เมนู

คำว่า "อยํ วุจจติ" ความว่า บุคคลนี้คือผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า
สทฺธาวิมุตฺโต จริงอยู่ สัทธาวิมุตตบุคคลนี้ กำลังเชื่ออยู่ ชื่อว่าได้หลุดพ้น
แล้ว เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สทฺธาวิมุตฺโต. ก็สัทธาวิมุตตบุคคลนี้มี 6 จำ-
พวก เหมือนกับ กายสักขีบุคคล.
จบอรรถกถาสัทธาวิมุตตบุคคล

[45] ธัมมานุสารีบุคคล บุคคลชื่อว่า ธัมมานุสารี เป็นไฉน ?
ปัญญนทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมี
ประมาณยิ่ง บุคคลนั้น ย่อมอบรมซึ่งอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นเครื่องนำมา
มีปัญญาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า ธัมมานุสารี.
บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลชื่อว่า ธัมมานุสารี.
บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ.

อรรถกถาธัมมานุสารีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ธัมมานุสารีบุคคล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
แสดงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ด้วยบทนี้ว่า "ปฏิปนฺนสฺสํ".
บทว่า "อธิมุติตํ" ได้แก่ มีกำลัง. ผู้ใดย่อมนำมาซึ่งปัญญา เหตุนั้น ผู้นั้น
จึงชื่อว่า ปัญญาวาหี แปลว่า ผู้มีปกตินำมาชื่อปัญญา. อธิบายว่า ปัญญา
ย่อมนำบุคคลนี้ไป. ท่านกล่าวว่า "ปัญญาวาหี" ดังนี้ก็มีบ้าง. คำว่า "ปญฺญฺา-
ปุพฺพงฺคมํ"
ได้แก่ กระทำปัญญาให้เป็นปุเรจาริก คือ กระทำปัญญาให้เป็น
หัวหน้า.

คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียก
ว่าธัมมานุสารี. ก็บุคคลใดย่อมระลึก คือ ย่อมตามระลึกด้วยธรรม กล่าวคือ
ปัญญา เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ธัมมานุสารี.
คำว่า "ธมฺมานุสารี" นี้ เป็นชื่อแห่งบุคคลผู้ดำรงอยู่ในพระโสดา-
ปัตติมรรค แต่เมื่อท่านบรรลุผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล.
จบอรรถกถาธัมมานุสารีบุคคล

[46]

สัทธนุสารีบุคคล

บุคคลชื่อว่า สัทธานุสารี เป็นไฉน ?

สัทธินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มี
ประมาณยิ่ง อบรมอริยมรรคมีศรัทธาเป็นเครื่องนำมา มีศรัทธาเป็นประธาน
ให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่าสัทธานุสารี. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดา-
ปัตติผล ชื่อว่า สัทธานุสารี.
บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า สัทธาวิมุต.

อรรถกถาสัทธานุสารีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่งสัทธานุสารีบุคคล. ผู้ใดย่อมนำมาซึ่งศรัทธา
เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า สัทธาวาหี แปลว่าผู้นำมาซึ่งศรัทธา. อธิบายว่า
ศรัทธานำบุคคลนี้มา. ท่านกล่าวว่า "สุทธาวาหี" ดังนี้บ้างก็มีเหมือนกัน.
บทว่า "สทฺธาปุพฺพงคมํ" ได้แก่ กระทำศรัทธาให้เป็นปุเรจาริก คือ ให้
เป็นหัวหน้า. สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้คือ ผู้เห็นปานนี้
ท่านเรียกว่า สัทธานุสารี. บุคคลใดย่อมระลึก คือ ย่อมตามระลึกถึงด้วย