เมนู

บรรดาบุคคล 3 จำพวกนั้น บุคคลใดได้เห็นพระตถาคต ย่อมก้าว
ลงสู่นิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลายได้ เมื่อไม่ได้ ย่อมไม่ก้าวลงสู่
นิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ฟังธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศ
แล้วย่อมก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลายได้ เมื่อไม่ได้ ก็ย่อม
ไม่ก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลาย สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตพระธรรมเทศนาไว้ เพราะอาศัยบุคคลจำพวกนี้ ก็แหลเพราะ
อาศัยบุคคลนี้ภิกษุทั้งหลายจึงแสดงธรรมแก่บุคคล แม้เหล่าอื่น ๆ บุคคลเปรียบ
ด้วยคนไข้ 3 จำพวกเหล่านี้ ย่อมมีปรากฏอยู่ในโลก.

อรรถกถาคิลานูปมบุคคลเป็นต้น


ชนเหล่านั้น ท่านเรียกว่า คิลานูปมา คือ ผู้เปรียบด้วยคนไข้ ด้วย
อุปมาใดเพื่อจะแสดงอุปมานั้นก่อน ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "ตโย คิลานา"
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า " สปฺปายานิ " ได้แก่ อันเป็นประโยชน์
เกื้อกูล คือ กระทำให้เจริญ บทว่า "ปฏิรูปํ" ได้แก่อันเหมาะสม. ด้วยคำว่า
" เนว วุฏฺฐาติ ตมฺหา อาพาธา " พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงบุคคลผู้
เป็นไข้ที่ถึงที่สุดแล้ว ที่ประกอบด้วยโรคทั้งหลายมีโรคลม และโรคลมบ้าหมู
เป็นต้น ที่แก้ไขไม่ได้. ด้วยคำนี้ว่า "วุฏิฐาติ ตมฺหา อาพาธา" พระองค์
ตรัสถึงอาพาธเล็กน้อย อันต่างด้วยโรคทั้งหลาย มีโรคจาม โรคหิดเปื่อย
โรคตกกระ โรคฝี และโรคชรา เป็นต้น. ก็ความผาสุกของชนเหล่าใดย่อม
มีได้ด้วยการปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงบุคคลผู้อาพาธเหล่านั้นแม้
ทั้งหมดด้วยคำนี้ว่า ลภนฺโต สปฺปายานิ โน อลภนฺโต.

