เมนู

อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไป
ดีแล้ว ด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็น
ด้วยปัญญา แต่มิใช่เหมือนบุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่า สัทธาวิมุต

อรรถกถาสัทธาวิมุตตบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง สัทธาวิมุตตบุคคล. ข้อว่า "โน จ โข ยถา
ทิฏฺฐิปตฺตสฺส"
อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายของสัทธาวิมุตตบุคคล เป็นธรรม-
ชาติสิ้นไป มิได้เหมือนกันกับทิฏฐิปัตตบุคคล.
ถามว่า ความต่างกันในการละกิเลสแห่งพระอริยบุคคลทั้งสองนั้น มี
อยู่หรือ ?
ตอบว่า ไม่มี.
ถามว่า ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร สัทธาวิมุตตบุคคล
จึงไม่ถึงทิฏฐิปัตตบุคคล.
ตอบว่า เพราะความแตกต่างกันแห่งธรรมอันท่านพึงบรรลุมีอยู่. ก็
ทิฏฐิปัตตบุคคล ท่านข่มกิเลสได้ด้วยการบรรลุไม่ลำบากเลย สามารถเพื่อข่ม
กิเลสทั้งหลาย โดยไม่ลำบาก ไม่ยาก. แต่สัทธาวิมุตตบุคคล เป็นผู้ลำบาก
อยู่ด้วยความทุกข์ยาก จึงสามารถข่มกิเลสทั้งหลายได้ ฉะนั้น ท่านจึงไม่ถึง
ทิฏฐิปัตติบุคคล.
อีกอย่างหนึ่ง ความแตกต่างกันแม้ด้วยปัญญาของท่านทั้ง 2 นั้นก็มีอยู่
ด้วย. อันวิปัสสนาญาณแห่งมรรค 3 เบื้องบนของทิฏฐิปัตตะเป็นคุณชาติคม,
กล้า, ผ่องใส เป็นไป. วิปัสสนาญาณของสัทธาวิมุตตะ ไม่คม, ไม่กล้า, ไม่
ผ่องใส เป็นไป. แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ถึงทิฏฐิปัตตบุคคล.
เหมือนอย่างว่า ชายหนุ่ม 2 คน เมื่อจะแสดงศิลปะ คนหนึ่งมีดาบ
อันคมกล้าอยู่ในมือ คนหนึ่งมีดาบทื่อ ต้นกล้วยเมื่อถูกตัดด้วยดาบสที่คมกล้า

ย่อมไม่ได้ยินเสียง แต่เมื่อถูกตัดด้วยดาบที่ทื่อ ย่อมส่งเสียงดัง "กฏะ กฏะ"
ดังนี้ฉันใด ในข้อนั้น บัณฑิตพึงทราบคำอุปมัยดังนี้ว่า
ความที่วิปัสสนาญาณแห่งมรรค 3 ของทิฏฐิปัตตบุคคล เป็นคุณชาติ
คมกล้าและผ่องใสวิเศษแล้ว พึงทราบว่า เหมือนกับการตัดต้นกล้วยที่ไม่ได้
ยินเสียงด้วยดาบอันคมกล้า ฉันนั้น และความที่วิปัสสนาญาณแห่งมรรคทั้ง
3 ของสัทธาวิมุตตบุคคล เป็นคุณชาติไม่คม ไม่กล้า และไม่ผ่องใสวิเศษแล้ว
พึงทราบว่า เหมือนกับการเอาดาบที่ทื่อตัดต้นกล้วย มีเสียงดังเกิดขึ้น ฉันนั้น.
ก็ท่านอาจารย์ห้ามนัยนี้ว่า โน แล้วท่านทำการสันนิษฐานว่า สัทธาวิมุตต-
บุคคล ไม่ถึงทิฏฐิปัตตบุคคล เพราะญาณอันท่านพึงบรรลุแตกต่างกันนั่นเทียว
ก็ท่านได้กกล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถาที่มาทั้งหลายแล้ว.
จริงอยู่ ในท่านทั้งสองนั้น การสิ้นกิเลสของสัทธาวิมุตตบุคคล ย่อม
มีในขณะแห่งมรรคอันเป็นบุพภาคส่วนเบื้องต้น ดุจบุคคลผู้กำลังเชื่ออยู่
หยั่งลงอยู่ และน้อมใจเชื่ออยู่. ญาณเป็นเครื่องตัดกิเลสของทิฏฐิบุคคบุคคล
ย่อมมีในขณะแห่งมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้น ไม่ชักช้า เป็นของคมกล้าเป็นไป.
เพราะฉะนั้นท่านจึงอุปมาว่า เปรียบเหมือนเอาดาบที่ไม่คมกล้าตัดต้นกล้วย ที่
เป็นที่ถูกตัดนั้นย่อมไม่เกลี้ยง ดาบย่อมไม่ผ่านไปโดยรวดเร็ว จึงทำให้ได้ยิน
เสียง คือต้องใช้ความพยายามมาก ฉันใด มรรคภาวนาอันเป็นส่วนเบื้องต้น
ของสัทธาวิมุตตบุคคลเห็นปานนี้ ย่อมมีฉันนั้น. ญาณ คือ ปัญญาของทิฏฐิ
ปัตตบุคคลนั้น เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลเอาดาบอันคมกล้าตัดต้นกล้วย ที่เป็น
ที่ถูกตัดย่อมเรียบเกลี้ยง ดาบผ่านไปได้รวดเร็วทำให้ไม่ได้ยินเสียง เขาไม่ต้อง
ใช้ความพยายามมาก ฉันใด พึงทราบว่า มรรคภาวนาอันเป็นส่วนเบื้องต้น
ของทิฏฐิปัตตบุคคล ผู้เห็นปานนี้ ก็ฉันนั้น ดังนี้.

คำว่า "อยํ วุจจติ" ความว่า บุคคลนี้คือผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า
สทฺธาวิมุตฺโต จริงอยู่ สัทธาวิมุตตบุคคลนี้ กำลังเชื่ออยู่ ชื่อว่าได้หลุดพ้น
แล้ว เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สทฺธาวิมุตฺโต. ก็สัทธาวิมุตตบุคคลนี้มี 6 จำ-
พวก เหมือนกับ กายสักขีบุคคล.
จบอรรถกถาสัทธาวิมุตตบุคคล

[45] ธัมมานุสารีบุคคล บุคคลชื่อว่า ธัมมานุสารี เป็นไฉน ?
ปัญญนทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมี
ประมาณยิ่ง บุคคลนั้น ย่อมอบรมซึ่งอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นเครื่องนำมา
มีปัญญาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า ธัมมานุสารี.
บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลชื่อว่า ธัมมานุสารี.
บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ.

อรรถกถาธัมมานุสารีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ธัมมานุสารีบุคคล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
แสดงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ด้วยบทนี้ว่า "ปฏิปนฺนสฺสํ".
บทว่า "อธิมุติตํ" ได้แก่ มีกำลัง. ผู้ใดย่อมนำมาซึ่งปัญญา เหตุนั้น ผู้นั้น
จึงชื่อว่า ปัญญาวาหี แปลว่า ผู้มีปกตินำมาชื่อปัญญา. อธิบายว่า ปัญญา
ย่อมนำบุคคลนี้ไป. ท่านกล่าวว่า "ปัญญาวาหี" ดังนี้ก็มีบ้าง. คำว่า "ปญฺญฺา-
ปุพฺพงฺคมํ"
ได้แก่ กระทำปัญญาให้เป็นปุเรจาริก คือ กระทำปัญญาให้เป็น
หัวหน้า.