เมนู

3. บุคคล ผู้มีราคะไปปราศแล้ว ในกามและในภพ
เป็นไฉน ?

พระอรหันต์ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีราคะไปปราศแล้ว ในกาม
และภพ.


อรรถกถาบุคคลผู้มีราคะยังไม่ไปปราศเป็นต้น


พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ยังไม่ปราศจากราคะในกามคุณทั้ง
5 และภพทั้ง 3 ฉันใด แม้ปุถุชนก็ฉันนั้น. แต่สำหรับปุถุชนนั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอาเพราะไม่เป็นทัพพบุคคล. เหมือนอย่างว่า นายช่างไม้
ผู้ชาญฉลาด เข้าไปสู่ป่าเพื่อต้องการทัพพสัมภาระ เขาย่อมไม่ตัดต้นไม้ที่มา
พบแล้วและพบแล้วจำเดิมแต่ต้น แต่ว่าไม้เหล่าใดที่เข้าถึงความเป็นทัพพ-
สัมภาระได้ เขาย่อมตัดต้นไม้เหล่านั้นนั่นแหละฉันใด พระอริยสาวกทั้งหลาย
ผู้มีทัพพชาติเหล่านั้น (ผู้มีชาติแห่งความสามารถ) พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง
ถือเอาแล้วแม้ในที่นี้ ฉันนั้น ส่วนปุถุชน บัณฑิตพึงทราบว่าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าไม่ทรงถือเอาเพราะความไม่มีทัพพชาติ คือ ผู้ไม่มีความสามารถเพื่อจะ
ตรัสรู้ธรรม. (คำว่า "ทพฺพ" ศัพท์นี้ แปลได้หลายอย่าง เช่น ควร, สมควร,
สามารถ, ปัญญา, ทรัพย์สมบัติ สิ่งที่มีค่า)
สองบทว่า "กาเมสุ วีตราโค" ได้แก่ ผู้ปราศจากราคะในเบญจ-
กามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่ารักใคร่ น่าปรารถนา.
สองบทว่า "ภเวสุ อวีตราโค" ได้แก่ ผู้ยังไม่ปราศจากราคะ คือ
ผู้ยินดีในรูปภพและอรูปภพ.

[93 ] 1. ปาสาณเลขูปมบุคคล บุคคลผู้เหมือนรอยขีดในหิน
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมโกรธอยู่เนือง ๆ และความโกรธของเขานั้น
แล ย่อมเนื่องอยู่ตลอดกาลอันยาวนาน เหมือนรอยขีดในหิน ย่อมไม่เลือน
ไปได้ง่าย เพราะลมหรือเพราะน้ำ ย่อมเป็นของตั้งอยู่ได้นาน ชื่อแม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธอยู่เนือง ๆ และความโกรธของเขานั้นแล
ย่อมนอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน ก็ฉันนั้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้เหมือนรอย
ขีดในหิน.

2. ปฐวีเลขูปมบุคคล บุคคลผู้เหมือนรอยขีดใน
แผ่นดิน เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนือง ๆ แต่ความโกรธของเขานั้น
ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน เหมือนรอยขีดในแผ่นดิน ย่อมลบ-
เลือนไปได้ง่าย เพราะลมหรือเพราะน้ำ ไม่ตั้งอยู่ได้นาน ชื่อแม้ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนือง ๆ แต่ความโกรธของเขานั้น ย่อมไม่นอน
เนื่องอยู่สิ้นกาลยาวนาน ก็ฉันนั้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้เหมือนรอยขีดใน
แผ่นดิน.

3. อุทกเลขูปมผู้บุคคล ผู้เหมือนรอยขีดใน
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกบุคคลว่ากล่าวแม้ด้วยถ้อยคำกระด้าง แม้
ด้วยถ้อยคำหยาบคาย แม้ด้วยถ้อยคำไม่เป็นที่พอใจ ยังคงสนิทกัน คงยังติด
ต่อกัน เหมือนรอยขีดในน้ำย่อมลบเลือนไปได้ง่าย ไม่ตั้งอยู่ได้นาน ชื่อแม้
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกบุคคลว่ากล่าว แม้ด้วยถ้อยคำกระด้าง แม้
ด้วยถ้อยคำหยาบ แม้ด้วยถ้อยคำไม่เป็นที่พอใจ ยังคงสนิทกัน ยังคงติดต่อกัน
ยังคงชอบกัน ก็ฉันนั้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้เหมือนรอยขีดในน้ำ.

อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดในหินเป็นต้น


บทว่า "อนุเสติ" ได้แก่ ความโกรธ ย่อมนอนเนื่องอยู่ เพราะยัง
ละอนุสัยไม่ได้.
ข้อว่า "น ขิปฺปํ ลุชฺชติ" ได้แก่ ความโกรธนั้นย่อมไม่สูญหายไป
ในระหว่าง คือว่า โดยเวลาเกิดขึ้นมาตลอดกัปก็ไม่สูญหาย.
ข้อว่า "เอวเมว" ความว่า ความโกรธของบุคคลแม้นั้น ย่อมไม่
ดับไปในระหว่าง คือ ในวันรุ่งขึ้น หรือในวันต่อ ๆ ไปก็ไม่ดับ (คงหมายถึง
การดับไม่เกิดอีก) ฉันนั้น อธิบายว่า ก็ความโกรธนั้นย่อมมีอยู่เป็นเวลายาว
นาน แต่ย่อมดับไปเพราะการมรณะ1 นั่นเทียว.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า ปาสาณเลขูปโม แปลว่า ผู้เปรียบด้วยรอยขีดเขียนที่หิน อันเป็น
รอยติดอยู่ตลอดกาลนาน โดยความเป็นดุจการโกรธ เหมือนรอยขีดเขียน
ที่หิน.
ข้อว่า "โส จ ขฺวสฺส โกโธ" ความว่า ความโกรธของผู้มักโกรธ
นั้น มีความโกรธเร็ว แม้เหตุเล็กน้อย.
ข้อว่า "น จิรํ" ความว่า ความโกรธ ย่อมนอนเนื่องไม่นาน เพราะ
เขายังละความโกรธไม่ได้. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า รอยขีดที่บุคคลทำการ
ขีดที่แผ่นดินย่อมลบเลือนไปด้วยลมเป็นต้นโดยเร็ว ฉันใด ความโกรธของเขา
แม้เกิดขึ้นแล้วเร็ว ก็ย่อมดับไปโดยเร็วพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.

1. คัมภีร์สัมโมหวิโนทนี สัจจวิภังคนิทเทส อธิบายคำว่า มรณะ นี้ไว้ 3 อย่างคือ. 1. ขณิก-
มรณะ แปลว่าตายทุกขณะ ก็คือ ภังคขณะของรูปและนาม 2. สมฺมติมรณะ แปลว่า ตาย
โดยสมมติ ได้แก่คนตาย สัตว์ตาย 3. สมุจเฉทมรณะ ตายไม่เกิด ได้แก่พระอรหันต์
ปรินิพพาน