เมนู

ถามว่า ก็พระสกทาคามีนี้ มีการกระทำที่แตกต่างกันกับพระโสดาบัน
ที่ชื่อว่า เอกพีชี อย่างไรบ้าง ?
ตอบว่า พระโสดาบัน ผู้ชื่อว่า เอกพีชี ท่านมีปฏิสนธิครั้งเดียว
เท่านั้น ส่วนพระสกทาคามีท่านมีปฏิสนธิ 2 ครั้ง ข้อนี้ เป็นการการทำที่แตก
ต่างกันระหว่างพระอริยะทั้งสองเหล่านั้น.
จบอรรถกถาสกทาคามีบุคคล

[51]

อนาคามีบุคคล

บุคคลชื่อว่า อนาคามี เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์
ทั้ง 5 มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอัน
ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า อนาคามี

อรรถกถาอนาคามีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง อนาคามีบุคคล. กามธาตุ พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสเรียกว่า โอรํ แปลว่า ต่ำ ในคำว่า "โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ"
เครื่องผูกทั้ง 5 เหล่านั้น อันบุคคลใดยังละไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนั้นบุคคลนั้น
แม้บังเกิดในภวัคคภูมิ ก็ยังถูกเครื่องผูกเหล่านั้นดึงให้ตกไปในกามธาตุนั่นเทียว
เหมือนปลาที่กลืนกินเบ็ด และ เหมือนนกกาที่เขาเอาเชือกยาวผูกเท้าไว้ เพราะ
ฉะนั้น เครื่องผูกทั้ง 5 ท่านจึงเรียกว่า โอรัมภาคิยะ อธิบายว่า โอรัมภาคิยะ
นี้ เป็นของเบื้องต่ำ คือ เป็นส่วนเบื้องต่ำ.

บทว่า "ปริกฺขยา" ได้แก่ เพราะสิ้นไปรอบแห่งเครื่องผูกเหล่านั้น
บทว่า " โอปปาติโก" ได้แก่ ผู้มีกำเนิดเป็นโอปปาติกะ. หมายความ
ว่า การนอนในครรภ์ ของพระอนาคามีนั้นท่านพ้นเสียแล้วด้วยบทว่า "โอป-
ปาติโก"
นี้.
คำว่า "ตตฺถ ปรินิพฺพายิ" ได้แก่ พระอนาคามี ผู้ปรินิพพาน
ในสุทธาวาสเทวโลกนั้น.
คำว่า " อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา " ความว่า ได้แก่ การ
ไม่มาจากพรหมโลกแล้วกลับมาสู่กามโลกนี้ ด้วยอำนาจถือปฏิสนธิเป็นสภาวะ.
ก็การมาของพระอนาคามีนั้น เพื่อประโยชน์แก่การเห็นพระพุทธเจ้า พระเถระ
และสดับฟังพระสัทธรรมอันธรรมดามิได้ห้ามไว้.
คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้มีสภาวะอย่างนี้ ท่าน
เรียกว่าพระอนาคามี เพราะไม่กลับมาอีก ด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
จบอรรถกถาอนาคามีบุคคล

[52] อันตราปรินิพพายีบุคคล บุคคลชื่อว่า อันตราปริ-
นิพพายี เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญ-
โญชน์ทั้ง 5 มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุททวาสนั้น
มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้น
เพื่อละสัญโญชน์ อันมีในเบื้องบน ในระยะเวลาติดต่อกับที่เกิดบ้าง ยังไม่ถึง
ท่ามกลางกำหนดอายุบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า อันตราปรินิพพายี.

อรรถกถาอันตราปรินิพพายีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่งพระอนาคามี ผู้ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี-
บุคคล.
คำว่า "อุปฺปนฺนํ วา สมนนฺตรา" ความว่า เป็นกาลติดต่อกัน
กับการเกิดขึ้นบ้าง. คำว่า "อปฺปตฺตํ วา เวมชฺฌํ อายุปฺปมาณํ" ความว่า
ยังไม่ถึงประมาณท่ามกลางอายุบ้าง อธิบายว่า ยังไม่ถึงท่ามกลางอายุ ท่านย่อม
ยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว แล้วปรินิพพาน. ก็เนื้อความว่า "เวมชฺฌํ ปตฺตํ"
แปลว่า ถึงท่ามกลางบ้าง บัณฑิตพึงทราบโดยการกำหนดด้วย "วา" ศัพท์.
พระอนาคามีผู้อันตรายปรินิพพายี 3 จำพวก เป็นอันสำเร็จแล้วด้วยประการ
ฉะนี้. คำว่า "อุปริฏฺฐิมานํ สญฺโญชนานํ" ได้แก่ อุทฺธัมภาคิยสังโยชน์
5 เบื้องบน หรือได้แก่ กิเลส 8. บทว่า "ปหานาย" ได้แก่ ยังมรรค
ให้เกิดขึ้นเพื่อต้องการละสังโยชน์เหล่านั้น.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า อันตรายปรินิพพายี เพราะปรินิพพานในระหว่างท่ามกลางแห่งอายุนั่น
เทียว.
จบอรรถกถาอันตราปรินิพพายีบุคคล

[53]

อุปหัจจปรินิพพายีบุคคล

บุคคลชื่อว่า อุปหัจจปริ-
นิพพายี เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์
ทั้ง 5 มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอัน