เมนู

คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียก
ว่าธัมมานุสารี. ก็บุคคลใดย่อมระลึก คือ ย่อมตามระลึกด้วยธรรม กล่าวคือ
ปัญญา เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ธัมมานุสารี.
คำว่า "ธมฺมานุสารี" นี้ เป็นชื่อแห่งบุคคลผู้ดำรงอยู่ในพระโสดา-
ปัตติมรรค แต่เมื่อท่านบรรลุผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล.
จบอรรถกถาธัมมานุสารีบุคคล

[46]

สัทธนุสารีบุคคล

บุคคลชื่อว่า สัทธานุสารี เป็นไฉน ?

สัทธินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มี
ประมาณยิ่ง อบรมอริยมรรคมีศรัทธาเป็นเครื่องนำมา มีศรัทธาเป็นประธาน
ให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่าสัทธานุสารี. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดา-
ปัตติผล ชื่อว่า สัทธานุสารี.
บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า สัทธาวิมุต.

อรรถกถาสัทธานุสารีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่งสัทธานุสารีบุคคล. ผู้ใดย่อมนำมาซึ่งศรัทธา
เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า สัทธาวาหี แปลว่าผู้นำมาซึ่งศรัทธา. อธิบายว่า
ศรัทธานำบุคคลนี้มา. ท่านกล่าวว่า "สุทธาวาหี" ดังนี้บ้างก็มีเหมือนกัน.
บทว่า "สทฺธาปุพฺพงคมํ" ได้แก่ กระทำศรัทธาให้เป็นปุเรจาริก คือ ให้
เป็นหัวหน้า. สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้คือ ผู้เห็นปานนี้
ท่านเรียกว่า สัทธานุสารี. บุคคลใดย่อมระลึก คือ ย่อมตามระลึกถึงด้วย

ศรัทธา เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า สัทธานุสารี. คำว่า "สทฺธานุสารี" นี้
เป็นชื่อของพระโสดาปัตติมรรค. แต่เมื่อท่านบรรลุผลจิตแล้ว ชื่อว่า สัทธา-
วิมุต. ก็ชื่อว่า ธุระ 2 อย่าง, ชื่อว่า อภินิเวส 2 อย่าง, และชื่อว่า สีสะ
2 อย่างของท่านผู้ยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้นมีอยู่.
บรรดาธุระเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า ธุระ มี 2 อย่างคือ สัทธาธุระ 1.
ปัญญาธุระ 1.
ชื่อว่า อภินิเวส คือ การอาศัย 2 อย่างคือ ภิกษุรูปหนึ่ง ย่อม
อยู่ด้วยความสามารถแห่งการอาศัยสมถะ (สมถาภินิเวส) อีกรูปหนึ่ง ย่อมอยู่
ด้วยความสามารถแห่งการอาศัยวิปัสสนา (วิปัสสนาภินิเวส).
และชี่อว่า สีสะ คือ ที่สุด เหล่านี้ก็มี 2 อย่าง คือ ภิกษุรูปหนึ่ง
บรรลุธรรมถืงที่สุดแล้ว ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต ภิกษุรูปหนึ่ง บรรลุธรรม
ถึงที่สุดแล้วมีชื่อว่า ปัญญาวิมุต. อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อม
ยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น ท่านเหล่านั้นทั้งหมดย่อมกระทำธรรม 2 อย่างนี้ คือ
ศรัทธา และ ปัญญา ให้เป็นธุระ อาศัยฐานะทั้ง 2 เหล่านั้นคือ สมถาภินิเวส
และวิปัสสนาภินิเวส และย่อมหลุดพ้นด้วยสีสะทั้ง 2 เหล่านี้ คืออุภโตภาค-
วิมุตตสีสะ และ ปัญญาวิมุตตสีสะ.
บรรดาท่านเหล่านั้น ภิกษุรูปใด ได้สมาบัติ 8 กระทำปัญญาให้เป็น
ธุระ อาศัยอำนาจสมถะกระทำอรูปสมาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นปทัฏฐาน
แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ภิกษุรูปนั้น ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
ชื่อว่า ธัมมานุสารี แต่ในฐานะ 6 ข้างหน้า คือ ตั้งแต่โสดาปัตติผล ถึง
อรหัตมรรค ชื่อว่า กายสักขี. เมื่อบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ชื่อว่า อุภโต-
ภาควิมุต.

