เมนู

[79] 1. สุตัปปยบุคคล บุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย 2 จำพวก
เป็นไฉน ?

ผู้ที่ไม่เก็บของที่ตนได้แล้ว ๆ 1. ผู้ที่ไม่สละของที่ตนได้แล้ว ๆ 1.
บุคคล 2 จำพวกนี้ ให้อิ่มได้ง่าย.

อรรถกถาบุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย


คำว่า "น วิสชฺเชติ" ได้แก่ กระทำให้เป็นของ ๆ ตน ไม่ให้แก่
ผู้อื่น แต่เมื่อมีอดิเรกลาภ (ของเหลือ) ก็ไม่เก็บไว้ ย่อมถวายแก่ภิกษุอื่นเสีย
ข้อนี้ มีคำอธิบายไว้ดังนี้ คือ.
ก็ภิกษุใดแล มีจีวรเก่าแล้ว ได้ผ้าสาฎกจากตระกูลอุปัฏฐาก หรือ
ตระกูลญาติ กระทำให้เป็นจีวร ใช้ไม่ยอมทิ้ง แม้ปะแล้วก็ยังใช้ห่มอยู่
เมื่อตระกูลเหล่านั้นถวายให้ใหม่ก็ไม่รีบรับโดยเร็ว (หมายถึงมีการพิจารณา)
นี้พวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง นั้นคือ ภิกษุใดใช้จีวรที่ได้แล้ว ๆ ด้วยตนเอง ย่อม
ไม่ถวายแก่ภิกษุเหล่าอื่นภิกษุแม้ทั้ง 2 พวกนี้ใคร ๆ ก็อาจให้อิ่มได้โดยง่าย
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สุตตัปปยา แปลว่า อันผู้อื่นให้อิ่มได้โดยง่าย.
[80] อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล 2 จำพวกเหล่า
ไหน ?

ผู้ที่ประพฤติรังเกียจ สิ่งที่ไม่ควรรังเกียจ 1. ผู้ที่ไม่พระพฤติรังเกียจ
สิ่งที่ควรรังเกียจ 1.

อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล 2 จำพวกเหล่านี้.


[81] อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญแก่บุคคล 2 จำพวก
เหล่าไหน ?

ผู้ที่ไม่ประพฤติรังเกียจ สิ่งที่ไม่ควรรังเกียจ 1. ผู้ที่ประพฤติรังเกียจ
สิ่งที่ควรรังเกียจ 1.
อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล 2 จำพวก เหล่านี้.
[82] 1. หีนาธิมุตตบุคคล บุคคลผู้มีอัธยาศัยเลว เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก เขาย่อมเสพ ย่อม
คบ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้ทุศีล ผู้มีธรรมอันลามก นี้เรียกว่า บุคคลผู้
มีอัธยาศัยเลว.

2. ปณีตาธิมุตตบุคคล บุคคลผู้มีอัธยาศัยประณีต
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม เขาย่อมเสพย่อมคบ
ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ผู้มีศีล ผู้มีธรรมอันงาม นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีอัธยาศัย
ประณีต.


[83] ติตตบุคคล บุคคลผู้อิ่มแล้ว เป็นไฉน ?
พรูปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายของพระตถาคตเจ้าผู้เป็น
พระอรหันต์ชื่อว่า ผู้อิ่มแล้ว 1. สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า ผู้อิ่ม
แล้วด้วย ยังผู้อื่นให้อิ่มแล้วด้วย 1.

จบบุคคล 2 จำพวก

คำว่า "อาสวา" ได้แก่ กิเลสทั้งหลาย.
คำว่า "น กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ กุกฺกุจฺจายติ" ความว่า ย่อมประพฤติ
รังเกียจ สิ่งที่ไม่ควรรังเกียจเช่น ภิกษุได้เนื้อสุกรแล้วประพฤติรังเกียจว่า เป็น
เนื้อหมี. ได้เนื้อมฤคแล้วประพฤติรังเกียจว่า เป็นเนื้อเสือเหลือง, เมื่อกาล
(แห่งภัต) ยังมีอยู่ ย่อมประพฤติรังเกียจว่า กาลไม่มี, ไม่ถูกห้าม แต่
ประพฤติรังเกียจว่า เราถูกห้ามเสียแล้ว เมื่อละอองธุลียังไม่ตกไปในบาตรเลย
ย่อมประพฤติรังเกียจว่าละอองธุลีตกไปแล้ว. เมื่อเขายังไม่กระทำเนื้อปลาอุทิศ
ต่อตน ก็ประพฤติรังเกียจว่า เขากระทำเนื้อปลาอุทิศต่อเรา.
คำว่า "กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ น กุกฺกจฺจายติ" ความว่า ย่อมไม่
ประพฤติรังเกียจ สิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจเช่น ภิกษุได้เนื้อหมีแล้วย่อมไม่
ประพฤติรังเกียจว่า เป็นเนื้อหมี ฯลฯ ครั้นเมื่อเขาการทำเนื้อปลาอุทิศ คือ
เจาะจงตน ย่อมไม่ประพฤติรังเกียจว่า เขาทำเนื้อปลาอุทิศ คือ เจาะจงซึ่งเรา.
ส่วนใน อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ท่านกล่าวคำไว้มีประมาณเท่านี้ว่า
คำว่า "กุกกุจฺจายิตพฺพํ" ได้แก่ การไม่ตั้งไว้ การไม่พิจารณาซึ่งส่วนอัน
เป็นของสงฆ์ ชื่อว่า อันใคร ๆ ไม่พึงรังเกียจ ย่อมรังเกียจสิ่งนั้น. คำว่า
"กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ" ความว่า การตั้งไว้ การพิจารณาซึ่งสิ่งอันเป็นของสงฆ์
นั้นนั่นแหละ ย่อมไม่รังเกียจของนั้น.
คำว่า "อิเมสํ" ความว่า อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแน่นอนแก่
บุคคลทั้ง 2 พวกเหล่านั้น ทั้งในกลางวัน ทั้งในกลางคืน ดุจหญ้าและเถาวัลย์
เป็นต้น งอกงามเจริญอยู่ในภูมิภาคอันดี. ในธรรมขาว บัณฑิตพึง
ทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า ภิกษุใดได้กัปปิยะมังสะ คือ เนื้อที่สมควรแล้วก็รับ
เอาเนื้อที่สมควรนั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติ
รังเกียจ.

