เมนู

อรรถกถากายสักขีบุคคลเป็นต้น


บุคคลทั้งหลายที่ชื่อว่า กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ และ สัทธาวิมุต
ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

[88] 1. คูถภาณีบุคคล บุคคลผู้มีวาจาเหมือนคูถ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบพูดเท็จ ไปอยู่ในที่ประชุม ไปอยู่ใน
บริษัท ไปอยู่ในท่ามกลางญาติ ไปอยู่ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือไปอยู่ในท่าม
กลางราชตระกูล ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้
อย่างไร จงพูดอย่างนั้น บุคคลนั้นไม่รู้ กล่าวว่าข้าพเจ้ารู้ หรือรู้อยู่ กล่าวว่า
ข้าพเจ้าไม่รู้ ไม่เห็นกล่าวว่าข้าพเจ้าเห็น หรือเห็นอยู่ กล่าวว่าข้าพเจ้าไม่เห็น
เป็นผู้กล่าวเท็จ โดยรู้อยู่ว่าเท็จดังว่ามานี้ เพราะเหตุแห่งตน หรือเพราะเหตุ
แห่งคนอื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มีวาจา
เหมือนคูถ.

2. ปุปผภาณีบุคคล บุคคลผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ละเสียแล้วซึ่งมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจาก
มุสาวาท ไปอยู่ในที่ประชุม ไปอยู่ในบริษัท ไปอยู่ในท่ามกลางญาติ ไปอยู่
ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือไปอยู่ในท่ามกลางราชตระกูล ถูกเขานำไปเพื่อซัก
ถาม ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร จง
พูดอย่างนั้น บุคคลนั้นไม่รู้กล่าวว่าข้าพเจ้าไม่รู้ หรือรู้อยู่กล่าวว่าข้าพเจ้ารู้
ไม่เห็นกล่าวว่าข้าพเจ้าไม่เห็น เห็นอยู่กล่าวว่าข้าพเจ้าเห็น ไม่เป็นผู้กล่าวคำ
เท็จโดยรู้อยู่ว่าเท็จดังว่ามานี้ เพราะเหตุแห่งตน หรือเพราะเหตุแห่งผู้อื่น
หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้.

3.

มธุรภาณีบุคคล

บุคคลผู้มีวาจาเหมือนน้ำผึ้ง
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ วาจานั้นใดไม่มีโทษ สบายหู เป็นที่ตั้งแห่ง
ความรัก จับใจ เป็นของชาวเมือง อันคนมากใคร่ เป็นที่ชอบใจของคนมาก
เป็นผู้กล่าววาจาเช่นนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีวาจาเหมือนน้ำผึ้ง.

อรรถกถาคูถภาณีบุคคล เป็นต้น


บทว่า "สภคฺโค" ได้แก่ อยู่ในสภา คือ ที่ประชุม.
บทว่า "ปริสคฺคโต" ได้แก่ อยู่ในบริษัทชาวบ้าน.
บทว่า "คามมชฺฌคฺคโต" ได้แก่ อยู่ในท่ามกลางแห่งชาวชนบท
ทั้งหลาย.
บทว่า "ญาติมชฺฌคฺคโต" ได้แก่ อยู่ในท่ามกลางแห่งทายาท
ทั้งหลาย (ผู้รับมรดกเรียก ทายาท)
บทว่า "ปูคมชฺฌคฺคโต" ได้แก่ อยู่ในท่ามกลางแห่งอำมาตย์
ทั้งหลาย.
บทว่า "ราชกุลมชฺฌคฺคโต" ได้แก่ อยู่ในโรงมหาวินิจฉัย ใน
ท่ามกลางราชตระกูล.
บทว่า "อภินีโต" ได้แก่ ถูกเขานำไปเพื่อประโยชน์แก่การซักถาม.
บทว่า "สกฺขิ ปุฏฺโฐ" ได้แก่ ถูกเขากระทำให้เป็นพยานแล้วซัก.
คำว่า "เอหมฺโภ ปุริส" นี้ เป็นคำอาลปนะ คือ คำสำหรับร้อง
เรียก.
คำว่า "อตฺตเหตุ วา ปรเหตุ วา" ได้แก่ เพราะเหตุแห่งอวัยวะ
มีมือและเท้าเป็นต้น หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์ของตนหรือของผู้อื่น.