ก็ในที่นี้ บุคคลผู้อุปัฏฐากคนไข้ ต้องประกอบไปด้วยองค์คุณทั้งหลาย
คือ เป็นบัณฑิต 1 เป็นผู้ขยัน 1 ไม่เกียจคร้าน 1 พึงทราบว่า ชื่อว่า อุปัฏ-
ฐากที่เหมาะสม.
ข้อว่า "คิลานุปฏฺฐาโก อนุญฺญาโต" ความว่า บุคคลใดอัน
ภิกษุสงฆ์พึงให้ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า อนุญฺญาโต แปลว่า ผู้
อันภิกษุสงฆ์อนุญาตแล้ว . ก็บุคคลผู้เป็นไข้นั้นเมื่อไม่สามารถเพื่อจะยังอัตภาพ
ให้เป็นไปตามธรรมดาของตน ภิกษุสงฆ์พึงอปโลกน์แล้วให้ถ้อยคำว่า "ขอให้
ภิกษุหรือสามเณรรูปหนึ่ง จงปฏิบัติบำรุงภิกษุผู้อาพาธนี้" ก็ถ้าภิกษุหรือ
สามเณรนั้น ยังปฏิบัติภิกษุผู้อาพาธนั้นอยู่ตราบใด คนไข้ก็ดี ภิกษุหรือสามเณร
ก็ดี มีความต้องการด้วยสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นภาระแก่สงฆ์เท่านั้น.
ข้อว่า "อญฺเญปิ คิลานา อุปฏฺฐาตพฺพา" ความว่า บุคคลผู้
เป็นคนไข้ 2 จำพวก แม้นอกจากนี้ ภิกษุสงฆ์ก็ควรอุปัฏฐากด้วย.
ถามว่า "เพราะเหตุไร ?"
ตอบว่า "ก็บุคคลใดเป็นไข้ถึงที่สุดแล้ว ผู้นั้นเมื่อไม่มีใครอุปัฏฐาก
พึงเสียใจว่า "ถ้าหากว่า ภิกษุหรือสามเณรพึงปฏิบัติเรา ความผาสุกจะพึงมี
แก่เรา แต่พวกเขาไม่ปฏิบัติเรา" ดังนี้แล้วพึงไปเกิดในอบาย. ก็เมื่อคนไข้
นั้น เมื่อภิกษุสามเณรบำรุงปฏิบัติอยู่ เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า "กิจใด
ที่ภิกษุสงฆ์พึงกระทำ กิจนั้นทั้งหมด ภิกษุสงฆ์ก็กระทำแล้ว แต่กรรมวิบาก
ของเราเป็นเช่นนี้ ภิกษุผู้อาพาธนั้น ยังเมตตาจิตให้ตั้งขึ้นในภิกษุสงฆ์แล้ว
ย่อมเกิดในสวรรค์.
อนึ่ง ภิกษุใด มีอาพาธเล็กน้อย ได้อุปัฏฐากก็ตาม ไม่ได้ก็ตาม
ย่อมหายจากโรคได้ ภิกษุผู้อาพาธเล็กน้อยนั้น แม้เว้นจากเภสัช พยาธิก็เข้า
ไปสงบระงับได้ แต่ถ้าเขาทำเภสัชให้ฉัน อาพาธเล็กน้อยนั้นก็ย่อมสงบระงับ

ได้โดยเร็วพลัน. ลำดับนั้น คนไข้ที่หายจากโรคแล้วนั้น เขาอาจเพื่อเรียน
พระพุทธวจนะ หรือกระทำสมณธรรม ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "ภิกษุ
สงฆ์พึงอุปัฏฐากคนไข้แม้พวกอื่น"
ข้อว่า "เนว โอกฺกมติ" ได้แก่ ไม่เข้าไป.
ข้อว่า "นิยามํ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตํ" ได้แก่ สัมมตธรรม
กล่าวคือมรรคนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงบุคคล
ผู้มีบทอย่างยิ่ง (ปทปรม) ด้วยธรรมข้อนี้. ทรงถือเอา อุคฆฏิตัญญูบุคคล ผู้
เช่นกับพระนาลกเถระในพระศาสนาด้วยวาระที่ 2 และทรงถือเอาอุคฆฏิตัญญู
บุคคลผู้มีปัจเจกโพธิญาณ ซึ่งท่านได้โอวาทในสำนักแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้งหลายครั้งหนึ่งในพุทธันดรแล้วจึงแทงตลอดสัจธรรมคือ บรรลุเป็นพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า. พระองค์ทรงกล่าวถึง วิปจิตัญญูบุคคล ด้วยวาระที่ 3. ก็
เนยยบุคคล ย่อมเป็นผู้อาศัย วิปจิตัญญูบุคคลนั่นเทียว.
ข้อว่า "ธมฺมเทสนา อนุญฺญาตา" ความว่า พระองค์ทรงอนุญาต
พระธรรมเทศนาเดือนละ 8 ครั้ง.
ข้อว่า "อญฺเญสมฺปิ ธมฺโม เทเสตพฺโพ" ความว่า พระธรรม-
กถึกควรกล่าวธรรมแก่ชนทั้งหลายแม้นอกจากนี้.
ถามว่า "เพราะเหตุไร ?"
ตอบว่า "เพราะปทปรมบุคคล แม้ไม่สามารถแทงตลอดธรรมใน
อัตภาพนี้ แต่ก็จะเป็นปัจจัยไปในกาลข้างหน้า.
อนึ่ง คนไข้ใด ได้เห็นรูปพระตถาคตก็ดี ไม่ได้เห็นก็ดี และได้
พระธรรมวินัยก็ดี ไม่ได้ก็ดี เขาย่อมตรัสรู้ธรรมได้ คนไข้นั้นเมื่อไม่ได้ตรัส
รู้ก่อน แต่เมื่อได้ปัจจัยที่สมควรก็จักตรัสรู้ได้โดยเร็วพลันนั่นเทียว เพราะ