อีกรูปหนึ่งทำปัญญาอย่างเดียวเท่านั้นให้เป็นธุระ อาศัยอำนาจวิปัสสนา
พิจารณาสุทธสังขาร หรือรูปาวจรฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรลุพระอรหัต.
ภิกษุแม้นี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า ธัมมานุสารี แต่ในฐานะ 6
ข้างหน้า คือ ตั้งแต่โสดาปัตติผลถึงอรหัตมรรค ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ. เมื่อบรรลุ
พระอรหัตผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุต. ชื่อ 2 อย่างคือ ปัญญาวิมิต และ ทิฏฐิปัตตะ
ไม่เคยมีในที่นี้ และรวมกับชื่อก่อน ๆ อีก 3 ชื่อ คือ ธัมมานุสารี กายสักขี
และอุภโตภาควิมุต จึงเป็น 5 ชื่อด้วยกัน.
อีกรูปหนึ่ง ท่านได้สมาบัติ 8 กระทำศรัทธาให้เป็นธุระ อาศัยอำนาจ
สมถะ กระทำอรูปสมาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นปทัฏฐาน เริ่มทั้งวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัต. ภิกษุนี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า สัทธานุสารี
แต่ในฐานะ 6 ข้างหน้า ชื่อว่า กายสักขีนั่นแหละ. เมื่อบรรลุพระอรหัตผล
แล้วจึงชื่อว่า อุภโตภาควิมุต นั่นเทียว. ชื่ออย่างเดียวเท่านั้น คือ สัทธานุสารี
ไม่เคยมีในที่นี้ รวมกับชื่อ 5 ชื่อข้างต้น ก็เป็น 6 ชื่อด้วยกัน.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง กระทำศรัทธานั่นแหละให้เป็นธุระ อาศัยอำนาจ
วิปัสสนาพิจารณาสังขารล้วน หรือรูปาวจรฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วบรรลุ
พระอรหัต. ภิกษุแม้นี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า สัทธานุสารี ใน
ฐานะ 6 ข้างหนน้า คือ ตั้งแต่โสดาปัตติผลถึงอรหัตมรรค ชื่อว่า สัทธาวิมุต
เมื่อท่านบรรลุอรหัตผลแล้วจึงชื่อว่าปัญญาวิมุต. ชื่ออย่างเดียวเท่านั้น คือ สัท-
ธาวิมุต ไม่เคยมีในที่นี้ แล้วรวมกับชื่อ 6 ชื่อข้างต้น ก็เป็น 7 ชื่อด้วยกัน.
พระอริยบุคคล 7 จำพวกเหล่านี้ ชื่อว่า เป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศในโลก.
จบอรรถกถาสัทธานุสารีบุคคล

[47] สัตตักขัตตุปรมบุคลล บุคคลชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง 3
เป็นโสดาบัน มีอันไม่ไปเกิดในอบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะได้ตรัสรู้
ในเบื้องหน้า บุคคลนั้นจะแล่นไป ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ 7 ชาติ
แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า สัตตักขัตตุปรมะ.

อรรถกถาสัตตักขัตตุปรมบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง สัตตักขัตตุปรมบุคคล. คำว่า "สตฺตกฺขตฺตํ"
ได้แก่สิ้น 7 ครั้ง. การเกิดขึ้นในภพ กล่าวคือ การถือเอาซึ่งอัตภาพมี 7
ชาติเป็นอย่างยิ่งของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า สตฺตกฺ-
ขตฺตุปรโม
แปลว่า ผู้มี 7 ชาติเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านไม่ถือเอาภพที่ 8
จากภพที่ 7 นั้นไป. อุริยมรรค ชื่อว่า "โสโต" แปลว่า กระแส ในคำนี้ว่า
"โสตาปนฺโน โหติ" บุคคลผู้ประกอบด้วยมรรคที่ชื่อว่าโสโตนั้น ชื่อว่า
โสดาบัน.
เหมือนอย่างคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า "ก็ สารีบุตร เรากล่าวคำนี้ว่า
"โสโต โสโต" ดังนี้ สารีบุตร "โสโต" เป็นไฉน ?" พระสารีบุตรกราบทูลว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ เท่านั้น ชื่อว่าโสโต." พระองค์ตรัสถามว่า "สารีบุตร เราเรียกว่า
โสดาบัน สารีบุตร โสดาบันนั้นเป็นไฉน ?
พระสารีบุตร กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลใดประกอบ
ด้วยมรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะนี้ บุคคลนั้น ชื่อว่า พระโสดาบัน แม้ใน
ขณะแห่งมรรคอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ มีชื่ออย่างนี้ หรือมีโคตรอย่างนี้ ก็