เมนู

ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้น เพื่อ
ละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน เมื่อล่วงพ้นท่ามกลางกำหนดอายุบ้าง เมื่อใกล้
จะทำกาลกิริยาบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า อุปหัจจปรินิพพายี.

อรรถกถาอุปหัจจปรินิพพายีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่งพระอนาคามี ผู้ชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายี-
บุคคล.
คำว่า "อติกฺกมิตฺวา เวมชฺฌํ อายุปฺปมาณํ" ได้แก่ก้าวล่วงเลย
ท่ามกลางประมาณแห่งอายุ. คำว่า "อุปหจฺจ วา กาลกิริยํ" ได้แก่ ใกล้
จะทำกาลกิริยา อธิบายว่า จวนจะสิ้นอายุแล้ว . คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความ
ว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า อุปหัจจปรินิพพายี เพราะก้าว
ล่วงเลยท่ามกลาง 500 มหากัปแห่งอายุ อันมี 1,000 มหากัปเป็นประมาณ
ในอวิหาภูมิทั้งหลายก่อน แล้วจึงตั้งอยู่ในกัปที่ 600 มหากัปหรือที่ 700
มหากัป หรือที่ 800 มหากัป หรือที่ 900 มหากัป หรือที่ 1,000 มหากัป
อย่างใดอย่างหนึ่งนั่นแหละ แล้วจึงบรรลุพระอรหัต และปรินิพพานด้วย
กิเลสปรินิพพาน.
จบอรรถกถาอุปหัจจปรินิพพายีบุคคล

[54]

อสังขารปรินิพพายีบุคคล

บุคคลชื่อว่า อสังขาร-
ปรินิพพายีเป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์
ทั้ง 5 มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอัน

ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นโดย
ไม่ลำบาก เพื่อละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่า อสังขาร-
ปรินิพาพยี.

[55] สสังขารปรินิพพายีบุคคล บุคคลชื่อว่า สสังขาร-
ปรินิพพายีเป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์
ทั้ง 5 มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอัน
ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นโดย
ลำบาก เพื่อละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่า สสังขาร-
ปรินิพพายี.


อรรถกถาอสังขารปรินิพพายี และสสังขารปรินิพพายีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง พระอนาคามี ผู้ชื่อว่า อสังขารปรนิพพายี
และสสังขารปรินิพพายีบุคคล.
พระอนาคามีรูปใด ไม่กระทำความเพียร
อย่างแรงกล้า โดยไม่รวบรัด รีบเร่ง มีทุกข์น้อย บรรลุพระอรหัตแล้ว
ปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพานตามธรรมดา ฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า อสังขาร-
ปรินิพพายี
แปลว่า ผู้ปรินิพพานตามธรรมดา โดยมิได้กระทำความเพียร
อย่างแรงกล้า. ส่วนรูปใด กระทำความเพียรอย่างแรงกล้า โดยรีบด่วนไม่
ชักช้า มีความทุกข์ยาก บรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพาน ด้วยกิเลสปรินิพพาน
ตามธรรมดา ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สสังขารปรินิพพายี แปลว่า ผู้
ปรินิพพานตามธรรมดาด้วยการกระทำความเพียรอย่างแรงกล้า.
จบอรรถกถาอสังขารปรินิพพายี และสสังขารปรินิพพายีบุคคล