คำว่า "หีนาธิมุตฺโต" ได้แก่ ผู้มีอัชฌาสัยอันเลว.
คำว่า "ทุสฺสีโล" ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล.
คำว่า "ปาปธมฺโม" ได้แก่ ผู้มีธรรมอันลามก.
คำว่า "ปณีตาธิมุตฺโต" ได้แก่ ผู้มีอัชฌาสัยอันประณีต.
คำว่า "กลฺยาณธมฺโม" ได้แก่ ผู้มีธรรมอันเจริญ คือ มีธรรมอัน
สะอาด มีธรรมอันงาม.
คำว่า "ติตฺโต" แปลว่า อิ่มแล้ว ได้แก่ ผู้ตั้งตนไว้ดีแล้ว คือ
ถึงที่สุดแล้ว.
คำว่า "ตปฺเปตา" แปลว่า ผู้ยังบุคคลอื่นให้อิ่ม ได้แก่ ผู้กระทำ
บุคคลทั้งหลายอื่นให้อิ่ม.
ในคำนี้ว่า "ปจฺเจกสมฺพุทฺธา เย จ ตถาคตสาวกา" พึงทราบ
คำอธิบายว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายท่านอิ่มแล้ว คือ บริบูรณ์แล้วด้วย
โลกุตตรธรรมทั้ง 9 ประการ แต่ไม่สามารถเพื่อให้บุคคลทั้งหลายเหล่าอื่นอิ่ม
ได้ เพราะว่า การตรัสรู้ของสัตว์ทั้งหลายด้วยธรรมกถาของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมไม่มี. แต่ว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไม่มีประมาณมีการ
ตรัสรู้ธรรมด้วยธรรมกถาแห่งพระสาวกทั้งหลาย. พระสาวกทั้งหลายเหล่านั้น
เมื่อแสดงธรรมมิได้แสดงให้เป็นถ้อยคำของตนเอง แต่แสดงธรรมกถากระทำ
ให้เป็นถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้บริษัทที่นั่งประชุมกันเพื่อจะฟังธรรม
ก็กระทำความเคารพว่า พระภิกษุรูปนี้มิได้แสดงธรรมที่ตนเองแทงตลอดแล้ว

ย่อมกล่าวธรรมที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น การกระทำความ
เคารพยำเกรงจึงมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั่นเทียว.
บรรดาบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ชื่อว่า
ยังบุคคลอื่นให้อิ่ม ด้วยประการฉะนี้ เหมือนอย่างว่า "เมื่อพระราชารับสั่งว่า
ท่านทั้งหลายจงให้ของสิ่งนี้และสิ่งนี้แก่บุคคลชื่อโน้น ราชบุรุษนำของมาแล้ว
ให้แก่บุคคลชื่อโน้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พระราชาเท่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ให้
นั้น ของแม้อันชนทั้งหลายเหล่าใดได้แล้ว ชนเหล่านั้นย่อมรับเอาด้วยคิดว่า
ฐานันดร อันพระราชาพระราชทานแล้วแก่เรา สมบัติ คือ อิสริยยศ อัน
พระราชาพระราชทานแล้วแก่เรา เท่านั้น แต่ถือเอาด้วยความคิดว่า ฐานันดร
เป็นต้น อันราชบุรุษทั้งหลายให้แก่พวกเราหามิได้ ฉันใด ข้ออุปมาเป็นเครื่อง
ยังคำอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้ บัณฑิตพึงทราบ ฉันนั้น. คำที่เหลือในบททั้งปวง
เนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาทุกนิทเทส ว่าด้วยบุคคล 2 จำพวก เพียงเท่านี้

ติกนิทเทส


ว่าด้วยบุคคล 3 จำพวก


[84] 1. นิราสบุคคล บุคคลผู้ไม่มีความหวัง เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ผู้ประกอบด้วย
กายกรรมเป็นต้นอันไม่สะอาดและสมาจารอันผู้อื่นหรือตนพึงระลึกได้ด้วย
ความระแวง ผู้มีการงานอันปกปิด ผู้มีใช่สมณะแต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ผู้มิ
ใช่พระพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เน่าใน ผู้อัน
ราคะชุ่มแล้ว ผู้มีหยากเยื่อมีราคะเป็นต้น เกิดแล้ว เธอได้ยินว่า นัยว่า ภิกษุมี
ชื่ออย่างนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้วซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว
สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม ดังนี้ เธอย่อมไม่เกิดความคิดอย่างนี้ว่า แม้เรา
ก็จักรู้ยิ่งด้วยตนเอง จักทำให้แจ้ง จักเข้าถึงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อัน
หาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ใน
ทิฏฐธรรมในกาลไหน ๆ โดยแท้ดังนี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีความหวัง.
2. อาสังสบุคคล บุคคลผู้มีความหวัง เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลมีธรรมอันงาม เธอได้ยินว่า นัยว่า
ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย สำเร็จ
อิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรมดังนี้ เธอย่อมได้เกิดความคิดขึ้นว่า แม้ว่าเราก็รู้ยิ่ง