ฉะนั้นพระธรรมกถึกทั้งหลาย พึงแสวงธรรมแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นด้วยเหตุที่
กล่าวมานี้. แต่ว่าความแสดงธรรมแก่บุคคลที่ 3 บ่อย ๆ ทีเดียว.
[87] 1. กายสักขีบุคคล บุคคลชื่อว่า กายสักขี เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่
และกิเลสบางอย่างของผู้นั้น เป็นของสิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
บุคคลนี้เรียกว่ากายสักขี.
2. ทิฏฐิปัตตบุคคลบุคคล ชื่อว่า ทิฏฐิฏตะ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้
ตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้
ความดับทุกข์ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
และธรรมทั้งหลายอันพระตถาคตประกาศแล้ว เป็นอันเธอได้เห็นดีแล้วด้วย
ปัญญา เป็นอันเธอดำเนินไปด้วยดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่าง
ของเธอเป็นอันสิ้นไปแล้วโดยรอบ เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า
ทิฏฐิปัตตะ.
3. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคลชื่อว่าสัทธาวิมุต เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
ธรรมทั้งหลายอันพระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมเป็นอันเธอเห็นแล้วด้วยดี
ด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่างของเธอเป็นอันสิ้นไปแล้วโดยรอบ เพราะเห็น
ด้วยปัญญา อาสวะของทิฏฐิปัตตะบุคคลสิ้นไปรอบ ฉันใด อาสวะของสัทธา-
วิมุตตบุคคลหาเป็นเช่นนั้นไม่ บุกคลนี้เรียกว่า สัทธาวิมุต.

อรรถกถากายสักขีบุคคลเป็นต้น


บุคคลทั้งหลายที่ชื่อว่า กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ และ สัทธาวิมุต
ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

[88] 1. คูถภาณีบุคคล บุคคลผู้มีวาจาเหมือนคูถ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบพูดเท็จ ไปอยู่ในที่ประชุม ไปอยู่ใน
บริษัท ไปอยู่ในท่ามกลางญาติ ไปอยู่ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือไปอยู่ในท่าม
กลางราชตระกูล ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้
อย่างไร จงพูดอย่างนั้น บุคคลนั้นไม่รู้ กล่าวว่าข้าพเจ้ารู้ หรือรู้อยู่ กล่าวว่า
ข้าพเจ้าไม่รู้ ไม่เห็นกล่าวว่าข้าพเจ้าเห็น หรือเห็นอยู่ กล่าวว่าข้าพเจ้าไม่เห็น
เป็นผู้กล่าวเท็จ โดยรู้อยู่ว่าเท็จดังว่ามานี้ เพราะเหตุแห่งตน หรือเพราะเหตุ
แห่งคนอื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มีวาจา
เหมือนคูถ.

2. ปุปผภาณีบุคคล บุคคลผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ละเสียแล้วซึ่งมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจาก
มุสาวาท ไปอยู่ในที่ประชุม ไปอยู่ในบริษัท ไปอยู่ในท่ามกลางญาติ ไปอยู่
ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือไปอยู่ในท่ามกลางราชตระกูล ถูกเขานำไปเพื่อซัก
ถาม ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร จง
พูดอย่างนั้น บุคคลนั้นไม่รู้กล่าวว่าข้าพเจ้าไม่รู้ หรือรู้อยู่กล่าวว่าข้าพเจ้ารู้
ไม่เห็นกล่าวว่าข้าพเจ้าไม่เห็น เห็นอยู่กล่าวว่าข้าพเจ้าเห็น ไม่เป็นผู้กล่าวคำ
เท็จโดยรู้อยู่ว่าเท็จดังว่ามานี้ เพราะเหตุแห่งตน หรือเพราะเหตุแห่งผู้อื่น
หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้.