เมนู

[50] สกทาคามีบุคคล บุคคลชื่อว่า สกทาคามี เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง 3
เพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางลง เป็นพระสกทาคามี ซึ่งยังจะมาสู่โลก
นี้คราวเดียวเท่านั้นแล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า สกทาคามี.

อรรถกถาสกทาคามีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง สกทาคามีบุคคล. บุคคลใด ย่อมมาอีกครั้ง
เดียวด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิ เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า สกทาคามี แปล
ว่า ผู้มาปฏิสนธิอีกครั้งเดียว.
บทว่า "สกิเทว" ได้แก่ ครั้งหนึ่งเท่านั้น.
บรรดาพระสกทาคามี 5 จำพวก 4 จำพวกพระองค์ไม่ทรงประสงค์
เอา แต่ทรงประสงค์เอาเพียงพวกเดียวเท่านั้นในที่นี้ ด้วยบทว่า "อิมํ โลกํ
อาคนฺตฺวา"
เพราะว่า พระสกทาคามีบางพวกบรรลุสกทาคามิผลในโลกนี้ ย่อม
ปรินิพพานในโลกนี้นั่นแหละ บางพวกบรรลุสกทาคามิผลในโลกนี้ปรินิพพาน
ในเทวโลก บางพวกบรรลุในเทวโลกปรินิพพานในเทวโลกนั่นแหละ บางพวก
บรรลุในเทวโลกแล้วเกิดขึ้นในโลกนี้แล้วจึงปรินิพพาน รวมพระสกทาคามีทั้ง
4 จำพวก ดังกล่าวมานี้ พระองค์มิได้ทรงประสงค์เอา ในสกทาคามีนิสเทสนี้.
แต่พระสกทาคามี พวกใด บรรลุในโลกนี้ แล้วดำรงชีวิตอยู่ใน
เทวโลกตลอดอายุ แล้วก็เกิดขึ้นในโลกนี้อีก จึงปรินิพพาน พระสกทาคามี
พวกเดียวนี้เท่านั้น พึงทราบว่า พระองค์ทรงถือเอาใน สกทาคามีนิทเทส
นี้.
คำใดที่ยังเหลืออยู่ในที่นี้ ข้าพเจ้ายังมิได้กล่าว คำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้า
กล่าวแล้วในโลกุตตรกุศลนิทเทส ในอรรถกถาแห่งธรรมสังคหะในหนหลัง.

ถามว่า ก็พระสกทาคามีนี้ มีการกระทำที่แตกต่างกันกับพระโสดาบัน
ที่ชื่อว่า เอกพีชี อย่างไรบ้าง ?
ตอบว่า พระโสดาบัน ผู้ชื่อว่า เอกพีชี ท่านมีปฏิสนธิครั้งเดียว
เท่านั้น ส่วนพระสกทาคามีท่านมีปฏิสนธิ 2 ครั้ง ข้อนี้ เป็นการการทำที่แตก
ต่างกันระหว่างพระอริยะทั้งสองเหล่านั้น.
จบอรรถกถาสกทาคามีบุคคล

[51]

อนาคามีบุคคล

บุคคลชื่อว่า อนาคามี เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์
ทั้ง 5 มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอัน
ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า อนาคามี

อรรถกถาอนาคามีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง อนาคามีบุคคล. กามธาตุ พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสเรียกว่า โอรํ แปลว่า ต่ำ ในคำว่า "โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ"
เครื่องผูกทั้ง 5 เหล่านั้น อันบุคคลใดยังละไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนั้นบุคคลนั้น
แม้บังเกิดในภวัคคภูมิ ก็ยังถูกเครื่องผูกเหล่านั้นดึงให้ตกไปในกามธาตุนั่นเทียว
เหมือนปลาที่กลืนกินเบ็ด และ เหมือนนกกาที่เขาเอาเชือกยาวผูกเท้าไว้ เพราะ
ฉะนั้น เครื่องผูกทั้ง 5 ท่านจึงเรียกว่า โอรัมภาคิยะ อธิบายว่า โอรัมภาคิยะ
นี้ เป็นของเบื้องต่ำ คือ เป็นส่วนเบื้องต่ำ.