เมนู

[43] ทิฏฐิปัตตบุคคล บุคคลชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้
ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไปดี
แล้วด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้น ก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วย
ปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ.

อรรถกถาทิฏฐิปัตตบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ทิฏฐิปัตตบุคคล. คำว่า "อิทํ ทุกฺขํ" ได้
แก่ ทุกข์มีประมาณเท่านี้ ไม่เกินจากนี้ไป. แม้ในเหตุให้เกิดทุกข์เป็นต้น ก็
นัยนี้เหมือนกัน. คำว่า "ยถาภูตํ ปชานาติ" ความว่า เว้นตัณหาเสียแล้ว
ย่อมรู้ทุกข์ คือ อุปาทานขันธ์ 5 โดยกิจตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกขสัจจะ.
ก็ตัณหาย่อมยังทุกข์ให้ตั้งขึ้น ให้เกิด ให้บังเกิด คือ ให้เป็นไปทั่ว ทุกข์นี้ ย่อม
เกิดจากตัณหานั้น เพราะเหตุนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งตัณหานั้น ตามความเป็นจริง
ว่า "อยํ ทุกฺขสมุทโย" แปลว่า นี้เป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์. ก็เพราะเหตุ
ที่ ทุกข์นี้ด้วย สมุทัยนี้ด้วย ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมดับไป ย่อมสงบระงับ คือ
ย่อมถึงความไม่ต้องเป็นไป เพราะฉะนั้น ย่อมรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้นตามความ
เป็นจริงว่า "อยํ ทุกฺขนิโรโธ" แปลว่า นี้เป็นที่ดับไปแห่งทุกข์. อนึ่ง มรรค
ใดประกอบด้วยองค์ 8 เกิดขึ้น ทุกข์นี้ ย่อมถึงซึ่งความดับไปด้วยมรรคนั้น
เพราะฉะนั้น ย่อมรู้ทั่วซึ่งมรรคนั้น ตามความเป็นจริงว่า "อยํ ทุกฺขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา"
แปลว่า นี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.

บัดนี้เพื่อจะแสดงอริยสัจจะทั้ง 4 ในขณะเดียวกัน พระองค์จึงตรัส
คำเป็นต้นว่า "ตถาคตปฺปเวทิตา" แปลว่า ธรรมอันพระตถาคตแทงตลอด
แล้ว . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ตถาคตปฺปเวทิตา" ความว่า สัจธรรม
ทั้ง 4 ที่พระตถาคตประทับ ณ มหาโพธิมณฑลทรงแทงตลอดแล้ว คือ
ทรงทราบแล้ว ได้แก่กระทำให้ปรากฏแล้ว. บทว่า "ธมฺมา" ได้แก่ ธรรม
คือ อริยสัจทั้ง 4. คำว่า "โว ทิฏฐา โหนฺติ" ได้แก่ ธรรมอันคนเห็นดี
แล้ว. คำว่า "โว จริตา" ได้แก่ ประพฤติดีแล้ว. ในธรรมเหล่านั้นอธิบายว่า
ได้แก่ ปัญญาที่ตนประพฤติดีแล้ว . คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ได้แก่ บุคคลนี้
คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า ทิฏฐิปัตโต. ก็บุคคลนี้ บรรลุธรรมที่ตนเห็น
แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฎฐิปัตโต. ญาณ คือ ปัญญาว่า "ทุกฺขา สงฺ-
ขารา สุโข นิโรโธ"
แปลว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข อัน
บุคคลนั้นเห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า ทิฏฐิปตฺโต. ทิฏฐิปัตตบุคคลนี้ ก็มี 6 จำพวก
เหมือนพระอริยบุคคลผู้ชื่อว่า กายสักขี.
จบอรรถกถาทิฏฐิปัตตบุคคล

[44]

สัทธาวิมุตตบุคคล

บุคคลชื่อว่า ทัทธาวิมุต เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้ทุกข์เกิด ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้
ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์