เมนู

อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดในหินเป็นต้น


บทว่า "อนุเสติ" ได้แก่ ความโกรธ ย่อมนอนเนื่องอยู่ เพราะยัง
ละอนุสัยไม่ได้.
ข้อว่า "น ขิปฺปํ ลุชฺชติ" ได้แก่ ความโกรธนั้นย่อมไม่สูญหายไป
ในระหว่าง คือว่า โดยเวลาเกิดขึ้นมาตลอดกัปก็ไม่สูญหาย.
ข้อว่า "เอวเมว" ความว่า ความโกรธของบุคคลแม้นั้น ย่อมไม่
ดับไปในระหว่าง คือ ในวันรุ่งขึ้น หรือในวันต่อ ๆ ไปก็ไม่ดับ (คงหมายถึง
การดับไม่เกิดอีก) ฉันนั้น อธิบายว่า ก็ความโกรธนั้นย่อมมีอยู่เป็นเวลายาว
นาน แต่ย่อมดับไปเพราะการมรณะ1 นั่นเทียว.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า ปาสาณเลขูปโม แปลว่า ผู้เปรียบด้วยรอยขีดเขียนที่หิน อันเป็น
รอยติดอยู่ตลอดกาลนาน โดยความเป็นดุจการโกรธ เหมือนรอยขีดเขียน
ที่หิน.
ข้อว่า "โส จ ขฺวสฺส โกโธ" ความว่า ความโกรธของผู้มักโกรธ
นั้น มีความโกรธเร็ว แม้เหตุเล็กน้อย.
ข้อว่า "น จิรํ" ความว่า ความโกรธ ย่อมนอนเนื่องไม่นาน เพราะ
เขายังละความโกรธไม่ได้. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า รอยขีดที่บุคคลทำการ
ขีดที่แผ่นดินย่อมลบเลือนไปด้วยลมเป็นต้นโดยเร็ว ฉันใด ความโกรธของเขา
แม้เกิดขึ้นแล้วเร็ว ก็ย่อมดับไปโดยเร็วพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.

1. คัมภีร์สัมโมหวิโนทนี สัจจวิภังคนิทเทส อธิบายคำว่า มรณะ นี้ไว้ 3 อย่างคือ. 1. ขณิก-
มรณะ แปลว่าตายทุกขณะ ก็คือ ภังคขณะของรูปและนาม 2. สมฺมติมรณะ แปลว่า ตาย
โดยสมมติ ได้แก่คนตาย สัตว์ตาย 3. สมุจเฉทมรณะ ตายไม่เกิด ได้แก่พระอรหันต์
ปรินิพพาน