน" ได้แก่ ถ้อยคำอันหยาบช้า คือ ได้แก่ถ้อยคำ
อันแข็งกระด้าง อันเชือดเฉือนหทัย.
บทว่า "ผรุเสน" ได้แก่ ถ้อยคำอันไม่สบายหู.
บทว่า "อมนาเปน" ได้แก่ ถ้อยคำอันไม่สบายจิต.
บทว่า "สํสนฺทติ" ได้แก่ เป็นอันเดียวกัน.
บทว่า "สนฺธิยติ" ได้แก่ การสืบต่อ.
บทว่า "สมฺโมทติ" ได้แก่ ไม่มีระหว่างคั่น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า "สํสนิทติ" อธิบายว่า ย่อมถึงการประชุมลง
ในการกระทำของจิตด้วยจิติ คือว่า ย่อมเข้าถึงเอกีภาวะ คือความเป็นอันเดียว
กัน ดุจขีโรทกคือน้ำกับนม.
บทว่า "สนฺธิยติ" อธิบายว่า ย่อมถึงการประชุมลงในการกระทำทาง
กายด้วยกายเป็นต้น ซึ่งมีการยืนและการเดินเป็นต้น คือว่า ย่อมเข้าถึงความ
เป็นของปะปนกันดุจงากับข้าวสาร (ที่ใส่รวมกันอยู่.)
บทว่า "สมฺโมทติ" อธิบายว่า ย่อมถึงการประชุมลงในการกระทำ
ทางวาจาด้วยวาจามีการสอบถามอุทเทสเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมเข้าถึงความเป็น
ที่รักยิ่ง เหมือนสหายที่รักผู้มาจากสถานที่ต่าง ๆ อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า
เมื่อเข้าถึงความเป็นผู้กระทำโดยความเป็นอันเดียวกันแต่ต้นกับด้วยสหายเหล่า
นั้นในกิจที่ควรทำทั้งหลาย จึงชื่อว่า สนิทสนมกัน. บัณฑิตพึงทราบว่า การ
สนิทสนมกันนั้นว่า ยังคงสืบต่อเป็นไปอยู่ตั้งแต่ต้นจนถึงท่ามกลางและไม่มีการ
เปลี่ยนแปลงจนถึงที่สุด ดังนี้บ้าง.

สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า อุทกเลขูปโม แปลว่า ผู้เปรียบด้วยรอยขีดในน้ำ เพราะสนิทกัน
เร็ว ดุจรอยขีดในน้ำ.
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้เปรียบด้วยผ้าป่าน 3 จำพวก
เป็นไฉน ?

[94]

ผ้าป่าน 3 ชนิด คือ


1. ผ้า แม้ยังใหม่ ที่มีสีไม่ดี นุ่งห่มก็ไม่สบาย และมีราคาน้อย
2. ผ้า แม้กลางใหม่กลางเก่า ที่มีสีไม่ดี นุ่งห่มก็ไม่สบาย และมี
ราคาน้อยมาก
3. ผ้า แม้เก่า ที่มีสีไม่ดี นุ่งห่มก็ไม่สบาย และมีราคาน้อย คน
ทั้งหลายย่อมเอาผ้าผืนเก่า ๆ ทำเป็นผ้าเช็ดหม้อข้าวบ้าง เอาผ้าเก่านั้นไปทิ้ง
เสียที่กองหยากเยื่อบ้าง.
[95] บุคคลเปรียบด้วยผ้าป่าน 3 จำพวก เหล่านี้ มีปรากฏ
อยู่ในภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

บุคคล เปรียบด้วยผ้าป่าน 3 จำพวก เป็นไฉน ?
1. แม้หากว่า ภิกษุใหม่ผู้ทุศีลมีธรรมอันลามกเหมือนผ้าที่มีสีไม่ดีนั้น
แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะว่า บุคคลนี้มีวรรณะชั่ว ส่วนคน
เหล่าใด ย่อมสมาคม ย่อมคบ ย่อมเข้าใกล้ ย่อมเอาอย่างบุคคลนี้ การเสพ
นั้นย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่คนเหล่านั้น
ตลอดกาลนาน ผ้าที่นุ่งห่มไม่สบายนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็อุปไมยฉันนั้น
นี้ก็เพราะว่าบุคคลนี้มีสัมผัสเป็นทุกข์ ก็บุคคลนี้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